พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกและบูรณาการสู่การเรียนรู้ในชุมชน ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกและบูรณาการสู่การเรียนรู้ในชุมชน ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกและบูรณาการสู่การเรียนรู้ในชุมชน ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม โรงเรียนบ้านหนองม่วง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อชุมชน ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัชราภรณ์ พิมพ์จันทร์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ดร.ณัฐพงษ์ พระลับรักษา อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
นางสาวอรุณรัตน์ อุทัยคู นักวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
นักศึกษา
๑. ๖๑๓๑๒๐๐๑๐๑๐๗ นางสาว ธัญญ์ฐิตา วสุภัสสรารัตน์ นักศึกษา สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๒. ๖๑๓๑๒๐๐๑๐๑๑๒ นางสาว มณฑาทิพย์ รสกระโทก นักศึกษา สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๓. ๖๑๓๑๒๐๐๑๐๑๑๖ นางสาว อมรพรรณ พิมพา นักศึกษา สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๔. 623120020103 นางสาวจารุวรรณ ธรรมจิต นักศึกษา สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๕. 613120020139 นางสาวหนึ่งฤทัย กุลศรีศร นักศึกษา สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๖. 613410050113 นางสาวศิริญาภรณ์ ต้นทอง นักศึกษา สาขาวิชาเคมี คณะครุศาสตร์
๗. 613410050121 นายอภิราช พิลาลัย นักศึกษา สาขาวิชาเคมี คณะครุศาสตร์
๘. 613410050127 นายภาณุวิชญ์ โนบรรเทา นักศึกษา สาขาวิชาเคมี คณะครุศาสตร์
๙. 613170020105 นายจุลดิส อินทมาตย์ นักศึกษา สาขาวิชาแทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
๑๐. 613170020118 นายจักรกฤษณ์ สวงกุดเรือ นักศึกษา สาขาวิชาแทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
การติดต่อ Patcharaporn145@gmail.com โทร: 086-21977
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2563 - 5 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ ชานเมือง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำนวนหลังคาเรือน ๑,๑๐๔ หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร ๕,๖๑๗ คน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ ๖๐๑ คน ตำบลลำคลอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ทำนาปีละ 2 ครั้ง โดยได้รับน้ำจากเขื่อนโดยตรง อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม ทำสวน ทำไร่
ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย ๗ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๑ บ้านหนองสองห้อง หมู่ ๒ บ้านหาดทอง หมู่ ๓ บ้านโนนตูม หมู่ ๖ บ้านอัมพวัน หมู่ ๗ บ้านป่ากล้วย หมู่ ๙ บ้านหนองสอกลาง และ หมู่ ๑๐ บ้านใหม่พัฒนา
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำเกษตรมีพื้นที่ป่าเพียงเล็กน้อย ราษฎรเทศบาลตำบลลำคลองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่การเกษตรร้อยละ ๙๐ สามารถแยกประเภทได้ดังนี้
อาชีพทำนา เป็นอาชีพหลักของตำบล ส่วนใหญ่ทำนาปีประมาณ ๙๐% ของพื้นที่ทั้งหมด
อาชีพทำไร่ พื้นที่ตำบลลำคลองเหมาะสมสำหรับทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง
อาชีพทำสวน ส่วนใหญ่ทำสวนพริก สวนผัก
อาชีพเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงโค –กระบือ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่พื้นบ้าน
รายได้และรายจ่ายของครัวเรือน
รายได้ในภาคเกษตร รายได้เฉลี่ย ๑๐๐,๐๐๐ บาท / ครัวเรือน /ปี
รายได้นอกภาคเกษตร รายได้เฉลี่ย ๑๐๐,๑๔๕ บาท /ครัวเรือน /ปี
รายจ่ายในภาคเกษตร รายได้เฉลี่ย ๓๐,๕๑๕ บาท / ครัวเรือน / ปี
รายได้นอกภาคเกษตร รายได้เฉลี่ย ๓๐,๕๑๕ บาท / ครัวเรือน / ปี
ข้อมูลประเด็นปัญหา
พื้นที่ชนบทมีอาชีพทำไร่ ทำนา ไม่มีรายได้เสริม ประชาชนวัยทำงานจึงต้องเดินทางเข้าเมืองเพื่อหารายได้ต่างแดน ปู่ย่าตายาย ทำหน้าที่เลี้ยงหลานๆ ที่บ้าน ชุมชนส่วนใหญ่จึงเป็นสังคมผู้สูงอายุ รุ่นเด็กติดความสบาย และช่วงห่างของวัยทำให้สื่อสารกันลำบาก เด็กรุ่นใหม่ไม่มีความเข้าใจในภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ชุมชนไม่มีแหล่งรายได้เสริม
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ในชมชนมีการทอเสื่อกก เพื่อหารายได้เสริม แต่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้ขาดการพัฒนาและการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยทั้งภูมิปัญญาการทอเสื่อยังไม่ถูกถ่ายทอดสู่รุ่นหลังจึงอาจจะสูญหายไป เนื่องจากเมื่อเด็กรุ่นหลังเติบโตขึ้นก็ต้องเข้าเมืองใหญ่เพื่อหารายได้ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพในฤดูที่ไม่ได้ทำนา ทำไร่ เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนรวมทั้งถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่คนรุ่นต่อไปจึงควรมี โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกและบูรณาการสู่การเรียนรู้ในชมชน ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

- การทอเสื่อกก
- การออกแบบผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก
- กก และเส้นใยพืช
- การย้อมสีธรรมชาติ
- การสร้างสื่อออนไลน์
นวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
ขับเคลื่อนกิจกรรมโดยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รู้ในท้องถิ่น ประชาชน อาจารย์ นักศึกษา ครู และนักเรียน และจัดทำวิดีทัศน์ให้ความรู้

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือนและจากการสำรวจพื้นที่พบว่าตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำนวนหลังคาเรือน ๑,๑๐๔ หลังคาเรือน มีจำนวนประชาก ๕,๖๑๗ ครน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ ๖๐๑ คน ตำบลลำคลอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม ทำสวน ทำไร่ ชุมชนไม่มีรายได้เสริม ประชาชนวัยทำงานจึงต้องเดินทางเข้าเมืองเพื่อหารายได้ต่างแดน ปู่ย่าตายาย ทำหน้าที่เลี้ยงหลานๆ ที่บ้าน (เทศบาลตำบลลำคลอง, ๒๔๖๒) ชุมชนมีการทอเสื่อกกในครัวเรือนแต่ไม่ได้รับการพัฒนา ไม่มีผลิตภัณฑ์ OTOP ในชุมชน เนื่องจากกลุ่มทอเสื่อเป็นชาวบ้านและผู้สูงอายุ ทำให้ขาดการพัฒนาและการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยทั้งภูมิปัญญาการทอเสื่อยังไม่ถูกถ่ายทอดสู่รุ่นหลังจึงอาจจะสูญหายไป
การทอเสื่อกกของชุมชนในยามว่างจากการทำนานับเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่น ดังเช่นการทอเสื่อกกที่บ้านแพง ตำบลแพง ของจังหวัดมหาสารคาม ตามประวัติมีมาประมาณ ๑๐๐ ปี ส่วนใหญ่ทอเสื่อเพื่อใช้สอยในครัวเรือน หรือสำหรับแลกเปลี่ยนกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง โดยได้มีการเริ่มต้นทอเสื่อจากต้นกกสามเหลี่ยม (ต้นผือ) ก่อน ต่อมาพระที่วัดได้นำพันธุ์ต้นกก (ไหล) จากจังหวัดร้อยเอ็ด มาทดลองปลูกที่ริมบึงบ้านแพง (เป็นหนึ่งทอเสื่อกก “เสื่อกกบ้านแพง”, ๒๕๕๑) และปัจจุบันเสื่อกกบ้านแพงได้แปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่หลากหลาย เช่น ที่รองจาน อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน แจกัน กระเป๋า ซึ่งได้รับความนิยมมาก จนก่อตั้งเป็นกลุ่ม OTOP ที่มีชื่อเสียงและชุมชมมีรายได้สูง ซึ่งผู้วิจัยได้นำรูปแบบกลุ่มทอเสื่อกกบ้านแพงมาทำการวิจัยจัดตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกที่หมู่บ้านหนองโดน หอกลอง ซึ่งเป็นหมู่บ้านในบริเวณดินเค็มทำให้ไม่มีผลผลิตทางการเกษตร โดยดำเนินการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดน จนก่อตั้งได้สำเร็จ (ทุนวิจัย วช พ.ศ. ๒๕๕๔) จัดโครงการอบรมการทำผลิตภัณฑ์ และอบรมการออกแบบ ทำให้ชุมชนมีรายได้เสริม และสร้างบทเรียนให้ความรู้เรื่องดินเค็ม และการทอเสื่อ ให้กับนักเรียนและได้ทำการวิจัยต่อเนื่องเกี่ยวกับการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเสื่อกกในชุมชนด้วยสีย้อมธรรมชาติ ได้สำเร็จ (ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ๒๕๕๗) ดังจะเห็นผลงานตีพิมพ์ระดับชาติ ๒ เรื่องคือ ๑. Patcharaporn Pimchan, Nittaya Saesim. (2016). Effects of Saline Soils on Culms and Culm Strands of Cyperus Corymbosus Rottb. Naresuan University Journal: Science and Technology. 24(3). (TCI ฐาน 1, Thai-Journal Impact Factors 0.025) และ ๒. พัชราภรณ์ พิมพ์จันทร์ (2558). การเพิ่มการติดสีและความคงทนของสีย้อมธรรมชาติสำหรับเส้นใยจากกก. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น. 37(2). (TCI ฐาน 2, Thai-Journal Impact Factors 1.564) ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะทำการพัฒนากลุ่มทอเสื่อ และทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ให้มีเอกลักษณ์ให้กับชุมชนตำบลลำคลอง เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมและสร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อให้เยาวชนตะหนักถึงภูมิปัญญาท้องถิน และส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มองเห็นอาชีพเสริมในชุมชนได้

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการนำองค์ความรู้ที่หลากหลายในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรมโดยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รู้ในท้องถิ่น ประชาชน อาจารย์ นักศึกษา ครู นักเรียน มาบูรณาการในการแก้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดความยั่งยืน
๒. เพื่อนำองค์ความรู้ เกี่ยวกับ การย้อมสีธรรมชาติ การทอเสื่อ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนผลิตเพื่อจำหน่ายได้
๓. เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก เพื่อให้เกิดอาชีพที่ยั่งยืน
๔. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสื่อออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าในท้องถิ่นเป็ฯการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
๕. เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนเกี่ยวกับ สีย้อมจากธรรมชาติ การทอเสื่อกก และการทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก
๖. เพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบระบบงาน จนสามารถทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคม และมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ประโยชน์ที่จะได้รับ
๑. ด้านวิชาการ นำองค์ความรู้ เกี่ยวกับ สีย้อมธรรมชาติ การทอเสื่อ การทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก การสร้างสื่อออนไลน์ มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนผลิตเพื่อจำหน่ายได้
๒. ด้านสังคม และชุมชน มีแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนเกี่ยวกับสีย้อมจากธรรมชาติ การทอเสื่อกก และการทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก
๓. ด้านเศรษฐกิจ มีกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ที่มีความรู้ด้านการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์เพื่อให้เกิดอาชีพที่ยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย
๑. ประชาชนในชุมชนตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๗๐ คน
๒. นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองม่วง ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๔๐ คน

วิธีการดำเนินงาน
๑. จัดการประชุมเสวนาในชุมชนให้กับกลุ่มชาวบ้านและนักเรียนโรงเรียนบ้านหน่องม่วง เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น การต่อยอดภูมิปัญญาสู่รายได้และขออาสาสมัครร่วมกิจกรรมการทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกที่เป็นชาวบ้านและนักเรียน
๒. จัดอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก เช่น กระเป๋า ที่รองแก้ว แจกัน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเสื่อกกให้กับกลุ่มอาสาสมัครในชุมชนและจัดตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก
๓. คัดเลือกตัวแทนกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกที่ผ่านการอบรมเพื่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองม่วง
๔. พัฒนาสภาวะที่เหมาะสมในการย้อมสีกกด้วยสีย้อมธรรมชาติ เช่น ขมิ้น ดอกอัญชัญ เปลือกฝาง เปลือกมังคุด หมักโคลน ร่วมกับสารเติม (มอร์แดน) เพื่อช่วยการติดสีและความคงทน จากนั้นถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการย้อมสีกกด้วยสีย้อมธรรมชาติให้กับกลุ่มและนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองม่วง
๕. จัดกิจกรรมประกวดเสื่อกกที่ย้อมด้วยสีย้อมธรรมชาติและอบรมให้ความรู้วิธีการสร้างสื่อออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าชุมชน
๖. สร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยใช้สื่อวิดิทัศน์ถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการย้อมและสภาวะการย้อมสีธรรมชาติที่ทำให้สีคงทน และการทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กก
  • แปรรูปต้นกก
  • ผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก
  • สีย้อมธรรมชาติ
  • เส้นใย

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Patcharaporn Patcharaporn เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 14:04 น.