ประเมินผลภายใน ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร: เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ
ชื่อโครงการ | ประเมินผลภายใน ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร: เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ |
ภายใต้โครงการ | งานประเมินผลภายใน |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | 1 กรกฎาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 120,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.ธนเทพ วณิชยากร, ผศ.ดร.ชุมพล แก้วสม, ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และนางสาวอิสรา มิตรช่วยรอด |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายทวีวีตร เครือสาย และนางสาววรรณา สุวรรณชาตรี |
พื้นที่ดำเนินการ | พื้นที่ดำเนินงานใน 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2564 | 6 ม.ค. 2565 | 71,500.00 | |||
2 | 10 ม.ค. 2565 | 30 ม.ค. 2565 | 33,500.00 | |||
รวมงบประมาณ | 105,000.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (105,000.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (120,000.00 บาท)
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเกษตรมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของเศรษฐกิจในประเทศไทย รวมทั้งยังเป็นวิถีชีวิตของแหล่งภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่สืบต่อมายาวนาน ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยังคงให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มาประยุกต์ใช้ โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสนับสนุน เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้และพัฒนาภาคการเกษตรให้ยั่งยืน
ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรช่วยกันในการวางแผน อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร สร้างแนวทางที่เหมาะสมด้านความมั่นคงทางอาหารของประชาชน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment – HIA) เอช ไอ เอ เป็นเครื่องมือการประเมินรูปแบบหนึ่งที่มีความมุ่งหวังเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และเสริมพลังอํานาจของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ทั้งผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการ กลุ่มภาคีเครือข่ายที่ร่วมดําเนินงาน กลุ่มนักวิชาการที่มาช่วยในการขับเคลื่อนงาน เป็นการประเมินแบบมีส่วนร่วมที่ทําให้ทุกฝ่ายร่วมกําหนดทิศทางและเป้าหมายในการขับเคลื่อนงานร่วมกันและใช้ประโยชน์จากการประเมินในการยกระดับหรือเพิ่มผลกระทบทางบวกและปรับปรุงหรือลดผลกระทบทางลบของโครงการ ข้อเสนอแนะจากการประเมินจะถูกใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงโครงการในระยะต่อไป ในขั้นตอนการประเมินจะมีการประยุกต์ใช้แนวทางและเครื่องมือที่หลากหลายร่วมกันในการระบุ คาดการณ์ และพิจารณาถึงผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชน หรือกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การกลั่นกรอง (Screening) 2) การกําหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Scoping) 3) การประเมินผลกระทบ (Assessing) 4) การจัดทาํและทบทวนร่างรายงาน (Reviewing) 5) การผลักดันสู่การตัดสินใจ (Decision making) 6) ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล (Monitoring and Evaluation)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เสริมพลังอำนาจให้แก่ทีมทำงานในพื้นที่ ของประเด็นด้านความมั่นคงทางอาหาร เกิดเครือข่าย/คณะทำงานในการขับเคลื่อนงานระบบอาหารระดับภาคใต้ ที่ประกอบด้วยเครือข่ายวิชาการ ภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาชน และเครือข่ายนักวิชาการ ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 1 เครือข่าย |
0.00 | |
2 | เพื่อยกระดับงานด้านความมั่นคงทางอาหารสู่แผนงาน/นโยบาย เกิดโครงการด้านอาหารปลอดภัยที่บรรจุสู่แผนจังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ 1 โครงการต่อปี |
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 120 | 57,000.00 | 8 | 27,775.00 | |
15 ก.พ. 64 | ประชุมชี้แจง วางแผนงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร (อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช) | 20 | 7,000.00 | ✔ | 0.00 | |
17 ก.พ. 64 | ประชุมติดตามการวางแผนงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร (นราธิวาส) | 5 | 2,000.00 | ✔ | 1,000.00 | |
28 ก.พ. 64 | ประชุมติดตามแผนงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร (ชุมพร) | 20 | 7,000.00 | ✔ | 4,500.00 | |
22 มี.ค. 64 | ร่วมเวทีการจัดทำแผนขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย "ตลาดปลอดภัย"ในระดับท้องถิ่น พื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช | 10 | 10,000.00 | ✔ | 3,000.00 | |
25 มี.ค. 64 | ประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนงานและโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ระบบอาหารนราธิวาส | 10 | 10,000.00 | ✔ | 6,500.00 | |
30 มี.ค. 64 | ประชุมวางแผนการดำเนินงานอาหารปลอดภัยระนอง | 30 | 10,000.00 | ✔ | 3,775.00 | |
8 มิ.ย. 64 | ประชุมรับฟังความคิดเห็นในการประชุมคณะทำงานการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพเด็กในพื้นที่จังหวัดระนอง | 10 | 1,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
29 - 30 มิ.ย. 64 | การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ระนอง | 5 | 5,000.00 | ✔ | 7,000.00 | |
24 ก.ย. 64 | ประชุมรับฟังความคิดเห็นแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร จังหวัดชุมพร | 10 | 5,000.00 | - | ||
27 ก.ย. 64 | ประชุมวางแผนติดตามงานยุทธศาสตร์ระบบอาหาร 4 จังหวัด | 0 | 0.00 | - | ||
30 ก.ย. 64 | ประชุมสรุปงานยุทธศาสตร์ระบบอาหาร 4 จังหวัด | 0 | 0.00 | - |
- การกลั่นกรองโครงการและการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน โดยทีมประเมินทบทวนรายละเอียดข้อเสนอโครงการ เป้าหมายวัตถุประสงค์ กิจกรรม ตัวชี้วัด ของโครงการ ฯ เพื่อเป็นข้อมูล input ในการทำ scoping และทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดขอบเขตเชิงเนื้อหา จากนั้นประชุมกลุ่มย่อยเพื่อกำหนดขอบเขตการประเมินร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้รับผิดชอบโครงการ
- การประเมินผลกระทบ โดยทีมประเมินเก็บรวบรวมข้อมูล ประเมินจากการสังเคราะห์เอกสารการถอดบทเรียน และการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์
- ทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ และผลักดันสู่การตัดสินใจ โดยทีมประเมินเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องของทุกกิจกรรมเข้าร่วมเวทีรับฟังผลการประเมินและร่วมตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูล และให้ความเห็นต่อแนวทางการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป และทีมประเมินนำเสนอร่างรายงานเพื่อรับฟังความเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
- การติดตามและประเมินผล โดยทีมประเมินประชุมกลุ่มย่อย/สัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบการสังเกตุในพื้นที่ และตรวจสอบจากเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
- เกิดเครือข่าย/คณะทำงานในการขับเคลื่อนงานระบบอาหารระดับภาคใต้ ที่ประกอบด้วยเครือข่ายวิชาการ ภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาชน และเครือข่ายนักวิชาการ ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 1 เครือข่าย
- เกิดโครงการด้านอาหารปลอดภัยที่บรรจุสู่แผนจังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ 1 โครงการต่อปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 17:16 น.