การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายดาวอินคา กรณีศึกษาไร่พรปวีณ์ อาเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายดาวอินคา กรณีศึกษาไร่พรปวีณ์ อาเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายดาวอินคา กรณีศึกษาไร่พรปวีณ์ อาเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาการจัดการ
หน่วยงานร่วม สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ชื่อชุมชน ไร่พรปวีณ์ อาเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ศศิประภา พรหมทอง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางสาวจันจิรา เกศางาม
นายศราวุธ คาแสนโคตร
นายศรัญยู แก้วศรัทธา
นายศุภกิตติ์ บรรเทา
นางสาวณัฐพร พลชัย
นางสาวพิสมัย พิมพล
การติดต่อ 0894221212
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
อุดรธานี เมืองอุดรธานี หมากแข้ง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
คุณพรปวีณ์ หงส์ประสิทธ์ (คุณวาส) อายุ 55 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 331/ 26 หมู่บ้านเสริมสุข ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41330 และได้แต่งงานกับสามีซึ่งมีภูมิลำเนาบ้านเกิดอยู่ที่ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่การปลูกพืชดาวอินคาในปัจจุบันอยู่ 15ไร่ ปลูกไร่ละ 500 ต้น ร่วม 7500 ต้นโดยยประมาณ ซึ่งยังมีการปลูกพืชสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่น ฟักข้าว มะขาม ขมิ้น ไพล พืชสวรครัวอีกหลายชนิด แต่ก่อนนั้นผู้ประกอบการได้มีการปลูกมันสำปะหลังเพื่อการค้า แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และตัวผู้ประกอบการเองก็มีสุขภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่ และมีเพื่อนบ้านแนะนำสมุนไพรเพื่อสุขภาพให้รับประทานคือ ดาวอินคา จากนั้นผู้ประกอบการได้ทำการปลูกดาวอินคาเพื่อไว้ใช้สอยในส่วนของตัวเอง ต่อมาจึงทำการศึกษาในส่วนของพืชชนิดนี้มากขึ้น จึงทำให้ทราบว่า ดาวดินคาเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์มากมาย จึงได้หันมาทำเป็นการค้าแบบจริงจัง จนถึงปัจจุบันนี้
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- มีแหล่งวัตถุดิบเป็นของตัวเอง
- สินค้าผลิตจากธรรมชาติ
- มีการใช้เงินทุนในการดำเนินกิจการที่ต่ำ
- ทางผู้ประกอบการมีแหล่งเงินทุนเป็นของตัวเอง
- มีลูกค้าประจำที่ใช้สินค้าดังกล่าวอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
- ยังไม่มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ชัดเจน/ไม่มีการโฆษนา
- ตัวผลิตภัณฑ์มีลักษณะทั่วไปและมีขนาดเดียว
- ฉลากและชื่อแบรนด์ดูไม่ทันสมัยดูไม่ได้มาตราฐาน
- ตัวผลิตภัณฑ์ไม่มีความหลากหลายให้ผู้บริโภค
- ยังไม่มี อย. รับประกันคุณภพของสินค้า
- แพคเก็จจิ้งไม่ดึงดูดไม่น่าสนใจ ทำให้ตัวสินค้าดูมีราคาถูก
- มีคู่แข่งทางการตลาดมากในตลาดคล้ายกัน
- เป็นสินค้าใหม่ยังไม่ฐานลูกค้าเป็นของตัวเอง และสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
แนวางแก้ไขแพคเก็จจิ้ง ไม่ดึงดูด ไม่น่าสนใจ ทำให้ตัวสินค้าดูมีราคาถูก ไม่มี อย. รับประกันคุณภาพของสินค้า ตามมาด้วยตัวผลิตภัณฑ์ไม่มีความหลากหลายให้ผู้บริโภค รวมทั้งฉลากกับชื่อแบรนด์ดูไม่ทันสมัย ดูไม่ได้มาตราฐาน และยังไม่มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ชัดเจน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายดาวดินคา
2. แนวคิดและการพัฒนาตราสินค้า
3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์
4. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์กร (SWOT Analysis)
5. วิเคราะห์สภาพทางการแข่งขันทางธุรกิจ (5 Force Model )

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเครื่องสำอางไทยมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านบาท เฉพาะตลาดในประทศ มีมูลค่าถึง 1.2 แสนล้านบาท ตลาดส่งออกไปต่างประเทศมีมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท กสอ. จะผลักดันให้เครื่องสำอางไทยส่งออกไปต่างประเทศติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ใน 3-5 ปีข้างหน้า ขยายตัวต่อเนื่องปีละ 10% เป้าหมายสำคัญ คือ กลุ่มประเทศ AEC ที่มีประชากร 600 ล้านคน มีประชากรในวัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่มีกำลังซื้อสูงถึง 300 ล้านคน ซึ่งตลาดเครื่องสำอางในประเทศไทยกลุ่มสกินแคร์ มีมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านบาท เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวขาว 48% บำรุงผิวทั่วไป 43% ผลิตภัณฑ์บำรุงแบบให้คุณประโยชน์เฉพาะ 9% กลุ่มสกินแคร์ มีการแข่งขันสูงมาก เพราะปัจจุบันมีการเปิดแบรนด์ใหม่ ๆ เป็นจำนวนมาก มีการผลิตออกจำหน่ายหลายยี่ห้อ มีการทำตลาดแบบ E-Commerce จึงทำให้มูลค่าตลาดขยายตัวอย่างรวดเร็วปัจจัยหนุนที่สำคัญของประเทศไทย คือ ความอุดมสมบูรณ์ด้านวัตถุดิบสมุนไพรที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพ ปัจจุบันภาครัฐได้ให้การสนับสนุน มีการส่งเสริมการจัดตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ และการแก้ไข พ.ร.บ. เครื่องสำอางบางส่วนที่ยังเป็นอุปสรรคต่อผู้ผลิต หัวใจสำคัญ คือ ท่านผู้ประกอบการจะต้องมีการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องสำอาง อาทิเช่น ASEAN GMP มาตรฐานฮาลาล EU Cosmetic Regulation และ Gulf standard ซึ่งจะส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือ เป็นผลดีต่อการทำตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ว่าเศรษฐกิจการเมืองจะเป็นอย่างไร ก็ไม่สามารถยับยั้งความต้องการของมนุษย์ที่อยากหล่ออยากสวยได้ เรื่องของความสวยงามเป็นเรื่องที่ผู้คนยอมเสียเงินจำนวนมากเพื่อให้ความสวยอยู่กับตัวให้นานที่สุด และทุกวันนี้นอกจากผู้บริโภคจะใส่ในในเรื่องความสวยความงามแล้วและเราต้องยอมรับว่า ผู้บริโภคนั้นยังได้มีความพิถีพิถันในเรื่องการเลือกสิ่งต่างๆให้ตัวเองมากขึ้น สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ ผู้บริโภคให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารเสริมถ้ามีส่วนผสมของสมุนไพรอยู่นั้น ก็เป็นที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินในซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ง่ายขึ้น ยิ่งถ้าเป็นสมุนไพร 100% ยิ่งทำให้ตัวผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้นเป็นที่น่าซื้อหายิ่งขึ้น สมุนไพรที่เรายินชื่อกันคุ้นหูที่มีอยู่ในเครื่องสำอางนั้นก็มีอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไพร ขมิ้น ธนาคา มะขาม เป็นต้น แต่เชื่อว่าหลายคนคงไม่ค่อยคุ้นหูหรืออาจจะไม่รู้จักกับ ดาวอินคา สมุนไพรที่เป็นพืชชนิดหนึงที่สามารถนำทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆใด้ หนึ่งในนั้น ก็คือการสกัดนำมันจากเมล็ดถั่วดาวอินคา มาใช้ในการรักษา ดูแลผิวพรรณ ให้ผิวมีสุขภาพที่ดีได้ และส่วนต่างๆของลำต้น ใบ เปลือก เมล็ด นั้นยังมีสรรพคุณในการช่วยดูแลสุขถาพได้อีกด้วย ซึ่งทุกวันนี้มีการปลูกอย่างแพร่หลายในหลายภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน เพราะถั่วดาวอินคาเป็นพืชที่ให้ผลเร็วมาก ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 4-6 เดือนก็สามารถให้ผลผลิตได้แล้ว และสามารถให้ผลผลิตได้เป็นระยะเวลายาวนานถึง 15-50 ปี จากการปลูกเพียงครั้งเดียว (ที่มา:สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561,จาก www.thaicosmeticcluster.com/tag/กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
โดยผู้ประกอบการ คุณพรปวีณ์ หงส์ประสิทธ์ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนหลายคนที่ได้หันมาประกอบธุรกิจในด้านดูแลความสวยความงามเช่นกัน คือการผลิตสบู่สมุนไพรดาวอินคา แต่ทางกลุ่มผู้จัดทำโครงการได้มองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการครั้งนี้ทั้งนี้คือ แพคเก็จจิ้ง ไม่ดึงดูด ไม่น่าสนใจ ทำให้ตัวสินค้าดูมีราคาถูก ไม่มี อย. รับประกันคุณภาพของสินค้า ตามมาด้วยตัวผลิตภัณฑ์ไม่มีความหลากหลายให้ผู้บริโภค รวมทั้งฉลากกับชื่อแบรนด์ดูไม่ทันสมัย ดูไม่ได้มาตราฐาน และยังไม่มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ชัดเจน
ดังนั้นทางกลุ่มผู้จัดทำโครงการจึงมองเห็นปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขโดยการทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สภาพทางการแข่งขัน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ จำนวนผู้แข่งกัน วิธีการขอจดทะบียนองค์การอาหารและยารวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ การแตกไลล์ผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นที่มีนอกเหนือจากสบู่ เช่น สบู่เหลวดาวอินคา สคับดาวอิคา โลชั่นบำรุงผิวกายดาวอินดา ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทางผู้คณะจัดทำโครงการได้นำสมุนไพรไทยมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมด้วยเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับกลุ่มลูกค้า รวมไปถึงการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบธุระกิจดังกล่าวนี้ด้วย

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายดาวอินคา
  • ไร่พรปวีณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 14:16 น.