การพัฒนาผ้ามัดย้อม บ้านหนองโกวิทย์ หมู่ที่ 7 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว

การพัฒนาผ้ามัดย้อม บ้านหนองโกวิทย์ หมู่ที่ 7 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาผ้ามัดย้อม บ้านหนองโกวิทย์ หมู่ที่ 7 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว
ชื่อชุมชน บ้านหนองโกวิทย์ หมู่ที่ 7 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์รังสรรค์ ลีเบี้ยว
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว เลขที่ 1177 หมู่2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สระแก้ว เขาฉกรรจ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ชุมชนบ้านหนองโกวิทย์ ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7 อยู่ในเขตการปกครองขององค์การ
บริหารส่วนตำบลเขาสามสิบ ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว โดยในอดีตเป็นนั้น
ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาได้แยกออกเป็นจังหวัดสระแก้ว
ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2536 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ
เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536 มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา เป็นผลให้ "จังหวัดสระแก้ว" ได้เปิดทำการในวันที่ 1 ธันวาคม 2536 เป็นจังหวัด
ที่ 74 ของประเทศไทย และอำเภอเขาฉกรรจ์เดิมเป็นต าบลหนึ่งใน อำเภอเมืองสระแก้ว ต่อมาได้รับ
การประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2537 และได้รับการยกฐานะเป็น
อำเภอเขาฉกรรจ์ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ชุมชนมีทุนความรู้ ภูมิปัญญา ความสามารถเกี่ยวกับการทอผ้าขาวม้า ที่สามารถนำมา
ประยุกต์ใช้ในการทำผ้ามัดย้อมแบบสีธรรมชาติได้ทันที เช่น ทักษะความรู้เกี่ยวกับการย้อมผ้า ขั้นตอน
การย้อม ความรู้เกี่ยววัสดุธรรมชาติที่สามารถทำเป็นสีย้อมธรรมชาติ ความรู้เกี่ยวกับชนิดและ
คุณสมบัติของผ้าต่าง ๆ ที่นำมาทำเป็นผ้ามัดย้อมได้ดี ความรู้และทักษะในการเตรียมการย้อมผ้า
การต้มผ้า เป็นต้น เป็นการต่อยอดทักษะ ความรู้ ความสามารถ และภูมิปัญญาที่มีอยู่มาใช้ให้เกิด
ประโยชน์ที่สอดคล้องกันของครัวเรือนเป้าหมาย
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การศึกษาสรุปได้ว่า ครัวเรือนมีปัญหาการประกอบอาชีพจากปัญหาด้านสุขภาพ อันเกิดจาก
การนั่งทอผ้าเป็นระยะเวลานาน ๆ ติดต่อกัน ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเช่น การกดทับกล้ามเนื้อ
การปวดเมื่อยร่างกาย การปวดหลัง ที่เริ่มเป็นปัญหาอย่างยิ่ง ทำให้การทอผ้าต้องใช้ระยะเวลาเพิ่มขึ้น
ส่งผลต่อปริมาณผ้าที่ทอได้จำนวนลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ลดลงตามมา จึงมีความต้องการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม เพื่อจำหน่ายและสร้างรายได้อีกหนึ่งแนวทางเพื่อทดแทนรายได้ที่ลดลง
จากการทอผ้า จึงมีความต้องการที่จะแสวงหาช่องทางในการสร้างรายได้จากการประกอบอาชีพ
จากความรู้ความสามารถและภูมิปัญญาที่เป็นทุนของครัวเรือนเป้าหมาย
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
- การสร้างรายได้เพิ่มโดยการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากภูมิปัญญา

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้การทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากภูมิปัญญา

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมาย บ้านหนองโกวิทย์ หมู่ 7 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว พบว่า ครัวเรือนเป้าหมายมีปัญหาการประกอบอาชีพจากปัญหาด้านสุขภาพ อันเกิดจากการนั่งทอผ้าเป็นระยะเวลานาน ๆ ติดต่อกัน ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเช่น การกดทับกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยร่างกาย ปวดหลัง เป็นปัญหาสุขภาพ ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทอผ้าที่ต้องใช้ระยะเวลาในการทอผ้านานขึ้น ทำให้ปริมาณผ้าที่ทอได้ลดลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ลดลง ชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม เพื่อจำหน่ายและสร้างรายได้อีกหนึ่งแนวทางเพื่อทดแทนรายได้ที่ลดลงจากการทอผ้า และส่งเสริมเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าของชุมชนอีกชนิดหนึ่งต่อไปในอนาคต
เพื่อเป็นการแก้ไขและตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ที่จะส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การพัฒนาผ้ามัดย้อม
  • จังหวัดสระแก้ว
  • ตำบลเขาสามสิบ
  • บ้านหนองโกวิทย์
  • หมู่ที่ 7
  • อำเภอเขาฉกรรจ์

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 16:15 น.