โครงการบูรณาการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หน่วยงานร่วม หน่วยงานภายใน : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หน่วยงานภายนอก : องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ โรงพยาบาลอำเภอโคกโพธิ์
ชื่อชุมชน ชุมชนตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวชลธิชา อนันทบริพงค์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 229 หมู่ที่ 1 ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรีรัตน์ รวมเจริญ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง
นางสาวละม้าย คำอ่อน สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง
นายไพรัตน์ จีรเสถียร สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง
การติดต่อ 085-1399741 /093-6324810
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 200,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปัตตานี โคกโพธิ์ นาเกตุ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลนาเกตุตั้งอยู่ในพื้นที อำเภอโคกโพธิ์. จังหวัดปัตตานี มประกอบด้วยจำนวน 7 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 7,365 คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖1) มีสมาชิกจำนวน 1,729 ครัวเรือน สมาชิกในชุมชนนับถือศาสนา ลักษณะชุมชน เป็นพหุวัฒนธรรม อยู่ร่วมกันทั้ง ไทยพุทธและไทยมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม 68.47 % ศาสนาพุทธ 31.53 มีรายได้เฉลี่ย 15,000 – 30,000.-บาท ต่อคนต่อปี รายได้เฉลี่ยครัวเรือน 36,000.บาท/ต่อครัวเรือน ต่อปี
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
มีการจัดตั้งกลุ่มและดำเนินกิจกรรม แต่ขาดความต่อเนื่องในการบริหารจัดการกลุ่ม
ข้อมูลประเด็นปัญหา
พัฒนากลุ่มที่อ่อนแอ เช่น กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ กลุ่มผุ้ป่วยทุพพลภาพ ผู้พิการ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
1. ความต่อเนื่องของกิจกรรมที่ดำเนินการ
2. กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ
3. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต
4. ความรู้หรือนวัตกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยและผู้สูงอายุ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1) เทคโนโลยีด้านการออกกำลังกายสำหรับผุ้สูงอายุ หรือผู้ป่วยทุพพลภาพ
2) การเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในชุมชน
3) เกษตรอินทรีย์ชีวภาพจากวัตถุดิบในชุมชน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ตำบลนาเกตุตั้งอยู่ในพื้นที อำเภอโคกโพธิ์. จังหวัดปัตตานี มประกอบด้วยจำนวน 7 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 7,365 คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖1) มีสมาชิกจำนวน 1,729 ครัวเรือน สมาชิกในชุมชนนับถือศาสนา ลักษณะชุมชน เป็นพหุวัฒนธรรม อยู่ร่วมกันทั้ง ไทยพุทธและไทยมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม 68.47 % ศาสนาพุทธ 31.53 มีรายได้เฉลี่ย 15,000 – 30,000.-บาท ต่อคนต่อปี รายได้เฉลี่ยครัวเรือน 36,000.บาท/ต่อครัวเรือน ต่อปี ประชากรประกอบอาชีพทำสวนยางพารา เกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก ลักษณะของชุมชนจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มตามเส้นทางคมนาคม แนวโน้มการขยายตัวของชุมชน ยังคงกระจายอยู่ในรอบ ๆ ชุมชนเดิม ปัจจุบันกิจกรรมทีกลุ่มได้ดำเนินการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เช่น กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ กิจกรรมการดูแลผู้ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ (ผู้พิกาล) กิจกรรมด้านการเกษตรชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวยังคงขาดความต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนั้นหากได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ หาความต้องการร่วมกันระหว่าง ตัวแทนชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประชาตำบล และนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมศึกษาเรียนรู้ และนักวิชาการจากสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกันขับเคลื่อน รวมพลังในการปฏิบัติงานในเชิงพื้นที่ นำองค์ความรู้ หรือนวัตถกรรมจากมหาวิทยาลัยถ่ายทอดสู่ชุมชน ในการบูรณาการถ่ายทอดความรู้ ทั้งด้านทฤฏีและปฏิบัติ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ชุมชนเข้มแข็ง เตรียมพร้อมให้คนในสังคม รับผลกระทบ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและเศรษฐกิจโลก สามารถพัฒนาตนเอง สังคม ส่งผลให้เกิดการเสริมสร้างพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนนำไปสู่เป้าหมายของการบริหารจัดการชุมชนตามแนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย chonticha chonticha เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 13:46 น.