โครงการเพิ่มศักยภาพการค้าสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) จังหวัดสกลนครแบบครบวงจรและยั่งยืน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้า GI

โครงการเพิ่มศักยภาพการค้าสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) จังหวัดสกลนครแบบครบวงจรและยั่งยืน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้า GI

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มศักยภาพการค้าสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) จังหวัดสกลนครแบบครบวงจรและยั่งยืน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้า GI
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
หน่วยงานหลัก คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
หน่วยงานร่วม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
ชื่อชุมชน พิพิธภัณฑ์ป้าทุ้ม ป้าไท้ บ้านหนองแข้ ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
การติดต่อ 089-712-4041 , 085-925-2825
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 237,200.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร โคกศรีสุพรรณ ตองโขบ ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
การสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ (Local Economy) และสร้างความสมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจจากภายในสู่ภายนอก (Local to Global) อันจะส่งผลต่อการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้แก่ประเทศในระยะยาว การผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ในชุมชน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ถือเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมเพื่อเชื่อมโยงตั้งแต่การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ การใช้เทคโนโลยี และการพัฒนานวัตกรรมให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ รวมทั้ง การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ จนสามารถนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเพิ่มการลงทุนในประเทศ และผลักดันรายเดิมให้มีศักยภาพและสามารถขยายการค้าการลงทุนจากตลาดท้องถิ่น ไปสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลกได้ในที่สุด
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จังหวัดสกลนคร ได้ดำเนินการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 5 ชนิดสินค้า ได้แก่ 1) ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร 2) ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี 3) หมากเม่าสกลนคร 4) น้ำหมากเม่าสกลนคร 5) เนื้อโคขุนโพนยางคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอัตตลักษณ์โดดเด่นที่มีชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับจังหวัดสกลนคร ปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นที่รู้จักของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแรงกระตุ้นเชิงอัตลักษณ์ของจังหวัด ให้เกิดความต้องการสินค้าและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
สถานการณ์การแข่งขันทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการของจังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ SMEs / OTOP การพาณิชย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของจังหวัด การค้าเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดเป็นมูลค่ามาก ซึ่งนับวันมีความสำคัญมากขึ้น การยกระดับการค้ามีความจำเป็นที่ต้องหาตลาดใหม่ โดยใช้โอกาสการขยายตลาดหรือตัวแทนทางการค้า (Trader) ไปสู่ตลาดต่างประเทศ ถ้าหากการตลาดมียอดขายที่ลดลงหรือการค้าถดถอยไปเรื่อยๆ ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถอยู่รอดในการแข่งขันกับตลาดที่มีการแข่งขันในขณะนี้ และจะค่อยๆ หยุดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในจังหวัด ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์รวมมวลจังหวัดลดลงตามด้วย
สกลนครเป็นจังหวัดที่มากด้วยแหล่งทางศิลปวัฒนธรรมและเป็นศูนย์รวมแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนา จังหวัดสกลนครจึงมีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผสมผสานกับคำสอนทางพุทธศาสนาได้อย่างลงตัว รวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางสิ่งทอพื้นบ้านของคนในจังหวัดสกลนคร หนึ่งในสิ่งทอพื้นบ้านที่มีความงดงามและมีประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดสกลนคร ผ้าไหมย้อมคราม โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงอุปถัมภ์กิจกรรมของโครงการศิลปาชีพในจังหวัดสกลนครโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูเรื่องของภูมิปัญญาในการผลิตผ้าไหมและผ้าไทยต่าง ๆ ให้ดำรงคงอยู่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในกระบวนการผลิตและการจำหน่ายผ้าไหมส่วนใหญ่เป็นการออกแบบและผลิตจากทักษะความชำนาญ และความรู้ความเข้าใจที่สืบทอดกันมา ขาดความเข้าใจตลาด ขาดการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่เหมาะสม ทำให้สินค้าจำนวนมากมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน ขาดความคงทน มีความสูญเปล่าทางวัสดุ แรงงาน ทำให้มีต้นทุนสูง อุปทานการผลิตมากกว่าอุปสงค์ในความต้องการ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศยุทธศาสตร์จังหวัดที่สะท้อนความต้องการและศักยภาพของพื้นที่และให้อยู่บนการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม พัฒนาทักษะองค์ความรู้ของผู้ประกอบการไทย ในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ให้มีจุดเด่น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ยกระดับศักยภาพของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทยให้ก้าวไกลสู่สากล เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาฐานการผลิตใหม่ กระจายกิจกรรมเศรษฐกิจและความเจริญสู่ภูมิภาค สร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งด้านการผลิตร่วมและช่องทางการตลาดร่วมกัน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับสินค้า GI ได้อย่างสม่ำเสมอในการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน
2. เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์ รับรองสินค้า GI สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและปกป้องสิทธิ์ผู้ผลิตสินค้าชุมชนที่มีเอกลักษณ์ และคุ้มครองผู้บริโภค สร้างความเชื่อมั่น ว่าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน
3. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับสินค้า GI เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและตรงตามความต้องการตลาด
4. เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

1. ทิศทางยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ (Local Economy) และสร้างความสมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจจากภายในสู่ภายนอก (Local to Global) อันจะส่งผลต่อการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้แก่ประเทศในระยะยาว การผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ในชุมชน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ถือเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมเพื่อเชื่อมโยงตั้งแต่การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ การใช้เทคโนโลยี และการพัฒนานวัตกรรมให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ รวมทั้ง การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ จนสามารถนำไปสู่การสร้าง ผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเพิ่มการลงทุนในประเทศ และผลักดันรายเดิมให้มีศักยภาพและสามารถขยายการค้าการลงทุนจากตลาดท้องถิ่น ไปสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลกได้ในที่สุด

2. ทิศทางยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งเน้น การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศยุทธศาสตร์จังหวัดที่สะท้อนความต้องการและศักยภาพของพื้นที่และให้อยู่บนการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม พัฒนาทักษะองค์ความรู้ของผู้ประกอบการไทย ในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ให้มีจุดเด่น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ยกระดับศักยภาพของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทยให้ก้าวไกลสู่สากล เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาฐานการผลิตใหม่ กระจายกิจกรรมเศรษฐกิจและความเจริญสู่ภูมิภาค สร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งด้านการผลิตร่วมและช่องทางการตลาดร่วมกัน

3. จังหวัดสกลนคร ได้ดำเนินการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 5 ชนิดสินค้า ได้แก่ 1) ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร 2) ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี 3) หมากเม่าสกลนคร 4) น้ำหมากเม่าสกลนคร 5) เนื้อโคขุนโพนยางคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอัตตลักษณ์โดดเด่นที่มีชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับจังหวัดสกลนคร ปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นที่รู้จักของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแรงกระตุ้นเชิงอัตลักษณ์ของจังหวัด ให้เกิดความต้องการสินค้าและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การส่งเสริมนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากรังไหม
  • โครงการเพิ่มศักยภาพการค้าสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
  • ส่งเสริมการผลิตและยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้า GI
  • สินค้า GI

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

  • เรื่องราวของผ้าไหมย้อมคราม

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย musika musika เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 12:25 น.