assignment
บันทึกกิจกรรม
Face Book Live งานอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้านแห่งชาติอำเภอสวี21 มีนาคม 2561
21
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประสานงานกับหน่วยงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2.ดำเนินรายการในพื้นที่ ผ่านช่องทาง เพจเฟสบุ๊ค "ต้นน้ำพลเมืองเปลี่ยนทิศ"
3.เผยแพร่ประเด็นผ่านการดำเนินรายการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้เผยแพร่และส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 2.เกิดความสามัคคีในหมู่คณะในการร่วมมือของคนในพื้นที่ 3.สร้างความสัมพันธ์กับเครือข่าย อสม. สาธารณะสุข  และ รพสต. ได้แน่นแฟ้นมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 500 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

1.สมาชิกอาสาสมัครสาธารณะอำเภอสวี 2.สาธารณะสุขอำเภอสวี 3.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวี 4.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดชุมพร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำสื่อสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น “ฐานชุมพร”และจัดทำสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ปะทิวนิวส์1 มีนาคม 2561
1
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ในชุมชนที่เกี่ยวกับสุขภาพ ความเป็นอยู่ของชุมชน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

นำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชนระดับจังหวัดชุมพรผ่านสื่อหนังสือพิมพ์หลักเมือง และฐานชุมพร และผ่านสื่อออนไลน์ปะทิวนิวส์ออนไลน์ โดยสืบค้นเรื่องราวต่าง ๆ ในชุมชนที่เป็นประโยชน์ด้านบวก และสื่อถึงสุขภาพและวิถีการดำเนินชีวิตที่สามารถเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนสังคม เพื่อสื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผลงานผ่านสื่อหนังสือพิมพ์จำนวน 2 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์หลักเมือง และหนังสือพิมพ์ฐานชุมพร ,ผ่านสื่อออนไลน์ ปะทิวนิวส์ออนไลน์ และ ไทยรัฐออนไลน์ 2.เกิดเรื่องราวที่หลากหลายจากชุมชน โดยที่กิจกรรมต่าง ๆ ที่นำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ เมื่อผู้บริโภคสื่อได้รับรู้และเห็นทำให้เกิดแนวทางการใช้ชีวิต และเห็นคุณค่าของสิ่งที่ดีงามที่เกิดขึ้นในชุมชน และส่งผลต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตทางอ้อม และเกิดแบบอย่างที่ดีต่อชุมชนสังคม 3.ประชาชนในจังหวัดชุมพรได้รับข้อมูลข่าวสารของจังหวัดชุมพรผ่านสื่อหนังสือพิมพ์หลักเมือง และหนังสือพิมพ์ฐานชุมพร เดือนละ 1 ครั้ง  ,ผ่านสื่อออนไลน์ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือตามโอกาสที่มีเรื่องราวที่สามารถนำเสนอได้อาจมากกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1,000 คน จากที่ตั้งไว้ 1,000 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มบุคคล 8 อำเภอในจังหวัดชุมพร และพื้นที่ใกล้เคียง มีการบริโภคสื่อผ่านสื่อออนไลน์ และหนังสือพิมพ์ระดับจังหวัดชุมพรเกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอในสื่อ เช่น  เรื่องราวของกิจกรรมในชุมชนเช่น การปลูกผักสวนครัว ,การทำฝาย ,การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ,การปลูกป่าในชุมชน ฯลฯ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

Face Book Live ตอน ขับเคลื่อนแผนแม่บทสมุนไพรในเขตปฏิรูปที่ดิน22 กุมภาพันธ์ 2561
22
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาหมอชาวบ้าน  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  2.เพื่อส่งเสริมให้เห็นถึงความสำคัญของสมุนไพรมากกว่าการใช้สารเคมี 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

....

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต ผลลัพธ์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

1.บุคคลทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับขับเคลื่อนแผนแม่บทสมุนไพรในเขตปฏิรูปที่ดิน 2.เกษตรกรชาวสวน ชาวไร่ 3.หมอยาพื้นบ้าน 4.แกนนำชุมชนอำเภอละแม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหาด้านเทคนิค 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

Face Book Live ตอน เวทีสนับสนุนวิชาการโครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อนำไปพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง 20 กุมภาพันธ์ 2561
20
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์โครงการนำร่องชุมชนท้องถิ่น น่าอยู่ให้กับชุมชน    2.เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายท้องที่  ท้องถิ่นและกลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวทีเสวนาพูดคุยโดยมีผู้เข้าร่วมคือ ผู้นำชุมชน ตัวแทน อบต.ตัวแทนสภาผู้นำชุมชน กลุ่มเกษตรกร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การสื่อสารโดยผ่านช่่องทางเฟสบุ๊คไลฟ์และบันทึกภาพ วีดิโอ สำหรับการสื่อสารย้อนหลังผ่านช่องทางอื่นๆ
  2. แลกเปลี่ยนทางความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างชุมชนน่าอยู่ควรจะเป็นอย่างไร
  3. เนื้อหาโดยสรุปคือการสร้างความรักและความสามัคคีให้เกิดในชุมชนก่อน แล้วการจะทำกิจกรรมอื่นๆก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้ การมีภาพมุมมองต่อชุมชนที่เห็นร่วมกันว่าจะทำเรื่องอะไรก่อนเรื่องอะไรหลัง
  4. การที่มีตัวแทนจากท้องถิ่นในวงเสวนาทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และการมองเห็นการจัดการร่วมระหว่างชุมชนกับท้องถิ่นภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละฝ่าย
  5. เกิดการตื่นรู้จากการสื่อสารในรูปแบบใหม่ของชุมชน ประชาชนทั่วไปมีโอกาสในการรับรู้ความเคลื่อนไหวของชุมชนได้ง่ายขึ้นและมีความสะดวกมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

1.ผู้นำชุมชนภายในพื้นที่และใกล้เคียง 2.องค์การบริหารส่วนตำบล 3.เทศบาลสภาผู้นำชุมชน 4.เกษตรทางเลือก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

Face Book Live ตอน เวทีสนับสนุนการดำเนินการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น พื้นที่จังหวัดชุมพร19 กุมภาพันธ์ 2561
19
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อเผยแพร่การเรียนรู้  การเข้าถึงท้องถิ่น  ท้องที่  องค์กร  ชุมชน  กลุ่มเครือข่ายและเข้าถึงกลไกของกองทุนท้องถิ่นหลักประกันสุขภาพ  2.เพื่อเป็นฐานข้อมูลความก้าวหน้าของแต่ละชุมชน  ตำบลและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประสานงานกับหน่วยงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2.ดำเนินรายการในพื้นที่ ผ่านช่องทาง เพจเฟสบุ๊ค "ต้นน้ำพลเมืองเปลี่ยนทิศ"
3.เผยแพร่ประเด็นผ่านการดำเนินรายการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาในระดับท้องถิ่น 2.เกิดความรู้ ความเข้าใจในกลไกของกองทุนท้องถิ่นหลักประกันสุขภาพมากขึ้น 3.สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเพื่อยกระดับในท้องถิ่นและให้เกิดเป็นรูปธรรมที่แท้จริง 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

1.องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดชุมพร 2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3.หน่วยงานเทศบาลจังหวัดชุมพร 4.เครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน 5.อาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดชุมพร 6.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร 7.เครือข่ายสื่อสร้างสุขจังหวัดชุมพร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

Face Book Live ตอน เปิดเมือง กินฟรี ล่องแพ พะโต๊ะ10 กุมภาพันธ์ 2561
10
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  2.ส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอพะโต๊ะให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว  3.เพื่อสร้างความรับรู้ในสังคม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็น การท่องเที่ยวโดยชุมชน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประสานงานกับหน่วยงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2.ดำเนินรายการในพื้นที่ ผ่านช่องทาง เพจเฟสบุ๊ค "ต้นน้ำพลเมืองเปลี่ยนทิศ" และ ผ่านช่องทาง เพจเฟสบุ๊ค สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 3.เผยแพร่ประเด็นผ่านการดำเนินรายการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.การเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย และการใช้เทคโนโลยี เชื่อมสัญญาณการออกอากาศเป็นเครือข่ายสื่อวิทยุของภาคใต้

ผลลัพธ์
1.เกิดองค์ความรู้จากประเด็นปัญหาในแต่ละพื้นที่  โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ คือ องค์ความรู้จากชุมชนท่องเที่ยว 2.การเกิดความร่วมมือ ในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาในการดำเนินการด้านท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีการยกระดับ มาตรฐาน สู่การท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มีเป้าหมายสู่สังคมสุขภาวะ โดยเป็นผลจากการรับรู้ข้อมูล เป็นแรงกระตุ้นจากการสื่อสารสาธารณะ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1,044 คน จากที่ตั้งไว้ 1,500 คน
ประกอบด้วย

1.บุคคลทั่วไปที่สนใจ
2.เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่
3.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
4.กลุ่มผู้ชมผ่านเฟสบุ๊คไลฟ์

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำสื่อสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น “ฐานชุมพร”และจัดทำสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ปะทิวนิวส์31 มกราคม 2561
31
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประสานงานกับบุคคลในพื้นที่ ที่จะลงไปทำข่าว 2.เข้าเยี่ยมชมสถานที่ 3.สัมภาษณ์พร้อมทั้งถ่ายภาพ 4.เขียนบทความเพื่อตีพิมพ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ตีพิมพ์ หนังสือพิมพ์ในสำนักพิมพ์ ฐานชุมพรและออนไลน์ ปะทิวนิวส์

รายได้งาม! เกษตรกรชาวชุมพร ปลูกเมล่อนข้างบ้าน ทำเงินเดือนละกว่า 5 หมื่น ชุมพร - เกษตรกรชุมพรจบแค่ ป.4 ส่งลูกชายเรียนจบวิศวกรรมสถาบันดัง 3 คน ไม่สนใจปาล์มน้ำมัน ยางพารา หันมาปลูกเมล่อน พืชหมุนเวียนสร้างรายได้เดือนละกว่า 5 หมื่นบาท           ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่พบกับ นายถาวร รอดพยันต์ อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32/4 หมู่ที่ 1 ตำบลสะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร เกษตรกรผู้มีความคิดไม่หยุดอยู่กับที่ประสบความสำเร็จในอาชีพเกษตรกรสมกับเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพยุคใหม่กับคนทั่วไป

          นายถาวรใช้พื้นที่ทั้งหมดเพียงน้อยนิดจำนวน 400 ตารางวา จัดสรรเป็นบ้านพักอาศัย 200 ตารางวา ส่วนที่เหลืออีก 200 ตารางวา ข้างบ้านได้ปรับสภาพเป็นโรงเรือนเกษตรขนาด 6x15 เมตร จำนวน 3 หลัง โครงสร้างทำด้วยเหล็กมุงด้วยพลาสติกสีขาวกันแสงยูวี ปลูกพืชตระกูลแตงที่เรียกว่า “เมล่อน” สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นกอบเป็นกำเดือนละประมาณ 50,000 บาท เป็นอาชีพที่อยู่กับบ้านอยู่กับครอบครัวคอยดูแลโรงเรือนเมล่อนข้างบ้านเป็นประจำทุกวัน

        นายถาวร เล่าว่า อดีตที่ผ่านมาประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวสะพลี อำเภอปะทิว จ.ชุมพร เป็นเรือประมงชายฝั่งขนาดเล็กออกทำการประมงคนเดียวโดยไม่มีลูกน้อง ตกเบ็ด วางอวนจับปลาเลี้ยงครอบครัวไปวันๆ รายได้จากการประมงในช่วงนั้นสามารถส่งลูกชาย 3 คน เรียนหนังสือจนจบปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทั้ง 3 คน ปัจจุบันลูกๆ ทำงานเป็นวิศวกรอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่วนตนจบการศึกษาเพียงชั้น ป.4 หลังจากที่ส่งลูกๆ เรียนจบและทำงานเป็นหลักแหล่งกันหมดแล้ว ตนจึงคิดว่าน่าจะหยุดอาชีพประมงได้แล้วเพราะสภาพร่างกายไม่อำนวย ส่วนภรรยามีอาชีพเป็นแม่ครัวอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในตัวเมืองชุมพร

        นายถาวร กล่าวต่อว่า จากนั้นได้หันมาคิดทำการเกษตรข้างบ้านด้วยพื้นที่ซึ่งมีเพียงน้อยนิดจะสร้างสวนยางพาราหรือสวนปาล์มก็คงไม่พอปลูก เพราะต้องใช้พื้นที่เยอะ ประกอบกับราคาผลผลิตไม่แน่นอน จึงศึกษาหาความรู้ทางด้านการเกษตรก่อนจะทำจริงจัง ประกอบกับลูกชายได้นำความรู้ใหม่ๆ ด้านการเกษตรยุคใหม่มาให้ศึกษา จึงคิดทดลองปลูกเมล่อนดู เนื่องจากในจังหวัดไม่มีใครปลูกจะได้ไม่เหมือนใคร

        ขณะนั้นตนยังไม่คิดถึงรายได้และการตลาด แค่ทดลองปลูกเพื่ออยากรู้อยากลองเท่านั้น พร้อมกับศึกษาเรียนรู้หาข้อมูลจากทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ทดลองปลูกลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ จนสามารถค้นพบวิธีการที่ดีที่สุดของการปลูกเมล่อนให้ได้ผลดี จนขยายพื้นที่ข้างที่เหลืออยู่ 200 ตาราวา บ้านสร้างเป็นโรงเรือนปลูกเมล่อนจำนวน 3 หลัง จนประสบความสำเร็จ

        ส่วนลูกชายได้ช่วยเรื่องการเปิดตลาดทางสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กใช้ชื่อเพจชื่อว่า Green Field ทำให้ผู้คนรู้จักมากมายและติดต่อซื้อขายทางเพจบ้างและมารับซื้อเองที่บ้านบ้าง สั่งจองคิวกันยาวเหยียด จนปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ถือเป็นอาชีพที่ไม่ต้องดิ้นรนอยู่กับบ้านดูแลแปลงเมล่อนให้รับน้ำอย่างเพียงพอ คอยป้องกันแมลงไม่เข้าไปในแปลง เพราะตนไม่มีใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง เป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ 100%

        นายถาวร บอกว่า ปัจจุบันตนมีรายได้เดือนละกว่า 50,000 บาท จากการทำเกษตรข้างบ้านดังกล่าวและยังใช้เวลาว่างในการทำเกษตรข้างบ้านอีกหลายอย่าง เช่น เลี้ยงหอยขม ปลูกผักสวนครัวหลากหลายชนิด ปลูกกระเจี๊ยบเพื่อส่งให้กับร้านค้าในชุมชน และขายให้พี่ชายซึ่งผลิตน้ำกระเจี๊ยบจำหน่าย และยังมีการทดลองปลูกพืชใหม่อีกหลายชนิดเพื่อใช้หมุนเวียนออกสู่ตลาดอีกด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

(0)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

1.ให้พื้นที่ขยายการเรียนรู้สื่อออนไลน์และทักษะการเรียนรู้ การเข้าถึงข้อมูลอินเตอร์เน็ต

เวทีพัฒนาศักยภาพสื่อโซเชียลมีเดีย24 มกราคม 2561
24
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อ  การเข้าถึงข้อมูลให้แก่ผู้ค้าตลาดใต้เคี่ยม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.แลกเปลี่ยนทัศนะการใช้สมารท์โฟนและความคาดหวัง 2.เรียนรู้ทักษะอุปกรณ์สมารท์โฟนและการแก้ปัญหาเบื้องต้นของตัวเครื่อง 3.เรียนรู้แอพพลิเคชั่นที่สำคัญ 4.เรียนรู้ทักษะการถ่ายภาพนิ่ง 5.เรียนรู้การถ่ายภาพวีดีโอแบบตัดต่อและไม่ต้องตัดต่อ 6.ทบทวนการเรียนรู้พร้อมทั้งเสนอและแสดงความคิดเห็นต่อผลงาน 7.เรียนรู้ทักษะการเขียนข่าวและการโพสโดยใช้ภาพนิ่งประกอบ 8.เรียนรู้การสร้างเพจในเฟสบุ๊ค 9.เรียนรู้การถ่ายทอดสด,Line,Twitter และ You Tube 10.ให้ผู้เข้าร่วมประชุมผลิตชิ้นงาน  ภาพนิ่ง+การเขียน,วีดีโอ เพื่อโพสในโซเชียล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทักษะการใช้อุปกรณ์สมารท์โฟนสามารถเรียนรู้ได้ครอบคลมและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การแก้ปัญหาอุปกรณ์ไม่เสถียร รวมถึงการช่วยเหลือคนใกล้ตัวและคนในครอบครัวได้ 2.ทักษะการใช้ช่องทางสื่อโซเชียลและการเข้าถึงข้อมูลสามารถเรียนรู้ได้ครอบคลุมนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการเข้าถึงข้อมูลเพิ่มไปยังกลุ่มเครือข่ายได้ 3.ทักษะการเขียนข่าวประกอบภาพนิ่งสามารถเรียนรู้ได้ครึ่งนึงของผู้เข้าร่วมสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในเครือข่ายประชาสัมพันธ์ นอกจากนั้นมีการฝึกฝนผ่านทางไลน์หลังจากจบเวทีพัฒนาศักยภาพสื่อโซเชียลมีเดีย 4.ทักษะการถ่าย VDO ตัดต่อทำสกู๊ปสั้น สามารถเรียนรู้ได้ 1 ใน 4 ของผู้เข้าร่วม  และสามารถนำไปใช้ในเครือข่ายชุมชนเกษตรกรผลิตอาหารปลอดภัยรวมถึงขยายความรู้ในกลุ่มเครือข่ายของตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายตลาดใต้เคี่ยม 2.เครือข่ายแกนนำชุมชนตำบลสวนแตง 3.เครือข่ายแกนนำชุมชนตำบลทุ่งหลวง 4.เครือข่ายแกนนำชุมชนตำบลละแม 5.เครือข่ายแกนนำชุมชนตำบลทุ่งคาวัด

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

อุปกรณ์ของผู้เข้าร่วมยังล่าสมัย

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1.ควรสนับสนุนให้ชุมชนเรียนรู้การเข้าถึงข้อมูลในการใช้อินเตอร์เน็ต

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

1.ควรมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่มีคุณภาพในแต่ละหมู่บ้าน

ร่วมเวทีเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ 2561 ห้องย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโซนอันดามัน 19 มกราคม 2561
19
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน  2.เพื่อให้เกิดความเข้าใจและร่วมวางแผนการทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.เวทีประชุมนำเสนอสถานการณ์การดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชน โซนอันดามัน ร่วมแลกเปลี่ยน  ความคิดเห็นปัญหาอุปสรรคและแนวทางในอนาคต
2.รับชมการถ่ายทอดสดเวทีสาธารณะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้ข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่ผ่านการวิเคราะห์กลั่นกรอง  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้ 2.เนื้อหาการสื่อสารที่มีความชัดเจนและเห็นถึงบริบทของผู้ทำการขับเคลื่อนประเด็น 3.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่พูดคุย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.ชุมพร 2.ผู้แทนกลุ่มเครือข่ายสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดโซนอันดามันและภาคีเครือข่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

Face Book Live ตอน 1 ปี ตลาดใต้เคี่ยม(ท่องเที่ยวโดยชุมชนตลาดใต้เคี่ยม)7 มกราคม 2561
7
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อเผยแพร่  ประชาสัมพันธ์ การเรียนรู้ การเข้าถึงชุมชน  2.เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับภาคีเครือข่าย  3.เพื่อเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านสื่อออนไลน์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ร่วมเสวนา Face  Book  Live  ตอน 1 ปี ตลาดใต้เคี่ยม 2.กำหนดวันเวลา เนื้อหา ที่จะใช้ในเวทีเสวนา 3.เป็นเวทีเสวนาสาธารณะ เรื่อง 1 ปี ตลาดใต้เคี่ยม พร้อมทั้งสัมภาษณ์ พูดคุย กับชาวบ้านที่นำสินค้าในพื้นที่นำมาขายไม่ว่าจะเป็นสินค้าทางการเกษตร สมุนไพร อาหารทะเลสด ๆ ผัก-ผลไม้ปลอดสารพิษ อาหารพื้นเมือง ขนมพื้นบ้านที่หาทานได้ยาก เครื่องดื่ม รวมไปถึงสินค้าแฮนด์เมดหลากหลายแบบ  มาวางจำหน่ายภายในตลาดใต้เคี่ยม ผ่านทางเพจ "ต้นน้ำพลเมืองเปลี่ยนทิศ"

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แรงบันดาลใจที่เริ่มต้นการเกิดตลาดใต้เคี่ยมคือ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 หลาดใต้เคี่ยมก่อกำเนิดขึ้นมาจากแนวคิดของคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มตามรอยพ่อเพื่อพอเพียง” ที่มีทั้งเกษตรกรและข้าราชการ(เกษียณอายุ) ที่มีการพบปะนัดหมายกันแบบสภากาแฟ จิบกาแฟ กินขนม พูดคุยกันในยามเช้าตรู่ตามวิถีคนใต้สภากาแฟของคนกลุ่มนี้นอกจากจะพูดคุยกันในเรื่องต่างๆที่หลากหลายแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ภูมิปัญญา โดยแต่ละคนต่างได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ตามความเข้าใจของตัวเอง
การพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในสภากาแฟของชาวบ้านกลุ่มนี้ไม่ได้สูญเปล่า หากแต่ทางกลุ่มได้มีการนำเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์จากการพูดคุยมาต่อยอดจัดให้มีโครงการ “ตามรอยพ่อ เพื่อพอเพียง”ขึ้น โดยมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเยี่ยมบ้านสมาชิก เพื่อไปดูผลผลิตจากการปฏิบัติจริงของแต่ละท้องที่ โดยมีเงื่อนไขว่าเจ้าของบ้านให้บริการเพียงน้ำกับสถานที่ ส่วนอาหารการกินสมาชิกแต่ละคนจะนำไปเอง ส่วนใครที่มีต้นไม้หรือของฝากเล็กๆน้อยๆก็จะนำติดมือไปฝากด้วย กลุ่มตามรอยพ่อ เพื่อพอเพียง ได้ทำโครงการนี้จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไป ก่อนที่ทางภาคส่วนราชการในอำเภอละแมจะได้เข้ามาร่วมสบทบเป็นสมาชิกกลุ่มอีกทางหนึ่ง โดยได้เข้ามาร่วมส่งเสริมและปลูกฝังให้ชาวบ้านน้อมนำศาสตร์พระราชา โดยเฉพาะในด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตจริง จึงจัดให้มีโครงการและมีกิจกรรมต่างๆขึ้น เพื่อเป็นส่วนในการขับเคลื่อน
ผลจากโครงการดังกล่าวสามารถทำให้เกิดผลเป็นที่ประจักษ์ ทำให้มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การเดินตามรอยพ่ออย่างพอเพียง นอกจากจะแก้ปัญหาความยากจนได้แล้ว ยังทำให้ผลผลิตของชาวบ้านของชุมชนนั้นเหลือเกินบริโภค ทางกลุ่มจึงหาวิธีจัดจำหน่ายผลผลิตของชาวบ้านชาวชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับสมาชิก นั่นจึงทำให้เกิดตลาดนัดชุมชนขอคนพอเพียงขึ้นในชื่อว่า“หลาดใต้เคี่ยม”

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1,000 คน จากที่ตั้งไว้ 1,000 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายกลุ่มตามรอยพ่อเพื่อพอเพียงและคณะกรรมการตลาดใต้เคี่ยม
2.ผู้นำชุมชนในพื้นที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 3.เกษตรกรและข้าราชการ(เกษียณอายุ)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สัญญาณในการถ่ายทอดสดไม่เสถียร ควรจะบันทึกเทปและนำมาถ่่ายทอดสดภายหลัง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

1.เปิดขยายตลาดเพื่อค้าส่งอาหารปลอดภัยเพื่อจะได้รองรับผลผลิตจากชุมชน