directions_run

(UNPD) ปฏิบัติการณ์ความมั่นคงทางอาหาร ทต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (UNPD) ปฏิบัติการณ์ความมั่นคงทางอาหาร ทต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา
ภายใต้โครงการ (UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ ุ64-ข-022
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 ธันวาคม 2564
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลลำใหม่ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธเนศ กาญจนบูรภิภพ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ 1.ดร.เพ็ญ สุขมาก 2. นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.581815,101.197302place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2564 31 ธ.ค. 2564 80,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหาร และโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนั้น ยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต โดยการสะสมของพฤติกรรมนี้ เกิดขึ้นนับตั้งแต่มื้อแรกในชีวิต พฤติกรรมการกินต่างๆ ที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดู ได้กำหนดให้เด็ก ซึ่งมีผลต่อนิสัยการกินของเด็กในอนาคต ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกิน หรือโภชนาการของเด็ก ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้ช่วยให้เด็กได้มีอาหารการกินที่ดีมีคุณค่าทางอาหาร และได้ปริมาณครบถ้วน
  เทศบาลตำบลลำใหม่ มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด จำนวน 2 ศูนย์ มีเด็กทั้งหมด 36 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตลาดลำใหม่ ที่มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 68.75 ส่วนใหญ่เด็กนักเรียนมีปัญหาเรื่องความผอมน้ำหนัก ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 18.75 เด็กนักเรียนมีปัญหาเรื่องความผอมหรืออ้วน น้ำหนัก สูงกว่าเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 12.50 ที่มีปัญหาเรื่องทุพโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตลาดลำใหม่ รวมทั้งสิ้น คิดเป็นร้อยละ 31.25 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำเย็น ที่มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 84.22 ส่วนใหญ่เด็กนักเรียนมีปัญหาเรื่องความผอมน้ำหนัก ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 15.78 และโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลลำใหม่ มีเด็กนักเรียนทั้งหมด จำนวน 92 คน เด็กนักเรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 60.87 ส่วนใหญ่เด็กนักเรียนมีปัญหาเรื่องความผอมน้ำหนัก ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 25 เด็กนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 14.13 รวมทั้งสิ้นเด็กนักเรียนในสังกัดโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลลำใหม่ ที่มีปัญหาเรื่องทุพโภชนาการ คิดเป็นร้อยละ 39.13 รวมเด็กนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องทุพโภชนาการ ที่จะต้องเข้าร่วมโครงการเพื่อเข้ารับการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 34.37 ซึ่งมีความจำเป็นต้องดูแล แก้ไข เอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้ให้มีภาวะโภชนาการที่ดีต่อไป   จากจำนวนเด็กนักเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลลำใหม่ ซึ่งรวมทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำเย็น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตลาดลำใหม่ และโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลลำใหม่ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๒๘ คน อยู่ในเกณฑ์ น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ เกินเกณฑ์ ท้วม ค่อนข้างอ้วน และอ้วน อีกทั้งจากการสังเกตการณ์ประกอบอาหารของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลตำบลลำใหม่ ตั้งแต่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ – ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ที่ผ่าน ทางกองการศึกษาเทศบาลตำบลลำใหม่ได้ให้สถานศึกษาทุกแห่งรายงานผลภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนเป็นประจำทุกๆเดือน ทำให้กองการศึกษาทราบถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและได้ลงไปตรวจการประกอบอาหาร พบว่า อาหารที่ให้เด็กนักเรียนรับประทานในแต่ละวัน เป็นอาหารที่ผู้ประกอบการคิดขึ้นมา โดยไม่ได้คำถึงสารอาหารที่เด็กนักเรียนจะได้รับในแต่ละวัน กองการศึกษาเทศบาลตำบลลำใหม่จึงนำเอาระบบ Thai School Lunch มาใช้การจัดอาหารกลางวัน ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ จนถึง ณ ปัจจุบัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยในครั้งนี้ เมื่อนำเด็กนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ ที่จะต้องอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ซึ่งรวมถึง เด็กที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และสูงกว่าเกณฑ์ จำนวน ๔๔  คน คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๓๗ นำมาเข้าร่วมโครงการโภชนาการสมวัย เด็กปฐมวัยสมส่วน พบว่า มีจำนวน ๘ คน ที่มีผลการพัฒนาเท่าเดิม ไม่เพิ่มขึ้นและไม่ลดลง คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๑๘ เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการฯ และพบว่า มีจำนวนเด็กนักเรียนจำนวน ๓๖ คน ที่เข้าร่วมโครงการโภชนาการสมวัย เด็กปฐมวัยสมส่วน มีพัฒนาการที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๘๑ เมื่อแยกเป็นจำนวนเด็กนักเรียนที่มีโภชนาการสมส่วน ก่อนเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๘๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๙๖ ของจำนวนเด็ก ๑๒๘ คน หลักจากเข้าร่วมโครงการโภชนาการสมวัย เด็กปฐมวัยสมส่วน จำนวน ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๓๗ ของจำนวนเด็กนักเรียนทั้งหมด ๑๒๘ คน ที่จะต้องเฝ้าระวัง ลดเหลือจำนวน ๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๗๒ จากจำนวน ๔๔ คน และสำหรับที่อยู่ในเกณฑ์สมส่วนเพิ่มขึ้น จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๒๗ จาก ๔๔ คน
  จากการเข้าร่วมโครงการโภชนาการสมวัย เด็กปฐมวัยสมส่วนในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลตำบลลำใหม่ พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ของเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเกิดจากการที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ได้ให้เด็กรับประทานอาหารเช้า และรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ อีกทั้งผู้ปกครองยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดเตรียมหรือการปรุงอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ซึ่งจะสอดคล้องกับงานวิจัยหลายๆงานที่ได้ระบุถึงที่มาของปัญหาของการขาดสารอาหารหรือปัญหาทางทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาทั้งระบบ เทศบาลตำบลลำใหม่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมระบบความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย ให้กับประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลลำใหม่ ในทุกช่วงชัย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชน โดยการส่งเสริมกลุ่มเครือข่ายในการทำเกษตร ปศุสัตว์ ในพื้นที่ตำบลลำใหม่

เกิดแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย ประเภทผัก ปศุสัตว์ จากกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่นกลุ่มปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เพาะเห็ด ฯลฯ

0.00
2 เพื่อเชื่อมโยงผลผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชน เข้าสู่โรงครัวโรงเรียน และสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลตำบลลำใหม่ และโรงเรียนในสังกัดอื่น ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลลำใหม่ และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลลำใหม่ และตลาดนัดอาหารปลอดภัย/ตลาดอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลลำใหม่

เกิดการเชื่อมโยงผลผลิตที่ได้จากข้อ 1) เข้าสู่โรงครัวโรงเรียน และสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลตำบลลำใหม่ และโรงเรียนในสังกัดอื่น ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลลำใหม่ และตลาดอาหารปลอดภัย/ตลาดอินทรีย์ในพื้นที่ ทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงอาหารปลอดภัยมากขึ้น

0.00
3 เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในกลุ่มเด็กปฐมวัย ในพื้นที่ตำบลลำใหม่ เพื่อลดปัญหาทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย

เกิดการจัดการอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ที่ทำให้เด็กได้รับ ประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลลำใหม่ได้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ปลอดสารพิษ

ประชาชนในพื้นที่ตำบลลำใหม่ได้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ปลอดสารพิษที่ปลูกในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลลำใหม่

0.00
5 เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางอาหารทั้งระบบในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลลำใหม่

ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลลำใหม่มีอาหารเพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอทำให้เกิดความเข้มแข็งทางอาหารทั้งระบบ

0.00
6 เพื่อส่งเสริมการบูรณาการทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย

เกิดการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยแบบบูรณาการทั้งระบบอย่างยั่งยืน

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 80,000.00 5 50,000.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ 10 10,000.00 10,000.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมปลูกผักยกแคร่ 10 10,000.00 10,000.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า 10 10,000.00 10,000.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมเลี้ยงเป็ดบาบารี 10 10,000.00 10,000.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมตลาดนัดเกษตรอินทรีย์เพื่อความมั่นคงทางอาหาร 100 21,000.00 -
1 มิ.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมประชุมติดตาม ประเมินผลโครงการและกิจกรรม 10 9,000.00 -
20 ก.ค. 64 - 30 ธ.ค. 64 กลุ่มมะพร้าวคั่ว 10 10,000.00 10,000.00

1.ดำเนินการประชุมกลุ่มเครือที่ทางสถาบันนโยบายสาธารณะกำหนดเพื่อชี้แจงความเป็นมาในการจัดทำโครงการ 2.กำหนดกลุ่มกิจกรรม 3.ประชาสัมพันธ์และรับสมัครสมาชิกภายในกลุ่ม และส่งรายชื่อสมาชิกให้กับกองการศึกษาเทศบาลตำบลลำใหม่ 4.ดำเนินการจัดประชุมสมาชิกในแต่ละกลุ่มเพื่อกำหนดรูปแบบและกิจกรรมรวมถึงรายละเอียดงบประมาณ
5.กองการศึกษาดำเนินการเขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน 6.สถาบันนโยบายสาธารณะฯดำเนินการจัดประชุมเพื่อเสนอแนะปรับปรุงโครงการให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 7.ดำเนินการจัดประชุมกลุ่มสมาชิกแต่ละกลุ่ม เพื่อกำหนดรายชื่อผู้มีอำนาจในการเปิดบัญชีรับ-ฝาก-ถอนเงินของโครงการฯและกลุ่มกิจกรรม 8.ดำเนินการประสานกันธนาคารในพื้นที่เพื่อเปิดบัญชี 9.ดำเนินการประเมินการเตรียมพร้อมในการจัดทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่มเพื่ออุดหนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการ 10.สรุปผลการเตรียมความพร้อมและโอนเงินงบประมาณให้กับกลุ่มสมาชิกตามใบเสนอราคาที่เสนอมาพร้อมนี้ 11.จัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานให้กับพนักงานเทศบาลตำบลลำใหม่และกลุ่มสมาชิกที่เกี่ยวข้อง 12.จัดทำหนังสือแจ้งจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับสมาชิกพร้อมแจ้งการตรวจสอบเอกสารงบประมาณ
13.จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมระบบความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย 14.ดำเนินการตรวจเอกสารการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนตามวันเวลาที่กำหนด 15.สรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อส่งใช้เงินยืมให้กับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วงเงินงบประมาณ 50,000 บาท 16.ดำเนินการตรวจประเมินความก้าวหน้าในการจัดทำกิจกรรมในแต่ละกลุ่ม 17.รอรับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมจากสถาบันฯ จำนวน 30,000 บาท 17.ดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะผ่านระบบของสถาบันฯ 18.ดำเนินการตรวจประเมิน สรุปผลการดำเนินงานในการจัดทำโครงการฯ 20.รวบรวมเอกสารและจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานให้กับสถาบันฯ ทราบต่อไป

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ ปัญหาทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยลดลง ๒ ประชาชนในพื้นที่ตำบลลำใหม่ได้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ปลอดสารพิษที่ปลูกใน     พื้นที่เขตเทศบาลตำบลลำใหม่ ๓ ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลลำใหม่มีอาหารเพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอทำให้
    เกิดความเข้มแข็งทางอาหารทั้งระบบ ๔ เกิดการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย
    แบบบูรณาการทั้งระบบอย่างยั่งยืน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 12:24 น.