โครงการ การส่งเสริมและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการ การส่งเสริมและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานหลัก สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ม.ทักษิณ
หน่วยงานร่วม 1.เทศบาลตำบลลานข่อย 2.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชื่อชุมชน เทศบาลตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ อ.ดร.สุนิสา คงประสิทธิ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ม.ทักษิณ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อ.ดร. พีรนาฏ คิดดี
การติดต่อ 074693992
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 100,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ป่าพะยอม ลานข่อย place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตำบลลานข่อย แบ่งเขตการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 2,086 ครัวเรือน คิดเป็น 7,122 คน แยกเป็น ชาย 3,567 คน หญิง 3,555 คน เนื้อที่ประมาณ 37,344 ไร่ คิดเป็น 59.75 ตารางกิโลเมตร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การจัดการขยะ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่มีความพยายามในการแก้ปัญหาเรื่องมูลฝอยในชุมชน เทศบาลตำบลลานข่อย แบ่งเขตการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 2,086 ครัวเรือน คิดเป็น 7,122 คน แยกเป็น ชาย 3,567 คน หญิง 3,555 คน เนื้อที่ประมาณ 37,344 ไร่ คิดเป็น 59.75 ตารางกิโลเมตร ตำบลลานข่อยเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดพัทลุงที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างจังหวัดให้เข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันมี สถานประกอบการประเภทโรงแรมและที่พัก ที่ก่อสร้างเสร็จแล้วจำนวน 23 แห่ง คือ ล่องแก่งหนานมดแดง ล่องแก่งหนานท่าส้าน ล่องแก่งชายคลองรีเวอร์ไซด์ ล่องแก่งลานข่อย ล่องแก่งวังไม้ไผ่ ล่องแก่งระฆังทอง ล่องแก่งลุงทันโฮมสเตย์ ล่องแก่งชมดาว ล่องแก่งวังชมพู่ ล่องแก่งนายพล&รีสอร์ท ล่องแก่งหนานชุมพล บ้านพักธาราริน ป่าพะยอมรีสอร์ท สบายดีรีสอร์ท บ้านนายรีสอร์ท แม็คโฮมสเตย์ บ้านบ้านโฮมสเตย์ ริมห้วยรีสอร์ท บ้านพักริมน้ำ บ้านพักริมน้ำ1 บ้านพักริมน้ำ 2 บ้านกลางสวนล่องแก่ง กู๊ดลัคการ์เด้น โดยรายละเอียดแต่ละโรงแรมและสถานประกอบการท่องเที่ยวมีดังนี้ แต่ประเด็นปัญหาที่ทางเทศบาลเป็นกังวลในเรื่องความยั่งยืนของชุมชน คือปริมาณมูลฝอยที่มีปริมาณมาก และการที่ชุมชน สถานประกอบการ และบุคลากรการท่องเที่ยวขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชนหรือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(เทศบาลตำบลลานข่อย, 2558) เทศบาลตำบลลานข่อย (2558) มีการกำหนดเป้าในการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในแผนพัฒนา 3 ปี (2559-2561) เทศบาลตำบลลานข่อย โดยเทศบาลลานข่อยมุ่งเน้นในเรื่องการจัดการขยะ ขณะนี้มีการดำเนินการก่อสร้างระบบการเผาขยะชุมชนไร้มลพิษ ขนาด 500 กิโลกรัมต่อชั่วโมง แล้วเสร็จและเปิดดำเนินการตั้งแต่เดือน กันยายน 2557 เพื่อกำจัดขยะทั้งหมดในชุมชน ปัจจุบันเทศบาลตำบลลานข่อยมีปริมาณขยะประมาณวันละ 800 กิโลกรัม โดยปริมาณขยะดังกล่าวยังไม่ได้นับรวมปริมาณจากชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะมูลฝอยที่เกิดจากสถานประกอบการประเภทโรงแรมและที่พัก แต่ประเด็นปัญหาที่ทางเทศบาลประสบอยู่คือปัญหาการขาดความร่วมมือในการคัดแยกขยะจากสถานประกอบการดังกล่าว ขยะที่เก็บขนได้ เป็นขยะรวมที่ไม่มีการคัดแยก เมื่อนำมาเผาทำลายต้องใช้พลังงานสูง ส่งผลต่อต้นทุนเชื้อเพลิงในการเผามูลฝอย และการบริหารจัดการของเทศบาล (เสนอ รอดเรืองฤทธิ์, 2558) การมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการคัดแยกขยะจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนเทศบาลลานข่อย เพื่อให้การดำเนินงานด้านการจัดการขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เทศบาลลานข่อยมีความจำเป็นที่จะต้องทราบปัจจัยที่จะส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของสถานประกอบการและเทศบาลลานข่อย หากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีปัญหาในการบริหารจัดการ มีขยะตกค้างในชุมชน อาจจะเป็นประเด็นปัญหากระทบธุรกิจการท่องเที่ยวของชุมชนในอนาคตได้
โดยจากการประชุมหารือระหว่างเทศบาลลานข่อย ชมรมล่องแก่งลานข่อย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559


พบว่าชุมชนมีความคาดหวังให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือในหลายๆ ประเด็น คือ
1. การไม่แยกขยะ ทิ้งขยะรวมในถังเดียวกัน
2. ถึงแม้ว่าบางสถานประกอบการมีการแยกขยะที่ต้นทาง พนักงานเก็บขนขยะ ไม่แยกขยะในขณะเก็บขน
3. พนักงานในสถานประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะ
4. ควรปลูกฝังการคัดแยกขยะในโรงเรียน โดยให้เทศบาลจัดสรรบประมาณเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการขยะแก่ครูและนักเรียน

จากการที่เทศบาลลานข่อยขาดการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ การบริการวิชาการในครั้งนี้ต้องการ พัฒนาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการโรงแรมและที่พัก โรงเรียนและชุมชน ในการจัดการมูลฝอย การคัดแยกขยะ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนลานข่อย เพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนทั้งในส่วนของ การบริหารจัดการ การท่องเที่ยว และ เศรษฐกิจชุมชนต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การจัดการขยะ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 18:46 น.