การพัฒนาน้ำหมักชีวภาพเพื่อรักษาเชื้อราในโรงเห็ดฟาง กรณีศึกษา โรงเห็ดฟางบ้านข้าวสาร ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

การพัฒนาน้ำหมักชีวภาพเพื่อรักษาเชื้อราในโรงเห็ดฟาง กรณีศึกษา โรงเห็ดฟางบ้านข้าวสาร ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาน้ำหมักชีวภาพเพื่อรักษาเชื้อราในโรงเห็ดฟาง กรณีศึกษา โรงเห็ดฟางบ้านข้าวสาร ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาการจัดการ
หน่วยงานร่วม สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ชื่อชุมชน โรงเห็ดฟางบ้านข้าวสาร ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ศศิประภา พรหมทอง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางสาวช่อผกา ธาตุไพบูลย์
นางสาวดารุณี สารมานิตย์
นางสาวกาญจนา ธาตุมณี รหัส
นางสาวสายใหม ประชานันท์ รหัส
นางสาวอรพรรณ ธรรมขันธ์ รหัส
การติดต่อ 0894221212
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
อุดรธานี เมืองอุดรธานี โนนสูง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
529 หมู่ 4 ตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41330 โรงเห็ดฟางบ้านข้าวสารเริ่มก่อตั้งโรงเห็ดฟาง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 และเริ่มเพาะเห็ดฟางวันที่ 20 ตุลาคม 2559 เป็นการเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนโดยมี นายสมบูรณ์ พลเมืองนิตย์ เป็นผู้ริเริ่มกิจการ ซึ่งเดิมทีมีอาชีพรับเหมาไฟฟ้าและมีโอกาสได้เดินทางไปทำงานเกษตรที่ประเทศอิสราเอลพอครบสัญญาจ้างได้นำความรู้ที่ได้จากการทำเกษตรที่อิสราเอลมาต่อยอดเป็นอาชีพปลูกผักขายที่บ้าน แต่สู้กับต้นทุนสารเคมีไม่ไหว ประจวบเหมาะกับเวลานั้นมีโครงการการฟื้นฟูจากจังหวัดออกมาช่วยแนะนำในการประกอบอาชีพ และมีเงินทุนสนับสนุนในเรื่องของการเกษตร นายสมบูรณ์จึงเริ่มมองหาอาชีพซึ่งก็คือการเพาะเห็ดฟาง ซึ่งในตำบลโนนสูงยังไม่มีคนทำราคาเห็ดฟางก็ดีขายได้ตลอด ตลาดกว้างขายง่ายกว่าเห็ดนางฟ้าซึ่งตอนนี้ล้นตลาดบางที่ก็ได้นำมาแปรรูป ได้ทำการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเห็ดฟางอยู่นานพอสมควรกว่าจะได้เป็นโรงเห็ดฟางอย่างในปัจจุบันนี้ เหตุผลที่เพาะเห็ดฟางในโรงเรือน คือ
1. การทำโรงเรือน สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
2. ดูแลง่าย เก็บผลผลิตได้ง่าย
3. ควบคุมอุณหภูมิได้ดีกว่าการทำแบบกองเตี้ย
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟาง คือ วัสดุที่เหลือใช้จากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เช่น ขี้มัน ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวา เป็นต้น
- มีต้นทุนต่ำในการทำโรงเห็ดฟาง เช่น ใช้ไม้ไผ่ ไม้ยูคา ที่หาได้จากท้องถิ่น
- สามารถเพาะได้ทุกฤดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤดูหนาวหรือฤดูฝน
- สามารถเพาะเห็ดได้จำนวนมากในพื้นที่จำกัด กล่าวคือ ภายใน 1 เดือน จะเพาะเห็ดได้ 2 ครั้ง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
- โรงเห็ดฟางทำจากไม้ไผ่ ไม้ยูคา และผ้าใบ อาจมีระยะเวลาการใช้งานที่สั้น ต้องมีการซ่อมแซมและเปลี่ยนบ่อยๆ ไม่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น พายุ ฝนตก หรือตากแดดนานๆ
- โรงเห็ดฟางไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ เช่น ความชื้น ความร้อนจากสภาพอากาศ ซึ่งทำให้เกิดเชื้อราในโรงเห็ดฟางได้
- การดูแลรักษาโรงเห็ดมีความยุ่งยาก เช่น เวลารดน้ำหรือมีฝนตก จะทำให้พื้นเปียกแฉะ เป็นโคลนตม
- การถ่ายเทหรือระบายอากาศไม่ค่อยดีนัก เพราะมุงด้วยผ้าใบถ้าแดดร้อนมากก็จะกักเก็บความร้อนไว้มาก ถ้าฝนตกก็จะกักเก็บความชื้นไว้มากยากต่อการระบายออก
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ศึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพที่มีต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยรักษาโรคเชื้อราในโรงเห็ด

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดฟาง
1.1 สายพันธ์เห็ดฟาง
1.2 ลักษณะของเห็ดฟาง
1.3 ระยะการเจริญของเห็ดฟาง
1.4 ประโยชน์ของเห็ดฟาง
1.55 การเพาะเห็ดฟาง
2. แนวคิด ทฤษฎีการทำน้ำหมักชีวภาพ
3. ทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

เห็ดเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีนซึ่งสามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาป้องกันรักษาโรคได้หลายชนิด เห็ดเศรษฐกิจหลายชนิดเป็นเห็ดที่เพาะให้เกิดดอกได้ดี เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว และเห็ดกระด้าง เป็นต้น โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรชนิดต่างๆ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา กากมัน ทลายปาล์ม ชานอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ฯลฯ มาใช้เป็นวัสดุสำหรับเพาะ สามารถทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่ครอบครัวได้อีกทาง (www.ubu.ac.th สืบค้นวันที่ 6 ก.ย. พ.ศ. 2560 )
กรณีศึกษาโรงเห็ดฟาง บ้านข้าวสาร ตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเพิ่งเปิดกิจการเพาะเห็ดฟางขายได้ 10 เดือนก็ต้องประสบปัญหาในเรื่องของเชื้อราที่เกิดขึ้นกับเห็ดฟาง ซึ่งสาเหตุในการเกิดเชื้อรานั้นก็มาจากอุณหภูมิและความชื้น ถ้าร้อนเกินไปก็จะเกิดราขาว เย็นเกินไปก็จะเกิดรารากไม้ ราเม็ดผักกาด เข้ามาปะปนหรือทำลายเส้นใยเห็ด ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่เร่งจัดการก็จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตได้ และราพวกนี้จะส่งผลให้เห็ดฟางไม่ได้คุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการ เช่น เห็ดฟางฝ่อ เห็ดฟางมีผิวดำ ผิวเห็ดอ่อน เห็ดไม่ออกดอก หรือเห็ดมีน้ำหนักเบา ขายได้ราคาต่ำอาจทำให้กิจการขาดทุนได้ จากปัญหาที่โรงเห็ดเผชิญตอนนี้ ได้ก่อให้เกิดแนวคิดที่อยากจะศึกษาปัญหา สาเหตุ หรือปัจจัยในการทำให้เกิดเชื้อราเพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ได้มาเป็นแนวทางประกอบในการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการ เป็นการลดต้นทุนในการใช้สารเคมีและมีความปลอดภัย และการจัดทำโครงงานในครั้งนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายอื่นที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ ที่สนใจจะแก้ไขปัญหาด้วยน้ำหมักชีวภาพนำไปพัฒนาต่อยอดให้กับกิจการให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้




ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงงานได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ศึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพที่มีต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยรักษาโรคเชื้อราในโรงเห็ด จากการศึกษาหาข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดินจังหวัดอุดรธานีและสอบถามจากผู้ประกอบการรายอื่นรวมทั้งค้นคว้าในอินเทอร์เน็ตพบว่ามีน้ำหมักชีวภาพ 3 สูตรที่คณะผู้จัดทำโครงการสนใจเลือกมาทดลองใช้กับปัญหานี้ ได้แก่ 1.สูตรฮอร์โมนตีนเห็ด 2.สูตรน้ำหมักหอยเชอรี่ 3.สูตรน้ำหมักเหล้าขาว ที่สามารถนำมาทดลองปรับใช้กับการรักษาเชื้อราที่เกิดกับเห็ดได้ดี ปลอดภัย และน่าจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การพัฒนาน้ำหมักชีวภาพเพื่อรักษาเชื้อราในโรงเห็ดฟาง

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 13:00 น.