แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ ตำบลบูรณาการระบบอาหาร ชุมพร ”

จังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นายทวีวัตร เครือสาย/น.ส หนึ่งฤทัย พันกุ่ม /นางพัลลภา ระสุโส๊ะ

ชื่อโครงการ ตำบลบูรณาการระบบอาหาร ชุมพร

ที่อยู่ จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"ตำบลบูรณาการระบบอาหาร ชุมพร จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ตำบลบูรณาการระบบอาหาร ชุมพร



บทคัดย่อ

โครงการ " ตำบลบูรณาการระบบอาหาร ชุมพร " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดชุมพร รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2563 - 30 พฤศจิกายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 0.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การดำเนินงานประเด็นความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ของคณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอพัฒนาระบบเกษตร
และอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ และคณะทำงานยุทธศาสตร์ กขป.ภาคใต้ จากเวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562 ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ เพื่อนำเข้า การพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ตั้งอยู่ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร ด้วยการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรให้เกิดความสมดุลยั่งยืน มีระบบจัดการผลผลิตที่เกื้อกูลและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เพื่อให้มีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพอาหารปลอดภัย สร้างหลักประกันในชีวิต ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีหลักประกันทางรายได้และสวัสดิการ สวัสดิภาพ มีความมั่นคงทางสุขภาพแก่พลเมืองฅนใต้ จัดความสัมพันธ์ใหม่ ปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดหรือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชน ระหว่างกลุ่มองค์กรเครือข่ายด้วยกัน มีความเคารพศักดิ์ครีความเป็นมนุษย์ต่อกันด้วยหลักปฏิบัติ “คิดเอื้อ คิดเผื่อ เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ดูแลน้อง ” และแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสม เท่าเทียม เป็นธรรม ด้วยความพึงพอใจร่วมกันของหุ้นส่วนผลประโยชน์ตน ประโยชน์สาธารณะ


ภาพที่ ผังกรอบความคิด ระบบการเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ จากฐานหลักคิดข้างต้นเพื่อให้เกิดหรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ จำเป็นต้องมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 7 แนวทาง/ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ทำหน้าที่ในการติดตาม ผลักดันแผนยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติตามศักยภาพและโอกาสที่เอื้ออำนวย ด้วยยุทธวิธีสำคัญ เช่น การสร้างความรอบรู้ด้านอาหารศึกษาและบริโภคศึกษาแก่ประชาชนพลเมือง ติดตามทบทวนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ให้เหมาะสมกับภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร และประยุกต์ใช้กระบวนการธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ ประกาศเขตเกษตรสุขภาพ (พื้นที่คุ้มครองทางเกษตรกรรมสุขภาพ) ในระดับพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ และการสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้เป็นเสาหลักของชุมชนท้องถิ่น พร้อมการเชื่อมโยงประสานเครือข่ายในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือภูมิภาคให้เป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย 2) การพัฒนาระบบเกษตรสุขภาพที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เกษตรยั่งยืน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ (mao) ธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง) โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเพิ่มมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานโดยหลักอาชีวอนามัย การส่งเสริมการผลิตเกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัย การเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรและอาหารปลอดภัย การส่งเสริมสนับสนุนและขยายผลให้ต้นไม้เป็นทรัพย์และหลักประกันในชีวิตเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เป็นต้น 3) เสริมสร้างสุขภาวะชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน โดยการส่งเสริมวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันและยางพารา ให้แก่กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ การส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน ส่งเสริมการปรับวิถีการผลิตปาล์มน้ำมันแบบผสมผสานและเพิ่มประสิทธิการจัดการแปลง การส่งเสริมและขยายผลสวนเกษตรธาตุสี่หรือสวนสมรม สร้างมาตรการส่งเสริมการออมและสวัสดิการเพื่อเป็นหลักประกันในชีวิตแก่ชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น 4) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์ถิ่น โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้คงอยู่เป็นฐานทรัพยากรกับชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมถิ่น การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแพทย์ประจำถิ่น เช่น กัญชาเพื่อการแพทย์ กระท่อมชูกำลัง ขมิ้นถิ่นใต้ ฯ การพัฒนาต่อยอดพืชอัตลักษณ์ถิ่นให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนางชุมพร ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวเหลืองปะทิว ส้มโอทับทิมสยาม เป็นต้น 5) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่สมดุลยั่งยืน โดยการขยายผลการสร้างฝายมีชีวิตและการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสภาพแวดล้อม การพัฒนากลไกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม การประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นต้น 6) สุขภาวะชาวประมง โดยมีแนวทางสำคัญ เช่น มาตรการคุ้มครองพื้นที่สัวต์น้ำและประมงชายฝั่ง ธนาคารอาหารสัตว์น้ำ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าประมง ฯ 7)เพิ่มประสิทธิการบริหารจัดการตลาดให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดย เสริมสร้างการเชื่อมโยงการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรสุขภาพกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตร (เกษตรกรมืออาชีพ เกษตรกรรุ่นใหม่ ครัวเรือนพอเพียง ผู้ประกอบการครัวเรือน ) สร้างและพัฒนาโอกาสบริหารจัดการตลาดชุมชนท้องถิ่น ตลาดทั่วไป ตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการ การยกระดับการตลาดด้วยเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การค้าการลงทุนหรือการร่วมทุน ระหว่างผู้ประกอบการกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ เป็นต้น สำหรับในพื้นที่จังหวัดชุมพรซึ่งได้นำแนวทางระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ มาดำเนินการโดยประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์จังหวัดและเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด ปี 2561-2565 "ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล ประกอบกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชุมพรที่ได้ประกาศวาระสุขภาพที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 ใน 3 เรื่องได้แก่ การลดละเลิกสารเคมีเกษตร จัดการโรคเรื้อรัง และสุขภาวะผู้สูงอายุ ในส่วนภาคประชาสังคมและสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งมีประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็นได้แก่ เกษตรสุขภาวะ:ครัวเรือนพอเพียง เมืองน่าอยู่:จัดการปัจจัยเสี่ยง จัดการทรัพยากรธรรมธรรมชาติ:การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ดังนั้นหน่วยประสานจัดการระดับจังหวัด Node Flagship Chumphon หรือสมาคมประชาสังคมชุมพร ได้สนับสนุนพื้นที่การสร้างเสริมสุขภาวะ มาต่อเนื่อง 3 ปีที่ผ่านมาจำนวน 67 พื้นที่/ชุมชน ซึ่งจะเป็นต้นทุนสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดชุมพร หน่วยประสานจัดการจังหวัดชุมพรและภาคียุทธศาสตร์ได้ร่วมกันพิจารณาสถานการณ์และประเด็นสุขภาวะที่สำคัญต่อการคุณภาพชีวิตผู้คนจังหวัดชุมพร และคำนึงถึงความเป็นไปได้ การมีส่วนร่วมของของภาคีเครือข่ายต่อการขับเคลื่อนในอนาคต จึงได้เลือก 2 ประเด็น ได้แก่ 1)เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ เกษตรสุขภาพ จึงมีนิยามความหมาย : การผลิตทางการเกษตร ซึ่งรวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการปลูกป่าที่กำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับสุขภาวะ โดยคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อสุขภาพ เช่น ดินฟ้าอากาศ แหล่งน้ำ พืชที่ปลูก สัตว์ที่เลี้ยง ฯลฯ รวมความถึงกระบวนการผลิตต่อเนื่องอันนำสู่การเป็นอาหารปลอดภัย  2)การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่:จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ นิยามความหมายดังนี้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต หมายถึง การพัฒนาให้เกิด ความอยู่ดีมีสุข (well being) ของบุคคลและสังคม อันประกอบด้วย 4 ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีจุดเน้นในการจัดการสุขภาพโรคเรื้อรังแนวใหม่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สถานการณ์เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ 1) ทุนและศักยภาพพื้นที่ ซึ่งเป็นต่อยอดพื้นที่ดำเนินงานผลิตและบริโภคผักผลไม้ปลอดสาร อาหารปลอดภัย โดยมีมติสมัชชาสุขภาพว่าด้วยเกษตรสุขภาวะ และวาระ จังหวัดชุมพร ลด ละเลิกสารเคมีเกษตร /มีเป้าหมายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร 8000 ไร่  มีการทำเกษตรยั่งยืน 29,457 ไร่ 1500 คร.(1% ของพื้นที่ทำเกษตร 2,945,771) ค่าเฉลี่ย 0.41% และเป็นประเด็นร่วมภาคใต้-มั่นคงทางอาหาร + สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชุมพร 2) การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว 3 ลำดับแรก ยางพารา 12.98 ล้านไร่ ปาล์มน้ำมัน 3.75 ล้านไร่ ทุเรียน 0.3 ล้านไร่ (ใช้สารเคมีมากสุด) ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย 6,075 ราย (ปี 61) ในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 15-59 ปี
3)ความเสี่ยงด้านอาชีพของเกษตรกรชุมพร/ภาคใต้ มีการนำเข้าและใช้สารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร 3 ลำดับแรก สารกำจัดแมลง 15.23 ล้านบาท สารกำจัดวัชพืช 12.53 ล้านบาท สารกำจัดโรคพืช 1.79 ล้านบาท (สารเคมีอันตราย คลอไพริฟอส พาราควอต อะบาแบ๊กติน จังหวัดชุมพรใช้สูงสุด)
4)จังหวัดชุมพรมีสถิติอัตราการป่วยต่อประชาการแสนคน ปี 2558 : 19.49 ปี 2559: 24.72 ปี 2560:25.51 ปี 2561: 26.16 มีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี และจำแนกตามปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาชีพ สูงสุดคือ ปัญหาสารเคมีเกษตร 64 % เสี่ยงจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 40.99 % และจากผลการประเมินความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย (ร้อยละ) ด้วย Reactive paper ในชุมพรเทียบเคียบกับ ศคร.11 ตั้งแต่ปี 59 ศคร.11 : 27% ชุมพร 34% ปี 60 ศคร.11 : 25% ชุมพร 40% ปี 61 ศคร.11 : 23% ชุมพร 38% (ข้อมูลจาก สสจ.ชุมพร)
5)แนวโน้มภาวะหนี้สินครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยหนี้สินครัวเรือน 175,000 บาทต่อครัวเรือน 6)โอกาสหรือปัจจัยเอื้อ คือวาระการพัฒนาจังหวัดชุพร ว่าด้วยการลดลดเลิกสารเคมีเกษตร และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร และการแบนสารเคมี 7)ภาคียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเด็น ได้แก่ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพร/บริษัทชุมพรออร์แกนิค จำกัด ฯ  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปฏิรูปที่ดิน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นต้น ผลลัพธ์ระยะยาว 1)เกิดสุขภาวะทางสังคมทั้ง 4 ด้าน ด้านสุขภาพ (ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย) ด้านเศรษฐกิจ (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีเงินออม) ด้านสังคม (ชุมชนอุดมสุข) ด้านทรัพยากร (ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและฐานการผลิตอาหาร) 2)ชุมชนท้องถิ่น มีอธิปไตยทางอาหาร มีหลักประกันในชีวิต และเกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการหรือเอกชน และระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ระยะสั้น 12 เดือน : เพิ่มพื้นที่ผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสาร/อาหารปลอดภัย อย่างน้อย 10 % (2,945 ไร่) จากพื้นที่เกษตรยั่งยืนที่มีอยู่ 1)เกิดการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย ตัวชี้วัดที่สำคัญได้แก่ มีการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย  มีครัวเรือนต้นแบบและแหล่งเรียนรู้เกษตรสุขภาพ เกิดความร่วมมือกับภาคีอย่างน้อยหนึ่งกิจกรรม 2)เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเกษตรสุขภาพ ตัวชี้วัดที่สำคัญ มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (ขั้นต้นระบบ PGS – GAP-ฯ ) มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย อย่างน้อย 5 รายการต่อพื้นที่ มีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมและปัจจัยการผลิต  มีแผนจัดการระบบอาหารในชุมชน 3)เกิดการจัดการเชื่อมโยงตลาดอาหารปลอดภัย ตัวชี้วัดที่สำคัญ มีผู้ประกอบการภาคเกษตรและชมรมผู้ประกอบการ (เกษตรกรมืออาชีพ : ทำน้อยได้มาก) มีการจัดการตลาดระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคหลากหลายรูปแบบ เช่น ตลาดสีเขียวในท้องถิ่น ตลาดออนไลท์ ตลาดโรงพยาบาล/โรงเรียน/โรงแรม ทั้งนี้หน่วยประสานจัดการ Node Flagship Chumphon ร่วมกับคณะทำงานพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นจังหวัดชุมพร ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพแก่กลุ่มเครือข่ายในพื้นที่จำนวน 17 โครงการ/กลุ่มเครือข่าย ครอบคลุม 35 ตำบล ทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร และจัดกลไกสนับสนุนไว้สามระดับคือ คณะกรรมการอำนวยการ คณะทำงานสนับสนุนวิชาการ และคณะทำงานปฏิบัติการในระดับพื้นที่ โดยมีเป้าหมายให้เกิด แผนงานเกษตรสุขภาพหรือเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยระดับท้องถิ่น และ แผนยุทธศาสตร์ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ภายใน 1 ปี จึงต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสู่เป้าหมาย ชุมพรมหานครสุขภาวะ หรือชุมพรเมืองน่าอยู่

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พัฒนาศักยภาพการบูรณาการระบบอาหารตำบล ให้กับทีมพี่เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. สร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นจังหวัดและกลไกพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
  3. อบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินงานตำบลบูรณการระบบอาหารในระดับพื้นที่ โดยเรียนรู้การพัฒนาโครงการลงเว็บไซด์และการติดตามโครงการ ครั้งที่ 1
  4. อบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินงานตำบลบูรณการระบบอาหารในระดับพื้นที่ โดยเรียนรู้การพัฒนาโครงการลงเว็บไซด์และการติดตามโครงการ ครั้งที่ 2
  5. ประชุมเวทีจัดทำแผนงานอาหารระดับชุมชนท้องถิ่น
  6. ประชุมพัฒนาศักยภาพการบูรณาการระบบอาหาร

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) เกิดกลไกหรือเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารระดับท้องถิ่น/จังหวัด 2) มีแผนงาน โครงการระบบอาหารระดับท้องถิ่น/กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น บันทึกในเว็บไซด์ 3) กลไกปฏิบัติการได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการหรืองบประมาณจากภาคียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หรือ กปท.


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. สร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นจังหวัดและกลไกพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

สร้างความเข้าใจการทำแผนบุรณาการอาหารระดับตำบลโดยนายทวีวัตรและการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดและนำเสนอการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีกรอบการดำเนินการจัดทำแผนการบูรณาการระบบอาหารระดับท้องถิ่นนำร่องจำนวน 10 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลทะเลทรัพย์  ตำบลท่าแซะ 3 ท้องถิ่น อบต.ท่าแซะ /ทต.ท่าแซะ/ทต.เนินสันติ/ทต.นาชะอัง /ทต.บางลึก/อบต.ทุ่งระยะ/อบต.เขาค่าย/อบต.ตะโก/อบต.ปากทรง และมีพื้นที่ที่ประสงค์จะเข้าร่วมเพิ่ม คือ อบต.สะพลี /อบต.วังไผ่

 

30 0

2. ประชุมพัฒนาศักยภาพการบูรณาการระบบอาหาร

วันที่ 12 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประสานข้อมูลชุมชนและกำหนดวันจัดประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การขับเคลื่อนงานบูรณาการอาหารเป็นการทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่มั่นคงซึ่งหากเรามีการทำแผนการทำงานที่เป็นระบบจะทำให้เรามีช่องทางที่หลากหลายและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นดังเช่นที่นาชะอังจะมีทรัพยากรหลายอย่างที่เรายังขาดการจัดการโดยมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับท้องถิ่น   การจะทำยุทธศาสตร์ที่ดีจะต้องวิเคราะห์ปัญหาของพื้นที่มีปัญหาอะไรบ้างและปัญหานั้นจะร่วมกันแก้ไขได้อย่างไร ปัจจัยเอื้อ/อุปสรรค เช่น คนเป็นอย่างไรมีความคิดความเชื่ออย่างไร สภาพแวดล้อมในพื้นที่เป็นอย่างไร การเมือง นโยบาย ระบบกลไก รัฐ ท้องถิ่น ระบบข้อมูล ระบบสาธารณสุขมูลฐาน
  เทศบาลตำบลนาชะอังมี 9 ชุมชนต้องหาอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชนให้เจอและนำมาพูดคุยเพื่อออกแบบการขับเคลื่อนงานของเทศบาลตำบลนาชะอังโดยมีทีมจากหน่วยงานจากหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิด คลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง
  บ้านขุนแสน หมู่ที่ 1 มีครัวเรือนจำนวน 956 ครัวเรือน  ชาวบ้านบางส่วนมีการทำการเกษตร ปลูกปาล์มน้ำมัน มะพร้าว มังคุด และมีการทำสวนแบบผสมผสาน   แนวทางการพัฒนา สืบสานและต่อยอด ยาลูกกลอนและน้ำมันวัดสามแก้วเพื่อเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้หายไปจากหมู่บ้านและสนับสนุนการปลูกผักในครัวเรือน บ้านนาชะอัง หมู่ 2 มีครัวเรือนจำนวน 352 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย   แนวทางการพัฒนา สามารถทำเครื่องสูบน้ำ และกาลักน้ำจากคลอง ส่งน้ำจากคลองเพื่อนำน้ำมาใช้ชั่วคราวในการเกษตรเวลาหน้าแล้ง บ้านหูรอ หมู่ที่ 3 มีครัวเรือนจำนวน 359 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย   แนวทางการพัฒนา ขุดลอกคูคลองหนองน้ำขาวให้กลับมาใช้ประโยชน์ในด้านชีวิตประจำวันของคนในชุมชน บ้านดอนนาว หมู่ที่ 4 มีครัวเรือนจำนวน 164 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำประมงชายฝั่ง และมีกลุ่มประมงชายฝั่งที่ทำอาหารทะเลแปรรูป   แนวทางการพัฒนา ทำการท่องเที่ยวเกี่ยวชายฝั่งอ่าวพนังตักให้มีกิจกรรม เช่น แข่งวิบากชายฝั่ง วอลเลย์บอลชายหาด แข่งวิ่งว่าวชายหาด และมีการขายของเกี่ยวกับสินค้าในชุมชน และอาหารทะเลเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน สนันสนุนอาหารทะเลแปรรูป ส่งเสริมให้ทำการตลาดทั้งในชุมชน นอกชุมชน และตลาดออนไลน์ บ้านสามเสียม หมู่ที่ 5 มีครัวเรือนจำนวน 345 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำประมงชายฝั่งปลูกข้าวไร่ โดยกลุ่มเกษตรทางเลือกนาชะอังมีการปลูกข้าวไร่ในพื้นที่หมู่ที่ 5 จำนวน 36 ไร่ และมีการสีข้าวเพื่อรับประทานและจำหน่าย   แนวทางการพัฒนา พัฒนาเป็นแหล่งการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศท้องถิ่นและแหล่งการเรียนรู้ เรื่องข้าวไร่ให้กับเยาวชน   บ้านทรายทอง หมู่ที่ 6 มีครัวเรือนจำนวน 278 ครัวเรือนชาวบ้านบางส่วนมีการทำการเกษตร ปลูกปาล์มน้ำมัน
  แนวทางการพัฒนา สนับสนุนการปลูกข้าวไร่เพื่อเป็นเกษตรทางเลือกใหม่ให้กับชาวบ้าน   บ้านเนินคีรี หมู่ที่ 7 มีครัวเรือนจำนวน 369 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและทำงานนอกบ้าน แนวทางการพัฒนา ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชุมชนและการปลูกข้าวไร่ของตำบลนาชะอังเพื่อเป็นตัวกลางประสานงานให้กับหมู่บ้านอื่นที่มีแหล่องท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรม และการเกษตร บ้านหนองจระเข้ หมู่ที่ 8 มีครัวเรือนจำนวน 341 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการทำการเกษตร
ปลูกปาล์มน้ำมัน มะพร้าว แนวทางการพัฒนา ปลูกข้าวไร่และจัดการอบรมแก่ผู้ที่สนใจเพิ่มเติมเพื่อขยายกลุ่มเกษตรกรที่ให้ความสนใจในการปลูกข้าวไร่เพิ่มและควรทำการตลาดเกี่ยวกับการขาย   บ้านทับตะเคียน หมุ่ที่ 9 มีครัวเรือนจำนวน 196 ครัวเรือน ชาวบ้านสวนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย แนวทางการพัฒนา สร้างที่กักเก็บน้ำเพื่อที่จะปล่อยน้ำให้ชาวบ้านที่ทำการเกษตรได้ใช้อย่างเพียงพอ       การขับเคลื่อนแผนบุรณาการอาหาร โดยมีวิสัยทัศน์ ร่วมสร้าง “คลังอาหารและยาที่นาชะอัง”ด้วยสายน้ำของพ่อและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภายใต้เป้าประสงค์ กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้ลด

 

25 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนาศักยภาพการบูรณาการระบบอาหารตำบล ให้กับทีมพี่เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้อง (2) สร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นจังหวัดและกลไกพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (3) อบรมเชิงปฏิบัติการ  การดำเนินงานตำบลบูรณการระบบอาหารในระดับพื้นที่ โดยเรียนรู้การพัฒนาโครงการลงเว็บไซด์และการติดตามโครงการ ครั้งที่ 1 (4) อบรมเชิงปฏิบัติการ  การดำเนินงานตำบลบูรณการระบบอาหารในระดับพื้นที่ โดยเรียนรู้การพัฒนาโครงการลงเว็บไซด์และการติดตามโครงการ ครั้งที่ 2 (5) ประชุมเวทีจัดทำแผนงานอาหารระดับชุมชนท้องถิ่น (6) ประชุมพัฒนาศักยภาพการบูรณาการระบบอาหาร

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ตำบลบูรณาการระบบอาหาร ชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายทวีวัตร เครือสาย/น.ส หนึ่งฤทัย พันกุ่ม /นางพัลลภา ระสุโส๊ะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด