ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนากลไกการจัดการภัยพิบัติ อันดามัน และการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้อันดามัน |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | 60-ข-083 |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 6 ธันวาคม 2560 - 31 มีนาคม 2561 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 800,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายไมตรี จงไกรจักร์ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดระนอง.จังหวัดภูเก็ต.จังหวัดพังงา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.9504368350294,98.422393798828place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2561 | 20 พ.ค. 2561 | 400,000.00 | |||
2 | 16 พ.ค. 2561 | 31 ส.ค. 2561 | 400,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 800,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เหตุภัยพิบัติต่างๆ ในประเทศไทย เกิดมากขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆทั้ง เหตุภัยพิบัติสึนามิ ดินโคลนถล่ม ไฟไหม้ป่า น้ำท่วมจากเหตุฝนตกมากน้ำล้นเขื่อนน้ำป่าไหลหลาก พายุพัดถล่มบ้านเรือนรวมทั้งภัยพิบัติจากเหตุความรุนแรงทางการเมืองและสังคม เป็นต้นซึ่งสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้ และ ภัยพิบัติจึงมิใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนไทยอีกต่อไป
บทเรียนสำคัญจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ ทั้งภัยพิบัติสึนามิ และภัยน้ำท่วม คือ ผู้ที่ประสบภัยจะรอรับบริการอย่างเดียวไม่ได้เพราะมีจะผู้เดือดร้อนจำนวนมากและในบรรดาผู้เดือดร้อนมีระดับที่แตกต่างกัน มีทั้งผู้ที่ช่วยตนเองไม่ได้ผู้ที่ช่วยตนเองได้ซึ่งพร้อมที่จะช่วยคนอื่นได้ด้วย ชุมชนจึงเป็นด่านแรก ที่จะได้รับผลกระทบในขณะที่การจัดการภัยพิบัติที่มาจากศูนย์กลางไม่สามารถตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและความต้องการของชุมชนได้ทั้งหมด รวมทั้งอาจละเลยศักยภาพทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่แล้วในชุมชนดังนั้น การจัดการความเสี่ยงโดยชุมชนเอง จึงเป็นทางเลือกหลักในการเติมช่องว่าง ยุทธศาสตร์ชาติได้ให้ความสำคัญกับการจัดการภัยพิบัติ โดยมีแผนการเร่งอนุรักษ์ฟื้นฟูและสร้างความมั้นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ และบริหารจัดการน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งยกระดับความสามารถในการป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปรงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สำหรับภาคประชาชนเองก็มีการตื่นตัวในการจัดการภัยพิบัติโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งเกิดกระบวนการสร้างอาสาสมัครภัยพิบัติ 6 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายชุมชนจังหวัดพังงา เครือข่ายชุมชนตำบลท่าหิน จังหวัดสงขลา เครือข่ายชุมชนจังหวัดภูเก็ต มีศูนย์มิตรไมตรี เครือข่ายสิ่งแวดล้อมปทุมธานี เครือข่ายชุมชนอุบลราชธานีและเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบนคือ บางขุนเทียน กทม. บ้านขุนสมุทรจีน บ้านบางปู จังหวัดสมุทรปราการ นอกจากนี้ เครือข่ายได้มีข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติระดับนโยบาย ได้แก่ การดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ข้อเสนอเพื่อปฏิรูปการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนร่วมคณะทำงานปฎิรูป
พื้นที่จังหวัดพังงา เป็นพื้นที่ที่มีการขับเคลื่อนชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ มาอย่างต่อเนื่องแล้ว และมีพื้นที่นำร่องแล้วทั้ง ๘ อำเภอ มีระบบการประสานงานของเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติชุมชน ที่สามารถเคลื่อนงานได้ระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่จังหวัดพังงามีเป้าหมายคือการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานนโยบายในจังหวัดพังงา ส่วนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดระนอง ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่มีเครือข่ายในการจัดการภัยพิบัติ เพื่อสร้างสุขภาวะ ของคนในพื้นที่ให้มีความพร้อม ความตระหนักถึงการจัดการภัยพิบัติต้องสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยต้องมุ่งเสริมสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคม และท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐ โดยพัฒนาอย่างเป็นกระบวนการทั้งการเชื่อมโยงความรู้ การจัดการข้อมูลสารสนเทศ ระบบการควบคุมสั่งการ ระบบการสนับสนุนทรัพยากร ระบบเฝ้าระวัง และระบบสาธารณสุข เป็นต้น
จังหวัดพังงายังพีพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในพื้นที่และเสี่ยงต่อภัยพิบัติ ที่ผ่านมาเครือข่ายได้ร่วมกันฟื้นฟูและจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ในการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติอยู่บ้างแต่ในชุมชนกลุ่มชาติพันธ์ ยังมีข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจชุมชน และเป็นชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวลงไปดูวิถีชีวิต แต่ชุมชนไม่ได้มีโอกาสจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเอง ทั้งยังขาดความรู้ ความเข้าใจ อยู่ด้วย ดังนั้นสมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน และปฏิบัติการในพื้นที่ชุมชน ตำบล โดยเฉพาะเรื่องการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งมีชุมชนบ้านน้ำเค็มเป็นศูนย์เรียนรู้ให้เครือข่ายภัยพิบัติจังหวัดพังงา ได้เกิดกระบวนการเตรียมพร้อมชุมชนรับมือภัยพิบัติ ทั้งในระดับชุมชน และตำบลนำร่อง จนถือเป็นจังหวัดนำร่อง เพื่อขยายไปสู่จังหวัดใกล้เคียง เช่นจังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง ให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาเชื่อมโยงไปสู่การจัดระบบการประสานงานการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ การเรียนรู้กระบวนการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ พร้อมพัฒนากลไกการประสานงานในพื้นที่ตำบลนำร่อง และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเอง เพื่อให้ชุมชนชาวเลอยู่ได้ท่ามกลางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเพื่อให้การเรียนรู้ขยายไปสูพื้นที่อื่นๆ ที่จะก่อให้เกิดเครือข่ายภัยพิบัติอันดามันจึงทำโครงการ พัฒนากลไกการจัดการภัยพิบัติ อันดามัน และการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนขึ้น
- จัดเวทีทำความเข้าใจระดับจังหวัด เพื่อพัฒนาศักยภาพและแนวทางการขับเคลื่อน
- จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน สร้างสุขภาวะเมืองปลอดภัยจากภัยพิบัติ ทั้ง 3 จังหวัด
- จังหวัดพังงา นำร่องให้มีการคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการจังดวัดแต่งตั้งเพื่อขับเคลื่อนงาน
- จัดตั้งกลไกคณะทำงานขับเคลื่อนเครือข่ายภัยพิบัติอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดพังงา
- จัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายภัยพิบัติ อำเภอและตำบล นำร่อง ในจังหวัดภูเก็ต
- ลงพื้นที่สนับสนุนกระบวนการพัฒนา พื้นที่ในการจัดทำแผนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือการจัดการภัยพิบัติ ระหว่างภาคประชาชน หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน สถาบันวิชาการ และภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการประสานการจัดการภัยพิบัติ คณะทำงานเข้าใจในแผนการทำงานโครงการ |
||
2 | 2. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสู่ พังงาเมืองปลอดภัย ให้เป็นนโยบายระดับจังหวัด และขยายการเรียนรู้ไปอีก ๒ จังหวัด
|
||
3 | 3. เพื่อความยั่งยืนของชุมชนกลุ่มชาติพันธ์ ในการสร้างพื้นที่นำร่องในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 10:30 น.