โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 กิจกรรมหลักที่ 1 อบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และร่วมกันค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชนสร้างสรรค์แนวคิดการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานสูง เพื่อยกระดับหัตถกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน

โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 กิจกรรมหลักที่ 1 อบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และร่วมกันค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชนสร้างสรรค์แนวคิดการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานสูง เพื่อยกระดับหัตถกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 กิจกรรมหลักที่ 1 อบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และร่วมกันค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชนสร้างสรรค์แนวคิดการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานสูง เพื่อยกระดับหัตถกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
หน่วยงานหลัก คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
หน่วยงานร่วม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
ชื่อชุมชน พิพิธภัณฑ์ป้าทุ้ม ป้าไท้ บ้านหนองแข้ ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย
การติดต่อ 089-712-4041 , 085-925-2825
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 1,032,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร โคกศรีสุพรรณ ตองโขบ ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ยังคงมีปัญหาพื้นฐานอีกหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากร ทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางวัฒนธรรม เนื่องจากมีความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวที่ขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตลอดจนขาดการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งความไม่ชัดเจนในการเปิดโอกาสให้ชุมชน หรือ เจ้าของพื้นที่ (Local Community) มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงเป็นระบบพี่เลี้ยง ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน อาทิ การพักโฮมสเตย์ การเรียนทำอาหารท้องถิ่น การศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558) ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนในท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และผู้ประกอบการ ตลอดจนสถาบันการศึกษาขั้นสูงในประเทศไทยต้องปรับตัวในการทำงานร่วมกันภายใต้รูปแบบภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นสำคัญ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จังหวัดสกลนครถือเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าย้อมสีธรรมชาติ เนื่องจากสกลนครเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงกลายเป็นแหล่งรังไหม แหล่งปลูกคราม ที่นำมาสร้างสรรค์งานทอผ้าได้อย่าง งดงาม และสืบสานเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวสกลนครสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง “ผ้าไหมสกลนคร” ถือเป็นแหล่งผ้าไหมที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศเพราะมีทรัพยากรที่เหมาะแก่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมถือเป็นรังไหมของอีสาน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ผลิตจำนวนมากได้รับการการพัฒนาจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จนกลายเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ และ “ผ้าย้อมคราม” เป็นผ้าฝ้ายย้อมครามสีธรรมชาติที่ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) และเป็นที่นิยมตามกระแสโลกในเรื่องสินค้าที่เป็นมิตรกับร่างกายและสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันผ้าครามสกลนครเป็นที่รู้จักในระดับประเทศและอาเซียน ผู้สนใจจากทั่วโลกหันมาสนใจผ้าครามจากสกลนครมากขึ้น และเริ่มตามรอยผ้าครามมาดูแหล่งผลิตที่สกลนครมากขึ้น ดังนั้น หากนำไหมมาย้อมครามจะถือเป็นการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่น (ประเภทผ้า) ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งจะเป็นจุดขาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครและสามารถสร้างเรื่องราว (Story) ให้น่าสนใจในทางการตลาด และจะทำให้ผ้าไหมย้อมครามของสกลนครเป็นผ้าระดับพรีเมี่ยมได้ เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพงและการย้อมครามก็เป็นการย้อมสีธรรมชาติที่มีต้นทุนในการย้อมพอสมควร และหากพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมย้อมครามสู่แฟชั่นร่วมสมัยจะทำให้ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดสกลนครมีความโดดเด่นทรงคุณค่าเกิดผลิตภัณฑ์และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัดสกลนคร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัจจุบันกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ยังขาดศูนย์การเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยว และเป็นศูนย์เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอหัตถกรรมย้อมคราม ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งส่งเสริมและพัฒนาองค์ประกอบด้านบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งประกอบด้วยความรู้และประสบการณ์อย่างแท้จริง ในการให้บริการบรรยายนำชมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานคุณภาพของการท่องเที่ยวให้มีความพร้อม โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อภารกิจในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ปัจจุบันการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวกำลังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ และได้รับการสนับสนุนจากเอกชนหลายๆฝ่ายเนื่องจากการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันช่วยให้เกิดการสร้างรายได้และอาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยสมาชิกของชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และจัดการบริหารพื้นที่ในชุมชน ซึ่งการที่จะสร้างแหล่งท่องเที่ยวตามหลักการข้างต้นได้นั้นจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดกับชุมชนโดยใช้การจัดการด้วยระบบการจัดการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แนวทางสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยใช้ระบบการจัดการการท่องเที่ยว คือ การสร้างวงกลมของการบริหารที่ดีด้วยการใช้ PDCA เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการแผนการท่องเที่ยวของชุมชน ร่วมกับการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จโดยการควบคุมกระบวนการผลิตแบบครบวงจรคือ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชนด้วยการใช้หลักการขยะเป็นศูนย์ (zero waste) เข้ามาร่วมปัจจุบันแนวทางในการบริหารจัดการรูปแบบนี้เป็นแนวทางแบบประยุกต์ซึ่งยังไม่มีการนำไปใช้จริง ซึ่งทางคณะผู้วิจัยมุ่งหวังที่จะสร้างต้นแบบการท่องเที่ยวด้วยระบบการจัดการการท่องเที่ยวด้านศูนย์เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอหัตถกรรม เพื่อการขยายฐานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากวัตถุดิบภาคการเกษตรที่มีชื่อของแต่ละพื้นถิ่น

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

โครงการมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1. พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นศูนย์การเรียนรู้และการจัดการท่องเที่ยวให้เกิดการบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์จากภูมิปัญญาสิ่งทอพื้นถิ่นเพื่อให้เกิดการบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้นวัตกรรม ตามอัตลักษณ์ของชุมชน ให้กับสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้ตรงตามความต้องการตลาด
4. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตสิ่งทอ และการเชื่อมโยงความรู้ทางอัตลักษณ์ในท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ให้แก่ชุมชน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

1. ที่มา
การท่องเที่ยวเป็นรากฐานสำคัญและยังประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในการทำธุรกิจในประเทศไทย และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยลงทุนในธุรกิจภาคบริการมากขึ้น ห่วงโซ่ อุปทานการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ผนวกกับรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น เป็นแรงผลักดันให้เกิดอุปสงค์ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวเป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก (World Tourism Organization : UNWTO Tourism Highlights. 2014) จากข้อมูลสรุปมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP เฉพาะสาขาการท่องเที่ยวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคบริการ มีสัดส่วนมากกว่าภาคการผลิตอื่นๆ หรือมากกว่าร้อยละ 50 ของ GDP ทั้งประเทศสอดคล้องกับรายงานสรุปสถานการณ์การท่องเที่ยวในปี 2559 ที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้มากกว่า 2.59 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากที่ตั้งเป้าไว้ 2.4 ล้านล้านบาท (ผู้จัดการออนไลน์. 2559) เป็นไปตามรายงานขององค์การการท่องเที่ยวโลก World Tourism Organization : UNWTO) นอกจากนี้ ในปี 2559 ตามสถิติการสรุปรายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศ บ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก พร้อมกับชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อเนื่องในมิติเชิงเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีชุมชนหรือพื้นที่ที่มีการทำอุตสาหกรรมหลักเพียงอย่างเดียว อาจร่วมมือกันในชุมชนเพื่อสร้างหมู่บ้านโฮมสเตย์ สะท้อนชีวิต คนในชุมชนท้องถิ่นให้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ หรือในช่วงที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หรือไม่สามารถทำการเกษตรได้ตามฤดูกาล เกษตรกรสามารถประยุกต์แนวทางการทำการเกษตรเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน (COMMUNITY-BASED SUSTAINABLE TOURISM : CBT) (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจพร้อมกับช่วยสร้างงานทั้งในภาคการท่องเที่ยวการบริการ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องในชุมชน ตลอดจนในส่วนภูมิภาคมวลรวมของประเทศ ตลอดจนคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน และชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิในการจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน โดยมุ่งครอบคลุม 5 ด้าน พร้อมกันทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนในการจัดการ (วีระพล ทองมา. 2560) ซึ่งในปัจจุบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) กำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวและมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ เช่น บ้านภูโฮมสเตย์จังหวัดมุกดาหาร โฮมสเตย์บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม โฮมสเตย์บ้านท่าวัดใต้ จังหวัดสกลนคร วังน้ำมอกโฮมสเตย์ จังหวัดหนองคาย เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่เกิดแก่ชุมชนคือการพัฒนาที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งชุมชนจะเป็นผู้จัดการในกรรมสิทธิ์ของชุมชน (HOST) และเป็นผู้กำหนดเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อสารกับนักท่องเที่ยว ซึ่งความสัมพันธ์ทั้งหมดจะขับเคลื่อนอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาคนในชุมชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของถิ่นอาศัย ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองซึ่งสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างรายได้อย่างทั่วถึงโดยที่ชุมชนเป็นผู้จัดการดูแล ในทางเดียวกันการนำเสนอวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติแก่นักท่องเที่ยว ส่งผลให้คนในชุมชนรู้จักอนุรักษ์ หวงแหนทรัพยากรและวัฒนธรรมไม่ให้สูญหายตามกาลเวลา นำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตอันใกล้ ของความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน ธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเป็นจุดเด่นในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดและประเทศไทย (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558) ตลอดจนระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และเชื่อมโยงต่อยอดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างลึกซึ้งในประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้ (Responsible Tourism in GMS. 2017)
ถึงแม้ว่าการนำการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ยังคงมีปัญหาพื้นฐานอีกหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากร ทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางวัฒนธรรม เนื่องจากมีความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวที่ขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตลอดจนขาดการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งความไม่ชัดเจนในการเปิดโอกาสให้ชุมชน หรือ เจ้าของพื้นที่ (Local Community) มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงเป็นระบบพี่เลี้ยง ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน อาทิ การพักโฮมสเตย์ การเรียนทำอาหารท้องถิ่น การศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558) ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนในท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และผู้ประกอบการ ตลอดจนสถาบันการศึกษาขั้นสูงในประเทศไทยต้องปรับตัวในการทำงานร่วมกันภายใต้รูปแบบภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นสำคัญ
จังหวัดสกลนครถือเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าย้อมสีธรรมชาติ เนื่องจากสกลนครเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงกลายเป็นแหล่งรังไหม แหล่งปลูกคราม ที่นำมาสร้างสรรค์งานทอผ้าได้อย่างงดงาม และสืบสานเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวสกลนครสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง “ผ้าไหม สกลนคร” ถือเป็นแหล่งผ้าไหมที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศเพราะมีทรัพยากรที่เหมาะแก่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ถือเป็นรังไหมของอีสาน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ผลิตจำนวนมากได้รับการการพัฒนาจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จนกลายเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ และ “ผ้าย้อมคราม” เป็นผ้าฝ้ายย้อมครามสีธรรมชาติที่ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) และเป็นที่นิยมตามกระแสโลกในเรื่องสินค้าที่เป็นมิตรกับร่างกายและสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันผ้าครามสกลนครเป็นที่รู้จักในระดับประเทศและอาเซียน ผู้สนใจจากทั่วโลกหันมาสนใจผ้าครามจากสกลนครมากขึ้น และเริ่มตามรอยผ้าครามมาดูแหล่งผลิตที่สกลนครมากขึ้น ดังนั้น หากนำไหมมาย้อมครามจะถือเป็นการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่น (ประเภทผ้า) ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งจะเป็นจุดขาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และสามารถสร้างเรื่องราว (Story) ให้น่าสนใจในทางการตลาด และจะทำให้ผ้าไหมย้อมครามของสกลนครเป็นผ้าระดับพรีเมี่ยมได้ เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพงและการย้อมครามก็เป็นการย้อมสีธรรมชาติที่มีต้นทุนในการย้อมพอสมควร และหากพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมย้อมครามสู่แฟชั่นร่วมสมัย จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดสกลนครมีความโดดเด่นทรงคุณค่า เกิดผลิตภัณฑ์และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัดสกลนคร
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพ และการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าสินค้าผ้าไหมย้อมครามของสกลนคร สร้างแรงกระตุ้นเชิงอัตลักษณ์ของจังหวัด ให้เกิดความต้องการสินค้าและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างงาน สร้างรายได้เพิ่มให้กับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนและท้องถิ่นอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

2. สรุปสาระสำคัญ
ปัจจุบันการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวกำลังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ และได้รับการสนับสนุนจากเอกชนหลายๆฝ่ายเนื่องจากการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันช่วยให้เกิดการสร้างรายได้และอาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยสมาชิกของชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และจัดการบริหารพื้นที่ในชุมชน ซึ่งการที่จะสร้างแหล่งท่องเที่ยวตามหลักการข้างต้นได้นั้นจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดกับชุมชนโดยใช้การจัดการด้วยระบบการจัดการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แนวทางสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยใช้ระบบการจัดการการท่องเที่ยว คือ การสร้างวงกลมของการบริหารที่ดีด้วยการใช้ PDCA เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการแผนการท่องเที่ยวของชุมชน ร่วมกับการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จโดยการควบคุมกระบวนการผลิตแบบครบวงจรคือ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชนด้วยการใช้หลักการขยะเป็นศูนย์ (zero waste) เข้ามาร่วมปัจจุบันแนวทางในการบริหารจัดการรูปแบบนี้เป็นแนวทางแบบประยุกต์ซึ่งยังไม่มีการนำไปใช้จริง ซึ่งทางคณะผู้วิจัยมุ่งหวังที่จะสร้างต้นแบบการท่องเที่ยวด้วยระบบการจัดการการท่องเที่ยวด้านศูนย์เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอหัตถกรรม เพื่อการขยายฐานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากวัตถุดิบภาคการเกษตรที่มีชื่อของแต่ละพื้นถิ่น โดยในโครงการจะจัดทำแผนบูรณาการ 3 ปี ซึ่งเน้นด้านสิ่งทอหัตถกรรม โดยปี 2563 จะเน้นเรื่องเส้นทางสายครามที่ขึ้นชื่อ จ. สกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งปลูกครามและขึ้นชื่อการย้อมผ้าคราม โดยครามเป็นพืชตระกูลถั่ว ที่ปลูกดั้งเดิมบนที่ราบสูงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้เพราะชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ดังกล่าวมีวัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่มใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นหลักทำให้มีการใช้ครามกันมากับกลุ่มพื้นเมืองเหล่านี้จนประทั่งประมาณปี 2535 จังหวัดสกลนครเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ฟื้นฟูและบำรุงผ้าฝ้ายย้อมครามจากต้นตอของภูมิปัญญาที่ถูกกลบไว้ด้วยวัฒนธรรมชนบทสมัยใหม่ 10 ปีต่อมาจึงมีงานวิจัยเผยแพร่รองรับทำให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง สร้างความภูมิใจแก่คนสกลนคร ซึ่งพื้นที่ปลูกคราม ทำครามและย้อมคราม กลายเป็นศูนย์เรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวให้ขาวไทยและต่างชาติ นิยมมาพัก ท่องเที่ยว ซึ่งทำให้เกิดเส้นทางย้อมครามที่น่าสนใจผนวกกับแหล่งวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเดิมของ จ. สกลนคร จึงทำให้โครงการฯ มีความสนใจในการจัดทำศูนย์การเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวและเป็นศูนย์เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอหัตถกรรมย้อมคราม เพื่อการขยายฐานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและกิจกรรมเพื่อสร้างอาชีพและวิธีวัฒนธรรม

3. ความเร่งด่วน
สภาพปัญหาที่สำคัญ คือ ปัจจุบันกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๒ ยังขาดศูนย์การเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวและเป็นศูนย์เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอหัตถกรรมย้อมคราม ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งส่งเสริมและพัฒนาองค์ประกอบด้านบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งประกอบด้วยความรู้และประสบการณ์อย่างแท้จริงในการให้บริการบรรยายนำชมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานคุณภาพของการท่องเที่ยวให้มีความพร้อม โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อภารกิจในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ยกระดับหัตถกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

  • เรื่องราวของผ้าไหมย้อมคราม

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย musika musika เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 10:38 น.