แนวทางการบริหารจัดการขยะครัวเรือนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : บ้านหัวงัว ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

แนวทางการบริหารจัดการขยะครัวเรือนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : บ้านหัวงัว ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ แนวทางการบริหารจัดการขยะครัวเรือนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : บ้านหัวงัว ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
หน่วยงานร่วม 1.องค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด 2. สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อชุมชน หัวงัว
ชื่อผู้รับผิดชอบ 1.นายวันพิชิต เบ็งจีน 2.นางสาวนวรรณ สืบสายลา 3.นายภาณุพงษ์ ศรีมุงคุล 4.นายนราธิป สุพัฒน์ธนานนท์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 182/12 หมู่ 4 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำกเภอเมือง จังหวัดขอนเเก่น 40000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1.นางสาวปัทมาวัน คุ้มภัย 2.นายพรรษกร ไชยเทศ 3.กนกวรรณ พันธุนิบาตร 4.นายสายฟ้า ภักดีดำรงรัตน์
5.นายสุรพล บุญรัตน์














การติดต่อ 0830437248
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ place directions
กาฬสินธุ์ ยางตลาด ยางตลาด ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านหัวงัวมีทั้งหมด 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8 ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 46120 โดยมีประชากรมากถึง 1,200 คน อาชีพหลักของคนในพื้นที่คือทำนา และอาชีพเสริมคือ เลี้ยงสัตว์
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีที่ดินเและที่ทำกินเป็นของตนเอง ซึ่งใช้ประกอบอาชีพหลักคือการทำนา และอาชีพเสริมคือการเลี้ยงสัตว์
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ประชาชนในหมู่บ้านต้องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนพร้อมทั้งสามารถสร้างรายได้จากการบริหารจัดการขยะมูลฝอย

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1.การคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์
2. การจัดการขยะรีไซเคิล
3.การจัดการถุงพลาสติก
4.การจัดการปุ๋ยหมักจากขยะมูลฝอย
5.การจัดการขยะอันตราย
6. การจัดตั้งธนาคารขยะ

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งในชุมชนต่างๆ จากการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2561 พบว่ามีจำนวน 27.8 ล้านตัน หรือวันละ 76,165 ตัน หรือคิดเป็น 1.15 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน แนวโน้มว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกๆปี เนื่องจากสภาพทางสังคม และเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการบริโภคในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างๆจะมีปริมาณขยะมูลฝอยมากกว่าชุมชนทั่วไปเป็นเท่าตัว กล่าวคือปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยในชุมชนทั่วไปจะมีอัตราเฉลี่ยเท่ากับ 0.9 – 1.2 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ในขณะที่พื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น เมืองพัทยา เมืองภูเก็ต พบว่ามีอัตราการเกิดขยะเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 เท่าต่อคนต่อวัน (หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่39 ฉบับ3456 ,2562)
บ้านหัวงัว ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ พบปัญหาเกี่ยวกับขยะมูลฝอยภายในหมู่บ้านส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ชุมชน และที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เนื่องจากวิธีการบริหารจัดการการกำจัดขยะของบ้านหัวงัว ตำบลยางตลาด ใช้วิธีการเผา ฝังกลบบริเวณในพื้นที่บ้านเรือนของตนเอง และการนำขยะมูลฝอยไปทิ้งตามพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้านทำให้มีปริมาณขยะมูลฝอยสะสมเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศ ทางกลิ่น และเกิดความสกปรก ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงจำเป็นต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะมูลฝอย สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องนำไปกำจัดให้น้อยที่สุด สามารถนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ ทั้งในส่วนของการใช้ซ้ำและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าหากประชาชนสามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยลงได้จะส่งผลให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี สุขภาพอนามัยของประชาชนมีสุขภาพที่ดี สภาพภูมิทัศน์มีความสวยงาม รวมถึงได้ประโยชน์จากการคัดแยกขยะมูลฝอยนำไปขายเป็นการเพิ่มรายได้ในครอบครัว และการนำกลับมาใช้ใหม่ทำให้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย และประชาชนได้ทราบถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย พร้อมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดและแยกขยะมูลฝอยอย่างเป็นรูปธรรม (สานักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุทัยธานี, 2555)
ดังนั้นโครงงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนโดยใช้องค์ความรู้เกี่ยวการคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ การจัดการขยะมูลฝอยรีไซเคิล การจัดการถุงพลาสติก การจัดการขยะมูลฝอยอันตราย เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและมีส่วนในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ขยะครัวเรือน
  • ธนาคารขยะ
  • ยั่งยืน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย wanpichit.ba wanpichit.ba เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 17:11 น.