ผลิตภัณฑ์กระเป๋าแปรรูปจากเสื่อกก บ้านห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผลิตภัณฑ์กระเป๋าแปรรูปจากเสื่อกก บ้านห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ ผลิตภัณฑ์กระเป๋าแปรรูปจากเสื่อกก บ้านห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาการจัดการ
หน่วยงานร่วม สาขาการจัดการทั่วไป
ชื่อชุมชน บ้านห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.วฤธรณ์ ตุลย์ณวัฒน์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ธนพล หอนงาม
กิตติพัฒน์ สุทัศน์ ณ อยุธยา
ณัฐพงศ์ ภักวาปี
พชร คงทัน
เอกพงษ์ ศรีสอนดี
การติดต่อ 0894221212
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 เมษายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
อุดรธานี กุมภวาปี ห้วยเกิ้ง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
กลุ่มทอเสื่อกก เป็นผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชนโดยมีการสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อใช้ในครอบครัว โดยจะผลิตในช่วงที่ว่างจากการประกอบอาชีพ เช่นการทำนา ทำไร่โดยชาวบ้านจะปลูกต้นกกไว้ในบริเวณ สวน ใกล้บ้าน หรือบริเวณ ที่นาของตนเอง เมื่อต้นกก มีความยาวตามต้องการชาวบ้าน จะตัดเพื่อนำมาสอยเป็นเส้นๆแล้วนำไปตากแดดให้แห้งแล้วย้อมสี แล้วจึงนำไปทอตามลวดลายที่แต่ละคนจะออกแบบเพื่อให้เกิดความสวยงาม ซึ่งกลุ่มแม่บ้าน บ้านหินตั้ง นำโดย นางไร้ สุนา ได้มองเห็นว่าในหมู่บ้านมีชาวบ้านที่ปลูกต้นกกไว้เป็นจำนวนมาก จึงได้รวมกลุ่มกันขึ้นในปี พ.ศ. 2541 เพื่อช่วยกันพัฒนารูปแบบของเสื่อกกให้มีความทันสมัยสวยงามเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิก 35 ราย
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- ลวดลายของเสื่อกกมีหลากหลายแบบตามความชอบของลูกค้า
- สีสัน ลวดลาย ยังคงมีความเป็นภูมิปัญญา
- กระเป๋ามีความแข็งแรงทนทาน ใช้ระยะยาวได้
- ผลิตภัณฑ์เป็นสินค้า OTOP จึงสามารถออกขายตามงาน OTOP ได้
- มีช่องทางการจัดจำหน่าย จากลูกค้าของผู้ประกอบการ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
- การซ่อมแซมกระเป๋าทำได้ยาก ไม่สามารถทำด้วยตนเองได้
- รูปทรงและลวดลาย มีความโบราณ ไม่เหมาะกับกลุ่มวัยรุ่น
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
1. การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่
ผลิตภัณฑ์กระเป๋าแปรรูปจากเสื่อกก ในท้องตลาดมีค่อนข้างน้อยเนื่องจากปัจจุบันมีผู้ประกอบการการผลิตกระเป๋าที่ทำจากวัสดุหนังเทียมมากกว่า จึงทำให้กระเป๋าแปรรูปจากเสื่อกกมีคู่แข่งขันปัจจุบันน้อย
2. การต่อรองของลูกค้า
กระเป๋าแปรรูปจากเสื่อกก มีความทันสมัยแต่ยังมีความภูมิปัญญาปนอยู่ จึงทำให้ลูกค้าที่มีความสนใจในรูปแบบกระเป๋า ลวดลายของเสื่อกก เกิดความต้องการได้
3. สินค้าทดแทน
กระเป๋าแปรรูปจากเสื่อกก เป็นกระเป๋าที่มีการเอาเสื่อกก มีเพิ่มเติมใส่กระเป๋า จะมีสินค้าทดแทนคือ กระเป๋าแปรรูปจากผ้าไหม กระเป๋าแปรรูปผ้าขาวม้า กระเป๋าแปรรูปผ้ามัดหมี่ เป็นต้น ซึ่งสินค้าทดแทนทั้ง 3 ชนิด ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น
4. ช่องทางผู้จัดหาวัตถุดิบ
เนื่องจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบมีหลายราย จึงทำให้อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบต่ำ เพราะผู้ประกอบการสามารถเลือกหาวัตถุดิบได้จากผู้จำหน่ายวัตถุดิบได้หลายราย โดยผู้ประการจึงไม่จำเป็นต้องต่อรองและรอวัตถุดิบจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบเพียงรายเดียว

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

- วิเคราะห์ สภาพแวดล้อม ภายนอก ภายใน SWOT
- วิเคราะห์สภาพการแข่งขัน 5 Force
- ส่วนประสมทางการตลาด 4P
-วิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
- ออกแบบผลิตภัณฑ์
- การสอบถามความชอบของผลิตภัณฑ์

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือเรียกว่า OTOP (โอทอป) เป็นโครงการกระตุ้นธุรกิจประกอบการท้องถิ่น โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์เสื่อที่ผลิตจากต้นกก ที่ผลิตจากกลุ่มแม่บ้าน บ้านทรายทอง และจัดจำหน่ายในท้องถิ่น โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ที่ประสบความสำเร็จของญี่ปุ่น โครงการโอทอปกระตุ้นให้กลุ่มแม่บ้านพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เสื่อให้มีความทันสมัยเสื่อให้มีความทันสมัย
การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูรองนั่งหรือนอน เสื่อกก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วไป และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต ที่บ้านทรายทอง หมู่ที่ 9 ตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีคือหมู่บ้านนึ่งที่มีการสืบสานภูมิปัญญาทางด้านการทอเสื่อกกนี้มายาวนาน จนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อื่นเข้ามาทดแทนการใช้เสื่อกกมากมายให้เลือก นับตั้งแต่เสื่อน้ำมัน พรม กระเบื้องปูพื้น และอื่นๆ ทำให้กระแสความนิยมในการใช้เสื่อกกลดลงและคนรุ่นจึงไม่ค่อยมีความสนในในการทอเสื่อกกมากนัก เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาของท้องถิ่น ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มทอเสื่อกกขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นมิให้สูญหายไปกับกาลเวลา และ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์การทอเสื่อกก ให้คงอยู่คู่กับชุมชน อย่างเข้มแข็ง ยืนหยัด
เพราะเหตุนี้จึงทำให้ให้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาในด้านพัฒนาสินค้าจากเสื่อกกและมองหาโอกาสเพื่อหาช่องทางการจัดจำหน่าย โดยทำการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แบบสมัยใหม่ เพิ่มสีสันของเสื่อให้ดูน่าสนใจมากขึ้น และใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมาปรับใช้ คือ สร้างแบรนด์ให้กับสินค้า สร้างจุดเด่นให้สินค้าแล้วนำจุดเด่นของสินค้า เพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่ชุมชนได้
จากปัญหา ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัย นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าแปรรูป การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มบริโภค โดยใช้ต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 10:11 น.