โครงการการพัฒนาชุมชนสู่บ้านตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนาชุมชนสู่บ้านตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ นายโสภณ มูลหา
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ดร.อนันตพร พุทธัสสะ,อาจารย์นิศากร สรรพเลิศ,อาจารย์พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 มีนาคม 2560 - 23 มีนาคม 2560
งบประมาณ 48,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ยางตลาด อุ่มเม่า place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางปฏิบัติตน โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อพร้อมรับต่อความเสี่ยง บนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ ระมัดระวัง และคุณธรรม การใช้ความรู้อย่างถูกหลักวิชาการ ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการกระทำที่ไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความร่วมมือปรองดองกันในสังคม จะสร้างสายใยเชื่อมโยงคนในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้าด้วยกัน สร้างสรรค์พลังในทางบวก นำไปสู่ความสามัคคี การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน และการเตรียมพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
ในปัจจุบันในเขตบ้านโคกศรีทุ่ง หมู่ 7 ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีพื้นที่เกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก แต่เกษตรยังไม่ทราบถึงการทำการที่ถูกต้องและปลอดภัย จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนภายในเขตพื้นที่ได้ตระหนัก และเกิดการเรียนรู้ในการพึ่งพาตนเอง มีการดำเนินชีวิตให้อยู่อย่างพอประมาณตน เดินทางสายกลาง มีความพอดีและพอเพียงกับตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ โดยใช้ปัจจัยด้านพื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่ประชาชนโดยทั่วไปใช้ในการบริโภค มีส่งเสริมให้ใช้พื้นที่ว่างเปล่าในบริเวณบ้าน รั้วรอบบ้าน ปลูกพืชประเภทพืชสมุนไพร เครื่องเทศ และล้มลุกต่าง ๆ ไว้ บริโภค เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย โหระพา มะนาว มะกรูด ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว และเป็นการสร้างกิจกรรมนันทนาการ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีคุณค่า สร้างความรักสามัคคี พัฒนาความผูกพันในครอบครัวมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Thanyakon Thanyakon เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 11:21 น.