directions_run

ประเมินผลภายใน ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร: เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมชี้แจง วางแผนงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร (อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช) 15 ก.พ. 2564 15 ก.พ. 2564

 

ประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการผลักดันยุทธศาสตร์ระบบอาหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชสู่การปฏิบัติ ประเด็นการพัฒนาตลาดอาหารปลอดภัยในหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พื้นที่ต้นแบบอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเชิญกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช สาธารณสุขอำเภอหัวไทร โรงพยาบาลหัวไทร รพสต. เทศบาลตำบล อบต. โรงเรียน เกษตร ประมง ผู้ประกอบการ และประชาชน ร่วมปรึกษาหารือ และวางแผนการดำเนินงานตลาดปลอดภัย

 

ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอต่างๆ ดังนี้ 1.สร้างกฎ/กติกา ข้อตกลงร่วมกันในการทำตลาดปลอดภัย เช่น สินค้าที่สามารถวางจำหน่ายได้ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ อย่างน้อย 1 มาตรฐาน (GMP) พ่อค้าแม่ค้าที่จะเข้ามาค้าขายในตลาดจะต้องมีการตรวจสุขภาพ สุขลักษณะของผู้จำหน่ายสินค้า เป็นต้น 2.ข้อมูลสนับสนุนของตลาดที่ได้รับมาตรฐาน เพื่อนำมาปรับใช้กับตลาดในอำเภอหัวไทร เช่น กฎ กติกา โครงสร้าง เป็นต้น 3.Mapping กลุ่มเป้าหมาย ฐานลูกค้า ที่มีกำลังซื้อและมีความต้องการหรือมีความรู้ความเข้าใจที่จะบริโภคอาหารปลอดภัย รวมทั้งบริบทพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะทำตลาด 4.ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มีหน่วยงานในพื้นที่เข้ามาช่วยเหลือในการทำความสะอาดตลาดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 5.กลไกสำคัญ คือ กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และ อปท. 6.โรงเรียนทำเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมมีการจำหน่ายและตลาด เช่น ผักบุ้ง ส่งร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ ด้วยเป็นสินค้าปลอดสารพิษ ซึ่งโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ด้วย เช่น CP all และเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆ เข้ามาศึกษาดูงานและกลับไปพัฒนาโรงเรียนตนเอง
7.ขยายสู่ตลาด online ในอนาคต และเชื่อมโยงอาหารกับการท่องเที่ยว 8.เทศบาลตำบลหัวไทรเสนอเป็นศูนย์กลางการทำอาหารปลอดภัยของอำเภอ และเสนอให้เป็นวาระของอำเภอหัวไทร ในการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย พัฒนาตลาดและตลาดสดของเทศบาลตำบลหัวไทร

ปัญหาและอุปสรรค (ที่ผ่านมา)
1.ข้อจำกัดของการทำตลาด เช่น กลุ่มผู้บริโภค ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน 2.สินค้าที่จำหน่ายในตลาดส่วนใหญ่รับมาจากนอกพื้นที่ (ยกเว้น กุ้ง ปลา)
3.ปัญหาของมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์สู้ราคาไม่ไหว ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง และการฆ่าสัตว์เล็กๆ กันเองในชุมชน
4.ท้องถิ่นไม่ได้ทำตามประกาศ กระทรวงสาสุข 2561 ….. เช่น การอบรมผู้ประกอบการ ผู้จำหน่าย การตรวจสุขภาพพ่อค้าแม่ค้าตามเกณฑ์มาตรฐานที่ถูกต้อง
5.ปัญหาของตลาดปลอดภัย คือ ทำอย่างไรให้อาหารปลอดภัยเชื่อมโยงถึงตัวผู้ผลิต ผู้ผลิตสู้ราคาได้ ทั้งราคาทุนและราคาขาย และการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับกลุ่มผู้บริโภค (อยากบริโภคแบบปลอดภัย ได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพ เหมาะสมกับราคา) 6.โรงพยาบาลเคยทำตลาด green market แต่เกิดปัญหา คือ ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยในโรงพยาบาล 7.สินค้าประมงค่อนข้างราคาสูงส่งออกจำหน่ายนอกพื้นที่ให้ผู้บริโภคที่มีกำลัง คนในท้องถิ่นได้รับการบริโภคน้อย

 

ประชุมติดตามการวางแผนงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร (นราธิวาส) 17 ก.พ. 2564 17 ก.พ. 2564

 

ประชุมติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนแผนข้าวอินทรีย์ จังหวัดนราธิวาส ร่วมกับเจ้าของโครงการ ในประเด็นดังต่อไปนี้ 1. ที่มาและความสำคัญของโครงการ 2. แผนการดำเนินงาน 3. การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. ปัญหาหรืออุปสรรคที่ผ่านมา 5. เป้าหมายของโครงการ

 

  1. การจะทำให้แผนอาหารขับเคลื่อนต่อไปได้จะต้องบรรจุเข้าไปในแผนปฏิบัติราชการของจังหวัด/หน่วยงาน จังหวัดนราธิวาสมีประเด็นพื้นที่ที่สนใจที่จะทำเรื่องอาหารปลอดภัย คือ ข้าวอินทรีย์ ปลอดภัยจากต้นทางการผลิต ซึ่งจะใช้แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารเป็นตัวผลักดัน จึงต้องปรึกษาหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดในการหารือวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อร่วมทำแผนปฏิบัติราชการร่วมกันด้วย
  2. แผนการดำเนินงาน นักปฏิบัติการทำแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือคณะกรรมการที่มีอยู่แล้วจำนวน 1-2 ครั้ง จากนั้นคืนข้อมูลการทำแผน และเสนอแผนต่อผู้ว่า
  3. หน่วยงาน/stakeholder ที่เกี่ยวข้องที่จะเชิญเข้ามาทำปฏิบัติการ ได้แก่ กรมการข้าว สนง เกษตรและสหกรณ์ เกษตรจังหวัด เครือข่ายข้าว เครือข่ายชุมชน และภาคประชาสังคม
  4. ปัญหาหรืออุปสรรคที่ผ่านมา   แผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดนราธิวาสยังไม่ได้ถูกนำไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ
  5. เป้าหมายของโครงการ

 

ประชุมติดตามแผนงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร (ชุมพร) 28 ก.พ. 2564 28 ก.พ. 2564

 

ติดตามความก้าวหน้า ทบทวนการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดชุมพร และให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดทำแผน

 

แผนยุทธศาสตร์กำลังอยู่ในกระบวนการรวบรวมข้อมูล และยกร่างเอกสาร/ยกร่างแผนยุทธศาสตร์อาหาร ก่อนเข้าสู่เวทีกลาง เพื่อให้ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
โดยการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งทีม คือ Node fledges hip (NF) ของชุมพร หยิบยกประเด็นที่เป็นวาระของจังหวัดชุมพร ภายใต้วิสัยทัศน์ของจังหวัด “ชุมพรน่าอยู่บนพื้นฐานเกษตรกรรม และท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์สองฝั่งทะเล” โดยหยิบประเด็นเกษตรกรรมมาขับเคลื่อนและเป็นวาระของจังหวัด ด้วยวาระการลดใช้สารเคมี วาระเรื่องอินทรีย์ วาระลดโรคเรื้อรัง (NCD) ซึ่ง NF หยิบประเด็นเรื่องต่างๆ มาทำ ดำเนินการอยู่ 17 โครงการ ครอบคลุม 30 ตำบลของชุมพร

 

ร่วมเวทีการจัดทำแผนขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย "ตลาดปลอดภัย"ในระดับท้องถิ่น พื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 22 มี.ค. 2564 22 มี.ค. 2564

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนดประเด็นการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยและคัดเลือกตลาดต้นแบบตลาดปลอดภัย ของอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

  1. ทราบสถานการณ์อาหารอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช การตรวจสารพิษตกค้างในพืชผักและผลไม้ของจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แต่แหล่งกระจายสินค้า "ตลาดหัวอิฐ" ที่รับสินค้ามาจากแหล่งผลิตอื่น ทำให้ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด
  2. ได้ตลาดต้นแบบ ในการดำเนินงาน "ตลาดปลอดภัย" คือ หลาดริมคลองหัวไทร
  3. ทราบถึงปัญหาอุปสรรค ทุนทางสังคม และกลไกขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยของอำเภอหัวไทร
  4. ได้ (ร่าง) แผนขับเคลื่อนและพัฒนายุทธศาสตร์ “อาหารปลอดภัย” อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2564-2566 “ตลาดปลอดสาร อาหารปลอดภัย

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนงานและโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ระบบอาหารนราธิวาส 25 มี.ค. 2564 25 มี.ค. 2564

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนโครงการของยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส และเก็บรวมรวมข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อย

 

  1. เกิดการทำงานร่วมกันของหลากหลายหน่วยงาน เช่น ฟาร์มตัวอย่างฯ บริษัทประชารัฐ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเล สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานพาณิชย์จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สถานีพัฒนาที่ดิน สำนักงานประมง โรงพยาบาลจะแนะ องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปารี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัด
  2. เกิดแผนงาน โครงการเกี่ยวกับระบบอาหารทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย

 

ประชุมวางแผนการดำเนินงานอาหารปลอดภัยระนอง 30 มี.ค. 2564 30 มี.ค. 2564

 

ประชุมวางแผนการดำเนินงานอาหารปลอดภัย จังหวัดระนอง

 

  1. เกิดการทำงานร่วมกันของหลากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานจังหวัด (รองผู้ว่าราชการเป็นประธาน) องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และหอการค้าจังหวัด
  2. เกิดคณะทำงานและกรรมการขับเคลื่อนงานระบบอาหาร โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และสำนักงานจังหวัดทำหน้าที่เป็นเลขานุการ
  3. ทราบข้อมูลสถานการณ์ด้านอาหารจังหวัดระนอง

 

ประชุมรับฟังความคิดเห็นในการประชุมคณะทำงานการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพเด็กในพื้นที่จังหวัดระนอง 8 มิ.ย. 2564 8 มิ.ย. 2564

 

ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการประชุมคณะทำงานการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพเด็กในพื้นที่จังหวัดระนอง เพื่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดระนอง

 

เกิดการประชุม วางแผน และร่วมแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะของคณะทำงานการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพเด็กจังหวัดระนอง ประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ปลัดจังหวัดระนอง ท้องถิ่นจังหวัดระนอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดระนอง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดระนอง อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง ศึกษาธิการจังหวัดระนอง รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ ม.อ. หัวหน้าสำนักงานจังหวัดระนอง และ11. ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดระนอง

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ระนอง 29 มิ.ย. 2564 29 มิ.ย. 2564

 

ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ระนอง และรับฟังข้อคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

  1. คณะทำงานการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพเด็กจังหวัดระนอง
  2. เกิดแผนงาน โครงการเกี่ยวกับระบบอาหารทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย และมีการบูรณาการงานร่วมกัน

 

ประชุมรับฟังความคิดเห็นแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร จังหวัดชุมพร 24 ก.ย. 2564

 

 

 

 

 

ประชุมวางแผนติดตามงานยุทธศาสตร์ระบบอาหาร 4 จังหวัด 27 ก.ย. 2564

 

 

 

 

 

ประชุมสรุปงานยุทธศาสตร์ระบบอาหาร 4 จังหวัด 30 ก.ย. 2564