โครงการเพิ่มศักยภาพทางการค้าผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมจังหวัดสกลนครสู่สากล

โครงการเพิ่มศักยภาพทางการค้าผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมจังหวัดสกลนครสู่สากล

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มศักยภาพทางการค้าผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมจังหวัดสกลนครสู่สากล
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
หน่วยงานหลัก คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
หน่วยงานร่วม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
ชื่อชุมชน พิพิธภัณฑ์ป้าทุ้ม ป้าไท้ บ้านหนองแข้ ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
การติดต่อ 089-712-4041 , 085-925-2825
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 996,480.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร โคกศรีสุพรรณ ตองโขบ ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดสกลนครถือเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าย้อมสีธรรมชาติ เนื่องจากสกลนครเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงกลายเป็นแหล่งรังไหม แหล่งปลูกคราม ที่นำมาสร้างสรรค์งานทอผ้าได้อย่างงดงาม และสืบสานเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวสกลนครสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง “ผ้าไหม สกลนคร” ถือเป็นแหล่งผ้าไหมที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศเพราะมีทรัพยากรที่เหมาะแก่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ถือเป็นรังไหมของอีสาน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ผลิตจำนวนมากได้รับการการพัฒนาจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จนกลายเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ และ “ผ้าย้อมคราม” เป็นผ้าฝ้ายย้อมครามสีธรรมชาติที่ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) และเป็นที่นิยมตามกระแสโลกในเรื่องสินค้าที่เป็นมิตรกับร่างกายและสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันผ้าครามสกลนครเป็นที่รู้จักในระดับประเทศและอาเซียน ผู้สนใจจากทั่วโลกหันมาสนใจผ้าครามจากสกลนครมากขึ้น และเริ่มตามรอยผ้าครามมาดูแหล่งผลิตที่สกลนครมากขึ้น ดังนั้น หากนำไหมมาย้อมครามจะถือเป็นการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่น (ประเภทผ้า) ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งจะเป็นจุดขาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และสามารถสร้างเรื่องราว (Story) ให้น่าสนใจในทางการตลาด และจะทำให้ผ้าไหมย้อมครามของสกลนครเป็นผ้าระดับพรีเมี่ยมได้ เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพงและการย้อมครามก็เป็นการย้อมสีธรรมชาติที่มีต้นทุนในการย้อมพอสมควร และหากพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมย้อมครามสู่แฟชั่นร่วมสมัย จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดสกลนครมีความโดดเด่นทรงคุณค่า เกิดผลิตภัณฑ์และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัดสกลนคร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่มีผลิตผลทางการเกษตรที่ต่อยอดมาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมีความเป็นอัตลักษณ์ไม่เหมือนใคร อาทิ ผ้าย้อมคราม น้ำเม่า ข้าวฮาง ฯลฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ได้รับตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แสดงถึงความเป็นสุดยอดผลิตผลทางการเกษตร อีกทั้งมีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าย้อมคราม และผ้าย้อมสีธรรมชาติ ที่มีการผลิตครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกอำเภอในจังหวัดสกลนคร และเพื่อพัฒนาผ้าไหมไทยพื้นบ้านในจังหวัดสกลนครให้มีความร่วมสมัยและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมกันนี้การย้อมไหมด้วยครามซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทำให้ไหมสกลนครมีความโดดเด่นและเป็นที่สนใจในตลาดโลก และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการในจังหวัดสกลนคร และคงความเป็นอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดสกลนคร จึงต้องมีการต่อยอด บูรณาการ และผสมผสานไหมและครามให้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนและเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาเด่นของจังหวัดสกลนครได้อย่างยั่งยืน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
สถานการณ์การแข่งขันทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการของจังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ SMEs / OTOP การพาณิชย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของจังหวัด การค้าเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดเป็นมูลค่ามาก ซึ่งนับวันมีความสำคัญมากขึ้น การยกระดับการค้ามีความจำเป็นที่ต้องหาตลาดใหม่ โดยใช้โอกาสการขยายตลาดหรือตัวแทนทางการค้า (Trader) ไปสู่ตลาดต่างประเทศ ถ้าหากการตลาดมียอดขายที่ลดลงหรือการค้าถดถอยไปเรื่อยๆ ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถอยู่รอดในการแข่งขันกับตลาดที่มีการแข่งขันในขณะนี้ และจะค่อยๆ หยุดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในจังหวัด ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์รวมมวลจังหวัดลดลงตามด้วย
สกลนครเป็นจังหวัดที่มากด้วยแหล่งทางศิลปวัฒนธรรมและเป็นศูนย์รวมแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนา จังหวัดสกลนครจึงมีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผสมผสานกับคำสอนทางพุทธศาสนาได้อย่างลงตัว รวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางสิ่งทอพื้นบ้านของคนในจังหวัดสกลนคร หนึ่งในสิ่งทอพื้นบ้านที่มีความงดงามและมีประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดสกลนคร ผ้าไหมย้อมคราม โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงอุปถัมภ์กิจกรรมของโครงการศิลปาชีพในจังหวัดสกลนครโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูเรื่องของภูมิปัญญาในการผลิตผ้าไหมและผ้าไทยต่าง ๆ ให้ดำรงคงอยู่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในกระบวนการผลิตและการจำหน่ายผ้าไหมส่วนใหญ่เป็นการออกแบบและผลิตจากทักษะความชำนาญ และความรู้ความเข้าใจที่สืบทอดกันมา ขาดความเข้าใจตลาด ขาดการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่เหมาะสม ทำให้สินค้าจำนวนมากมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน ขาดความคงทน มีความสูญเปล่าทางวัสดุ แรงงาน ทำให้มีต้นทุนสูง อุปทานการผลิตมากกว่าอุปสงค์ในความต้องการ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ผ้าไหมไทยและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยนับเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมยุทธศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้มีความสามารถในการแข่งขัน โดยการนำความรู้จากการศึกษาวิจัยมาขยายผลให้แก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ผลิต ผู้ประกอบการยังประสบปัญหาการขาดความเชี่ยวชาญในการออกแบบของสินค้า ขาดทักษะความชำนาญในการคิดสร้างสรรค์ / นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เป็นที่ดึงดูดใจของผู้ซื้อ ไม่มีจุดขายสินค้า สินค้ายังเป็นลักษณะคล้ายคลึงกัน ทำให้มีการแข่งขันภายในกลุ่มประเภทสินค้าเดียวกันจำเป็นต้องหาจุดยืนของสินค้า หรือความเป็นเอกลักษณ์ให้แตกต่างกัน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและขายสินค้าได้มากขึ้น และที่สำคัญคือ “ไหมสกลนคร” กำลังจะเลือนหายไป ควรอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูผ้าไหมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยนำมาผสมผสานกับคราม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดสกลนครถือเป็นภูมิปัญญาที่ล้ำค่าที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน จึงควรที่จะอนุรักษ์ต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์เด่นคู่กันของจังหวัดสกลนครต่อไป

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

โครงการมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมผลิตผ้าไหมย้อมคราม เทคนิคการย้อม และการทอผ้าตามอัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อส่งเสริมการตลาด ผ้าไหมย้อมครามและผ้าย้อมคราม ภายใต้แบรนด์จังหวัดสกลนครโดยเน้นรูปแบบประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการเพิ่มช่องทางการตลาดให้ผ้าไหมย้อมครามและผ้าครามสกลนคร ซึ่งเป็นสินค้าเด่น ภายใต้แบรนด์จังหวัดสกลนคร เพื่อสร้างความมั่นใจและสร้างการรับรู้และจดจำแบรนด์สกลนคร ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

1. ที่มา
นโยบายรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบาย ในการส่งเสริมช่วยเหลือธุรกิจ SME ซึ่งเป็นธุรกิจระดับรากหญ้าให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยทั้งนี้ การช่วยเหลือ SME นอกจากจะช่วยเหลือในเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแล้ว ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการนำสินค้าและบริการที่มีมาตรฐานของธุรกิจ SME ออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน ซึ่งมีความต้องการสินค้าของประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ยังส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SME มีความรู้ในเรื่องของการทำการตลาดออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ส หรือการนำเทคโนโลยีดิจิตอลให้สามารถทำธุรกิจได้ดีขึ้น สามารถแข่งขันได้ในเวทีอาเซียนและภูมิภาคอื่นๆได้รวมทั้ง ภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืนโดยพัฒนาและส่งเสริมด้านการตลาดผู้ประกอบการ และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมสามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
จังหวัดสกลนครถือเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าย้อมสีธรรมชาติ เนื่องจากสกลนครเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงกลายเป็นแหล่งรังไหม แหล่งปลูกคราม ที่นำมาสร้างสรรค์งานทอผ้าได้อย่างงดงาม และสืบสานเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวสกลนครสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง “ผ้าไหมสกลนคร” ถือเป็นแหล่งผ้าไหมที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศเพราะมีทรัพยากรที่เหมาะแก่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ถือเป็นรังไหมของอีสาน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ผลิตจำนวนมากได้รับการการพัฒนาจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จนกลายเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ และ “ผ้าย้อมคราม” เป็นผ้าฝ้ายย้อมครามสีธรรมชาติที่ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) และเป็นที่นิยมตามกระแสโลกในเรื่องสินค้าที่เป็นมิตรกับร่างกายและสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันผ้าครามสกลนครเป็นที่รู้จักในระดับประเทศและอาเซียน ผู้สนใจจากทั่วโลกหันมาสนใจผ้าครามจากสกลนครมากขึ้น และเริ่มตามรอยผ้าครามมาดูแหล่งผลิตที่สกลนครมากขึ้น ดังนั้น หากนำไหมมาย้อมครามจะถือเป็นการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่น (ประเภทผ้า) ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งจะเป็นจุดขาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และสามารถสร้างเรื่องราว (Story) ให้น่าสนใจในทางการตลาด และจะทำให้ผ้าไหมย้อมครามของสกลนครเป็นผ้าระดับพรีเมี่ยมได้ เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพงและการย้อมครามก็เป็นการย้อมสีธรรมชาติที่มีต้นทุนในการย้อมพอสมควร และหากพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมย้อมครามสู่แฟชั่นร่วมสมัย จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดสกลนครมีความโดดเด่นทรงคุณค่า เกิดผลิตภัณฑ์และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัดสกลนคร
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพ และการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าสินค้าผ้าไหมย้อมครามของสกลนคร สร้างแรงกระตุ้นเชิงอัตลักษณ์ของจังหวัดให้เกิดความต้องการสินค้าและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างงาน สร้างรายได้เพิ่มให้กับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนและท้องถิ่นอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

2. สภาพปัญหา/ความต้องการ
สถานการณ์การแข่งขันทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลกระทบโดยตรงต่อของผู้ประกอบการของจังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ SMEs / OTOP การพาณิชย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของจังหวัด การค้าเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดเป็นมูลค่ามาก ซึ่งนับวันมีความสำคัญมากขึ้น การยกระดับการค้ามีความจำเป็นที่ต้องหาตลาดใหม่ โดยใช้โอกาสการขยายตลาดหรือตัวแทนทางการค้า (Trader) ไปสู่ตลาดต่างประเทศ ถ้าหากการตลาดมียอดขายที่ลดลงหรือการค้าถดถอยไปเรื่อยๆ ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถอยู่รอดในการแข่งขันกับตลาดที่มีการแข่งขันในขณะนี้ และจะค่อยๆ หยุดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในจังหวัด ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์รวมมวลจังหวัดลดลงตามด้วย สกลนครเป็นจังหวัดที่มากด้วยแหล่งทางศิลปวัฒนธรรมและเป็นศูนย์รวมแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนา จังหวัดสกลนครจึงมีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผสมผสานกับคำสอนทางพุทธศาสนาได้อย่างลงตัว รวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางสิ่งทอพื้นบ้านของคนในจังหวัดสกลนคร หนึ่งในสิ่งทอพื้นบ้านที่มีความงดงามและมีประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดสกลนคร ผ้าไหมย้อมคราม โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงอุปถัมภ์กิจกรรมของโครงการศิลปาชีพในจังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูเรื่องของภูมิปัญญาในการผลิตผ้าไหมและผ้าไทยต่าง ๆ ให้ดำรงคงอยู่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในกระบวนการผลิตและการจำหน่ายผ้าไหมส่วนใหญ่เป็นการออกแบบและผลิตจากทักษะความชำนาญ และความรู้ความเข้าใจที่สืบทอดกันมา ขาดความเข้าใจตลาด ขาดการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่เหมาะสม ทำให้สินค้าจำนวนมากมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน ขาดความคงทน มีความสูญเปล่าทางวัสดุ แรงงาน ทำให้มีต้นทุนสูง อุปทานการผลิตมากกว่าอุปสงค์ในความต้องการ

3. ความเร่งด่วน
ผ้าไหมไทยและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยนับเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมยุทธศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้มีความสามารถในการแข่งขัน โดยการนำความรู้จากการศึกษาวิจัยมาขยายผลให้แก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ผลิต ผู้ประกอบการยังประสบปัญหาการขาดความเชี่ยวชาญในการออกแบบของสินค้า ขาดทักษะความชำนาญในการคิดสร้างสรรค์ / นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เป็นที่ดึงดูดใจของผู้ซื้อ ไม่มีจุดขายสินค้า สินค้ายังเป็นลักษณะคล้ายคลึงกัน ทำให้มีการแข่งขันภายในกลุ่มประเภทสินค้าเดียวกันจำเป็นต้องหาจุดยืนของสินค้า หรือความเป็นเอกลักษณ์ให้แตกต่างกัน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและขายสินค้าได้มากขึ้น และที่สำคัญคือ “ไหมสกลนคร” กำลังจะเลือนหายไป ควรอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูผ้าไหมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยนำมาผสมผสานกับคราม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดสกลนครถือเป็นภูมิปัญญาที่ล้ำค่าที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน จึงควรที่จะอนุรักษ์ต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์เด่นคู่กันของจังหวัดสกลนครต่อไป

4. สรุปสาระสำคัญ
จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่มีผลิตผลทางการเกษตรที่ต่อยอดมาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมีความเป็นอัตลักษณ์ไม่เหมือนใคร อาทิ ผ้าย้อมคราม น้ำเม่า ข้าวฮาง ฯลฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ได้รับตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แสดงถึงความเป็นสุดยอดผลิตผลทางการเกษตร อีกทั้งมีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าย้อมคราม และผ้าย้อมสีธรรมชาติ ที่มีการผลิตครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกอำเภอในจังหวัดสกลนคร และเพื่อพัฒนาผ้าไหมไทยพื้นบ้านในจังหวัดสกลนครให้มีความร่วมสมัยและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมกันนี้การย้อมไหมด้วยครามซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทำให้ไหมสกลนครมีความโดดเด่นและเป็นที่สนใจในตลาดโลก และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการในจังหวัดสกลนคร และคงความเป็นอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดสกลนคร จึงต้องมีการต่อยอด บูรณาการ และผสมผสานไหมและครามให้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนและเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาเด่นของจังหวัดสกลนครได้อย่างยั่งยืๅ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • โครงการเพิ่มศักยภาพทางการค้าผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมจังหวัดสกลนครสู่สากล
  • นวัตกรรมใหม่ไหมย้อมคราม
  • ผ้าย้อมครามสกลนคร
  • ผ้าไหมย้อมคราม

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

  • เรื่องราวของผ้าไหมย้อมคราม

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย musika musika เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 10:42 น.