การยกระดับบริการบ้านพักชุมชนสู่การเป็นโฮมสเตย์มาตรฐานประเทศไทย ณ หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองแวงภูปอ เทศบาลตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

การยกระดับบริการบ้านพักชุมชนสู่การเป็นโฮมสเตย์มาตรฐานประเทศไทย ณ หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองแวงภูปอ เทศบาลตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การยกระดับบริการบ้านพักชุมชนสู่การเป็นโฮมสเตย์มาตรฐานประเทศไทย ณ หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองแวงภูปอ เทศบาลตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานหลัก สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานร่วม คณะศิลปศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานปลัด เทศบาลตำบลภูปอ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาฬสินธุ์ สมาคมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อชุมชน หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองแวงภูปอ เทศบาลตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นายภูมิ หมั่นพลศรี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 43000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นักศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการท่องเที่ยว
1. นส.ชาริศา โพธิ์ขาว
รหัสนักศึกษา 6044320520028 เลขบัตรประชาชน 1460200095620 โทร 0892366484
2. น.ส สุธาลินี โงชาฤทธิ์
รหัสนักศึกษา 6044320520184 เลขบัตรประชาชน 1460200095824 โทร 0927155699
3. นาย ชัชวาลย์ ตาเมือง
รหัสนักศึกษา 6044520320093 เลขบัตรประชาชน 1460099442177 โทร 0933639051

คณะบริหารศาสต สาขาวิชา เทคโนโลยีดิจิทัล
4. นส. กมลชนก อุทัยชิต
รหัสนักศึกษา 6044220220067 เลขบัตรประชาชน 1460900100464 โทร 0954242921
5. นส.วิภาดา วระชินา
รหัสนักศึกษา 6044220220109 เลขบัตรประชาชน 1461200166781 โทร 0629937522

คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
6. นส.วิภาพร กาฬโอฆะ
รหัสนักศึกษา 6044320420088 เลขบัตรประชาชน 1469900443327 โทร 0610293847
7. นส.วิภาดา ไกรศร
รหัสนักศึกษา 6044320420104 เลขบัตรประชาชน 1469900430641 โทร 0611011826
8. นส.ชนิญญา ก้งทอง
รหัสนักศึกษา 6044320420021 เลขบัตรประชาชน 1469900447837 โทร 0808433895

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
9. นส.ศิริวรรณ หาสีสุก
รหัสนักศึกษา 6043330220082 เลขบัตรประชาชน 1469900447110 โทร 0808713969
10. นส.ศิริญาพร ศรีแก้ว
รหัสนักศึกษา 6043330220033 เลขบัตรประชาชน 1409901707531 โทร 0804122938

คณาจารย์ที่ปรึกษา คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการท่องเที่ยว
1) นายภูมิ หมั่นพลศรี รหัสประจำตัวประชาชน 1439900007853 โทร 0860580505
รายวิชาที่ร่วมบูรณาการ 01-063-309 การจัดการการท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 2 หน่วยกิต
2) ดร.มัลลิกา นาจันทอง รหัสประจำตัวประชาชน 3461300250713 โทร 0817210601
รายวิชาที่ร่วมบูรณาการ 01-063-308 การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว จำนวน 1 หน่วยกิต
3) นายฟุ้งเกียรติ มหิพันธุ์ รหัสประจำตัวประชาชน 1469900019053 โทร 0836492727
รายวิชาที่ร่วมบูรณาการ 01-062-205 การจัดการธุรกิจนำเที่ยว จำนวน 1 หน่วยกิต
4) ศักดิ์เกษม ปานะลาด รหัสประจำตัวประชาชน 3440600387560 โทร 0812617910
รายวิชาที่ร่วมบูรณาการ 01-061-305 อัตลักษณ์ที่โดดเด่นในท้องถิ่น จำนวน 1 หน่วยกิต

คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
5) นางสาวพิลาศลักษณ์ ภูลวรรณ รหัสประจำตัวประชาชน 3469900079419 โทร 0885729616
รายวิชาที่ร่วมบูรณาการ 01-076-002 ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว จำนวน 1 หน่วยกิต

คณะบริหารศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล
6) นายสุขสันต์ พรมบุญเรือง รหัสประจำตัวประชาชน 3460101009624 โทร 0850039640
รายวิชาที่ร่วมบูรณาการ 05-043-301 ปฏิบัติการเขียนโปรแกรมเว็บแบบพลวัติ จำนวน 1 หน่วยกิตและ
05-043-303 พัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ จำนวน 1 หน่วยกิต

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
7) นายเกียรติพงษ์ เจริญจิตต์ รหัสประจำตัวประชาชน 3451300013193 โทร 0815694541
รายวิชาที่ร่วมบูรณาการ 03-055-303 เทคโนโลยีผักและผลไม้ จำนวน 1 หน่วยกิต

หน่วยงานร่วมบูรณาการ 1) นางสาวกุสุมาลย์ มหาแสน รหัสประจำตัวประชาชน 3460100142452 0867169747
หัวหน้าสำนักปลัด/เทศบาลตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
2) นางวาสนา จำเริญสาร โทร 0817688421
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักงานพัฒนาชุมชชนอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
3) นายบวร บุญมา โทร 0869928709
เจ้าหน้าที่พละศึกษาประจำอำเภอเมือง/สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาฬสินธุ์
4) นางสาวชนิดา ตั้งเทวนนท์ โทร 0836154444
นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์/สมาคมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์
การติดต่อ 0860580505
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 พฤศจิกายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ ภูปอ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตำบลภูปอ มีพื้นที่ 46.16. ตารางกิโลเมตร (เทศบาลตำบลภูปอ, 2561) และมีประชากรอาศัยอยู่ในเขเทศบาลตำบลภูปอ จำนวน 4,853 คน เป็นชาย จำนวน 2,394 คน คิดเป็นร้อยละ 49 เป็นหญิง จำนวน 2,459 คน คิดเป็นร้อยละ 51 แบ่งการปกครองออกเป็น 8 บ้าน ได้แก่ บ้านห้วยแสง บ้านสะอาดสมศรี บ้านโนนสวรรค์ บ้านป่านกขาบ บ้านหนองแวงเหนือ บ้านหนองแวงใหญ่ และบ้านห้วยแสงกลาง รวมทั้งสิ้นมี 406 ครัวเรือน (เทศบาลตำบลภูปอ, 31 พฤษภาคม 2562)
ซึ่งการศึกษาและบูรณาการหลักสูตรภายใต้โครงการอาสาประชารัฐครั้งนี้จะลงพื้นที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง 2 บ้านคือ บ้านหนองแวงเหนือ บ้านหนองแวงใหญ่ มีประชากรรวม 1,748 คน 474 ครัวเรือน
บ้านหนองแวงเหนืออยู่ในเขตการปกครองหมู่ที่ 5 มีประชากรเป็น เพศชายจำนวน 401 คน คิดเป็นร้อยละ 23 ของประชากรรวมทั้ง 2 บ้านและมีประชากรเพศหญิง จำนวน 359 คน คิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรรวม
ทั้ง 2 บ้าน ส่วนบ้านหนองแวงใหญ่ อยู่ในเขตการปกครองหมู่ที่ 8 มีประชากรเป็น เพศชายจำนวน 498 คน คิดเป็นร้อยละ 28 ของประชากรรวม ทั้ง 2 บ้านและมีประชากรเพศหญิง จำนวน 490 คน คิดเป็นร้อยละ 28 ของประชากรรวมทั้ง 2 บ้าน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้จะเรียกพื้นที่ศึกษาว่า “บ้านหนองแวงภูปอ” เพื่อความเข้าใจตรงกันทั้งผู้ศึกษาและเจ้าของพื้นที่เอง
ชุมชนบ้านหนองแวงภูปอ อยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหมู่บ้านที่มีกลุ่มผู้ลาวเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีนายสีและนางจีน ทรัพย์ชม ย้ายมาจากบ้านโจดในตัวเมืองกาฬสินธุ์เป็นครอบครัวแรกที่มาตั้งรกรากอาศัยอยู่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ต่อมาก็ได้มีครอบครัวอื่นอพยพตามมา ทั้งที่มาจากจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด
จากการสำรวจข้อมูลประชากรของเทศบาลตำบลภูปอ พบว่า ปัจจุบันชาวบ้านที่นี่โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของที่นี่คือ มันสำปะหลัง อ้อยและข้าว ในฤดูกาลปกติของประชากรที่นี้จะประกอบอาชีพทำนาทำไร่ในพื้นที่ของตนเอง หลังเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา ประชาชนในพื้นที่นี้จะออกหาประกอบอาชีพรับจ้างทำพืชไร่และรับจ้างทั่วไปในชุมชนเป็นหลัก ประชากรส่สวนใหญ่ของเทศบาลตำบลภูปอ ประกอบอาชีพทำไร่เป็นอาชีพหลักมากที่สุด จำนวน 1,011 คน คิดเป็นร้อยละ 38.54 รองลงมา คือ อาชีพรับจ้างทั่วไปและบริการ จำนวน 856 คน คิดเป็น ร้อยละ 32.63 รองลงมาประกบอาชีพ พนักงาน ลูกจ้าง จำนวน 266 คน คิดเป็นร้อยละ 10.14 สรุปได้ว่าประชากรในพื้นที่เทศบาลตำบลภูปอประกอบอาชีพทำไร่ มากที่สุด
ข้อมูลด้านการศึกษา พบว่า ประชากรตำบลภูปอส่วนใหญ่กำลังศึกษาในระดับประถมศึกษามากที่สุด จำนวน 303 คน คิดเป็นร้อยละ 41 รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 20.03 และยังพบว่า ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา จำนวน 1,675 คน คิดเป็นร้อยละ 55.65 รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 552 คน คิดเป็น 18.34 ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีจำนวน 181 คน คิดเป็นร้อยละ 6
ตำบลภูปอ เนื้อที่ ต ำบลภูปอ มีเนื้อที่ประมำณ 46.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 28,850 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองกำฬสินธุ์ ระยะห่างจากอำเภอเมืองกำฬสินธุ์ ประมาณ 25 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนามะเขือ อ.สหัสขันธ์ และตำบลหนองแวง อ.สมเด็จ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลไผ่ อ.เมืองกำฬสินธุ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลนำจำรย์ อ.เมืองกำฬสินธุ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลขมิ้น อ.เมืองกำฬสินธุ์
ลักษณะภูมิศาสตร์ มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของเป็นพื้นที่ราบลุ่ม บางส่วนเป็นที่ราบสูงเชิงเขา ทางตอนเหนือของมีภูเขา จำนวน 2 ลูก คือ ภูปอและภูกระแต พื้นที่ราบลุ่มมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตร มี
ลำห้วยและหนองน้ำธรรมชาติ กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูการเกษตร
ด้านการปกครอง ตำบลภูปอ มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 9 หมู่บ้าน แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน คือ อยู่ในเขตเทศบาลตำบลนาจารย์ 2 หมู่ คือ บ้านโจด หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 และอยู่ในเขตเทศบาลตำบลภูปอ 7 หมู่ ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านห้วยแสง ผู้ใหญ่บ้าน คือ นายสำรวย คำยุธา
หมู่ที่ 2 บ้ำนสะอาดสมศรี ผู้ใหญ่บ้าน คือ นายนวย อนันต์การ
หมู่ที่ 3 บ้ำนโนนสวรรค์ ผู้ใหญ่บ้าน คือ นายบุญล้วน คำควร
หมู่ที่ 4 บ้ำนป่ำนกขำบ กำนันตำบล คือ นายสุนทร บุญบุตร
หมู่ที่ 5 บ้ำนหนองแวงเหนือ ผู้ใหญ่บ้าน คือ นายสิทธิพงษ์ แจ่มศักดิ์
หมู่ที่ 8 บ้ำนหนองแวงใหญ่ ผู้ใหญ่บ้าน คือ นายใหม่ พันธ์จรุง
หมู่ที่ 9 บ้ำนห้วยแสงกลำง ผู้ใหญ่บ้าน คือ นายทองจันทร์ คำหงษา
ด้านการศึกษา มีโรงเรียน ทั้งหมด 5 แห่ง แยกเป็น 1.โรงเรียนระดับประถมศึกษา 4 แห่ง คือ 1. โรงเรียนบ้านห้วยแสง 2. โรงเรียนสะอาดสมศรีวิทยา 3. โรงเรียนโนนสวรรค์ประชาสรรค์ภูปอ 4. โรงเรียนภูปอวิทยา
2. โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนหนองแวงเหนือ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 ศูนย์ คือ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองแวงใหญ่ 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดท่าม่วง บ้านห้วยแสง 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่านกขาบ
ด้านศาสนา ตำบลภูปอ มีวัด 7 แห่ง และสำนักสงฆ์มี 2 แห่ง 1. วัดท่าม่วง บ้านห้วยแสง 2. วัดโพธิ์ไชยาราม บ้านสะอาดสมศรี 3. วัดไชยมงคล บ้านโนนสวรรค์ 4. วัดพุทธมงคล บ้านป่านกขาบ 5. วัดอินทร์ประทำนพร (วัดภูปอ) 6. วัดชัยศรี บ้านหนองแวงใหญ่ 7. วัดป่าบ้านหนองแวงเหนือ บ้านหนองแวงเหนือ 8. สำนักสงฆ์ภูหินตุ้ม บ้านป่านกขาบ 9. สำนักสงฆ์ถ้ำผาน้ำทิพย์ บ้านป่านกขาบ
ด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงใหญ่ 1 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองแวงใหญ่ หมู่ที่ 8 มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 3 คน พนักงานลูกจ้าง 4 คน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ชุมชนบ้านหนองแวงภูปอ มีองค์กรในพื้นที่ที่เข้มแข็งสนับสนุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาชุมชนเป็นอย่างดี คือ เทศบาลตำบลภูปอ และยังมีสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอีกหน่วยงานที่คอยสนับสนุนพัฒนายกระดับชุมชนอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการพัฒนาชุมชนเทศบาลภูปอเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนหนองแวงภูปอ และหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัติวิถี บ้านหนองแวงภูปอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา
นอกจากนี้ชาวบ้านที่นี่มีจุดยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญมากคือ พระพุทธไสยาสน์ภูปอ เป็นพระพุทธไสยาสน์จำหลักไว้บนผาหินโบราณสององค์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดีอายุราว 1,500 ปี มีลักษณะงดงามอ่อนช้อย โดยมีประวัติที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่าพระพุทธไสยาสน์ 2 องค์นี้ สร้างขึ้นในช่วงที่มีการสร้างพระธาตุพนม พุทธศาสนิกชนที่อยู่หัวเมืองต่าง ๆ เมื่อทราบข่าวการสร้างพระธาตุพนมก็มีความมุ่งมั่น ตั้งใจจะมาร่วมสร้างพระธาตุ โดยไม่ได้คำนึงถึงความยากลำบาก เมื่อองค์พระธาตุพนมได้สร้างเสร็จสิ้น ชาวพุทธที่มีจิตศรัทธาเดินทางมาไม่ทันสร้างองค์พระธาตุก็ไม่ยอมละความตั้งใจปล่อยให้การเดินทางมาสูญเปล่า จึงร่วมกันสร้างพระพุทธรูปปางปรินิพพานไว้ 2 องค์ ณ พุทธสถานภูปอแห่งนี้

นอกจากพุทธสถานภูปอที่เป็นล่งท่องเที่ยวสำคัญของพื้นที่นี้แล้ว ยังมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สำคัญอีกหลากหลาย ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ ทรัพยากรที่มนุษย์ทสร้างขึ้น อาทิ อ่างเก็บน้ำห้วยแก้งน้อย ป่าชุมชนบ้านหนองแวงที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก เป็นแหล่งอาหารที่สามารถหาได้ตามฤดูกาลและพืชสมุนไพรต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีฟาร์มเทพสถิตและแหล่งเรียนรู้การใช้ชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานการเรียนรู้จุดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพราะเลี้ยงจิ้งหรีด การทำเครื่องจักสาน การสร้างลายบนผ้าด้วยยางกล้วย การทอผ้า การเย็บผ้าด้วยมือ การแปรรูปอาหาร โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นหลักในการดำเนินงาน ซึ่งเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้และสามารถร่วมกิจกรรมกับชุมชนได้ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่สำคัญก็มีการพัฒนาสินค้ามาจากวัตถุดิบที่มีในชุมน โดยใช้ยางกล้วยที่มีจำนวนมากนำมาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการทำเสื้อลายยางกล้วยที่มีลายสวยงามไม่เหมือนใคร หรือจะเป็น ผ้าฝ้ายปักมือฝีมือแม่บ้านที่มีความปราณีตสวยงามเป็นเอกลักษณ์ และผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป กล้วยแซ่บ และกล้วยรสชาติต่างๆ ผู้มาเยือนสามารถเลือกซื้อติดมือกลับบ้านเป็นของฝากของที่ระลึกจากชุมชนบ้านหนองแวงเหนือ จังหวัดกาฬสินธุ์
หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนหนองแวงภูปอ ที่รวมพื้นที่ของบ้านหนองแวงเหนือ หมู่ 5 และบ้านหนองแวงใหญ่ หมู่ 8 ในตำบลภูปอ อำเภอเมือง ที่มีการส่งเสริมพัฒนานเน้นไปทั้งด้านการพัฒนาทางการท่องเที่ยวและการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งสอดรับกับนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์คนปัจจุบัน นายชัยธวัช เนียมศิริ ที่เน้นการพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจพอเพียง ปลอดปัญหาเรื่องยาเสพติดและส่งเสริมหมู่บ้านท่องเที่ยว โดยการำกิจกรรมส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ การนำเสนอรายการท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์ ซึ่งทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชนหนองแวงภูปอนี้ยังสามารถสรุปให้เข้าใจได้ ดังนี้
1. ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธารชาติ ได้แก่ ป่าชุมชน อ้างเก็บน้ำ ต้นทองอุไรสองข้างทางที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ในหมู่บ้านช่วงฤดูหนาว เป็นต้น
2. ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทมนุษย์สร้าง ได้แก่ ศูนย์เรียนณุ้เศรษฐกิจพอเพียง ฟาร์มเทพสถิตภูปอ ฐานการเรียนรู้ชุมชน (ผ้าฝ้ายลายยางกล้วย, ทอเสื่อกกก, กล้วยอายแดด, นวดแผนไทย) จุดชมวิวอ่างเก็บน้ำและป่าชุมชน ศาลหลักบ้าน ศาลาประชาคม เป็นต้น
3. ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชน ได้แก่ ผ้าลายยางกล้วย ลูกประคบ ผ้าพันคอ เสื้อผ้าฝ้าย ว้าวลูกกี้ ว้าวจุฬา สะนูว้าว กลุ่มโฮมสเตย์ อาหารท้องถิ่น (หมกหมู่ใส่ปลีกล้วย, ต้มไก่บ้าน, ลาบปลาดุก, ลาบปู, หมกฮวก, อ่อมหวาย, ผักสด, ขนมกล้วยใส่กรอย และขนมหวานหรือผลไมตามฤดูกาล) เป็นต้น
นอกจกาทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายแล้ว หมู่บ้านท่องเที่ยวหนองแวงภูปอยังมีความได้เปรียบทางการท่องเที่ยวคือสามารถพัฒนาการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวได้อย่างน่าสนใจ ทั้งเชื่อมไปยังพื้นที่อำเภอสหัสขันธ์และพื้นที่อำเภอเมืองหรือพื้นที่อื่น ๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้เส้นทางที่ไม่ยาวนานสามารถเดินทางท่องเที่ยวไปยังจุดหมายต่อไปได้อย่างเหมาะสม


แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
พระพุทธไสยาสน์ภูปอ
ประดิษฐานอยู่ภายในวัดอินทรประทานพร (ภูปอ) ตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตำแหน่งแรก เป็นภาพสลักบนแผ่นหินใต้เพิงผาเชิงเขาสูงขึ้นมาจากแผ่นหิน 15 เซนติเมตร ความยาวของภาพสลัก 3.30 เมตร กว้าง 1.27 เมตร ภาพสลักนี้มิได้สลักแต่รูปองค์พระนอนลอย ๆ แต่สลักบนแผ่นพื้นหินให้เป็นรูปผ้าปูลาดรององค์พระและผ้า(หมอน) รองหมุนพระเศียร และรองพระบาททั้งคู่ ตำแหน่งที่สองเป็นภาพสลักที่อยู่สูงขึ้นไป ณ เพิงผาใกล้ยอดเขา เป็นรูปพระนอนสลักนูนบนแผ่นหินใต้เพิงผาความยาวของภาพสลักนับจากประภาวลีเหนือเศียรพระจนถึงขอบเตียงปลายพระบาท 5.20 เมตร ส่วนกว้างสุด 1.50 เมตร องค์พระสลักนูนจากผนังขึ้นมาถึง 55 เซนติเมตร ทำให้ดูคล้ายภาพสลักนูนสูงมากประกอบกับการสลักให้มีเส้นโค้งเว้าเน้นสัดส่วนและลักษณะอ่อนช้อย องค์พระทอดพระองค์ยาวในท่านอนตะแคงข้างขวา แบบที่เรียกว่าสีหะไสยา (ท่านอนดุจพญาราชสีห์) อันเป็นท่านอนที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติตามปรากฏในพระไตรปิฎก
พระพักตร์พระพุทธรูปแบบทวาราวดีและแบบสุโขทัย
มีเรื่องเล่าสืบ ๆ กันมาว่า พระพุทธไสยาสน์ภูปอทั้ง 2 องค์นี้ สร้างในสมัยที่สร้างพระธาตุพนมซึ่งมีประชาชนกลุ่มหนึ่งเดินทางมาจากเมืองแดนใต้ ประสงค์จะไปร่วมก่อสร้างเจดีย์ธาตุพนม พอเดินทางมาถึงบริเวณภูปอแห่งนี้ก็หยุดพักและได้ทราบข่าวว่าพระธาตุพนมได้สร้างและสมโภชเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้ปรึกษากันแล้วตกลงว่าให้ฝังสมบัติที่พากันนำมาไว้ที่ภูปอและมีดำริที่จะก่อสร้างสิ่งที่เป็นเครื่องระลึกและเป็นพุทธบูชา จึงได้พากันสลักหินเป็นพระพุทธรูปซึ่งแสดงถึงภาพปางไสยาสน์ในท่าตอนที่ทรงดับขันธ์ปรินิพพาน แล้วตั้งคำปริศนาธรรมไว้ว่า “พระหลงหมู่อยู่ถ้ำภูบก แสงตาตกมีเงินเจ็ดแสน ไผหาได้กินทานหาแหน่ เหลือจากหั่นกินเสี้ยงบ่หลอ”
(ข้อมูลจาก : คุณอนันต์ จำเริญเจือ จากวัดอินทรประทานพร (ภูปอ)วันที่ 8 ธันวาคม 2552เรียบเรียงโดย พระครูอินทพัฒนคุณ เจ้าอาวาสวัดอินทรประทานพร)
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนแหล่งศิลปะถ้ำภูปอ ให้เป็นโบราณสถานของชาติ โดยที่อยู่ในความดูแลรักษาของหน่วยศิลปกรที่ 10 ร้อยเอ็ด เนื่องจากแหล่งภาพสลักพระนอนอยู่ติดเขตวัดอินทรประทานพรทางวัดอันประกอบด้วยฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส (กรรมการวัด, มรรคทายก) ช่วยกันดูแลรักษามีบันไดทางขึ้นไปชมและบูชาพระนอนเนื่องจากเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกล ภาพสลักพระพุทธไสยาสน์ที่ภูปอจึงเป็นโบราณสถานที่ยังทำหน้าที่เป็นพุทธสถาน โดยเทศบาลตำบลภูปอและวัดอินทรประทานพร (วัดภูปอ) ได้กำหนดจัดงานโครงการวันวิสาขบูชาขึ้นพร้อมกัน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวพระพุทธไสยาสน์ภูปอให้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป จึงเห็นสมควรจัดงานโครงการวันวิสาขบูชา ให้ยิ่งใหญ่ จึงกำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี
ผลิตภัณฑ์ของดีตำบลภูปอ
1. ชาตาหวาน คือ เป็นการนำวัตถุดิบคือ “ผักหวานบ้าน” มาแปรรูปเป็นชาเมื่อดื่มจะรู้สึกชุ่มคอ ซึ่งแตกต่างจากชาทั่วไปที่จะทำให้รู้สึกคอแห้งมีสรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระ
2. เค้กชาตาหวาน เป็นอาหารว่างที่นำเอาชาตาหวานมาเป็นส่วนประกอบในการทำเค้กที่นุ่มและให้กลิ่นและรสชาติของชาผักหวานบ้านอ่อน
3. ข้าวกล้องอินทรีย์ ผลิตจากข้าวของเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทยและอยู่ระยะปรับเปลี่ยนตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของอเมริกา หรือ USDA เป็นข้าวอินทรีย์ ซึ่งมีทั้งข้าวขาวและข้าวสี
4. ผ้าฝ้ายลายก้านกล้วย โดยกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า บ้านหนองแวงเหนือ ม.5 นำน้ำยางกล้วยมาทำเป็นลายเสื้อโดยใช้ผ้าฝ้ายทอมือในการตัดเย็บ
5. ผ้าฝ้ายทอมือ จากการทอผ้าฝ้าย เพื่อพิมพ์ลายจากน้ำยางกล้วยแล้ว ผู้ผลิตได้มีการพัฒนาการทอผ้าฝ้ายให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งสีและลาย
6. ผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป คือ กล้วยแซ่บ

อีกหนึ่งศักยภาพของพื้นที่ที่ชุมชนต้องการมุ่งพัฒนาให้ประสบผลสำเร็จอย่างมากคือ กลุ่มโฮมสเตย์ที่มีจำนวนเริ่มตั้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 จำนวน มากถึง 24 หลังคาเรือน แต่กระทั้งปัจจุบันยังไม่มีผู้มาเยือนและขาดการพัฒนาสานต่อ จึงคงเหลือสมาชิกที่สามารถดำเนินการให้บริการต้อนรับได้เพียง 10 หลังคาเรือนเท่านั้น
1 นางจีนันดา จินดามาตร หมู่ที่ 5 เลขประจำตัวประชาชน 3460100966218
2 นางพวงเพชร บัวระบัติ หมู่ที่ 5 เลขประจำตัวประชาชน 3460100973958
3 นางสายสมร ทรัพย์ชม หมู่ที่ 5 เลขประจำตัวประชาชน 3460100974105
4 นางสมพงษ์ ทรัพย์เติม หมู่ที่ 5 เลขประจำตัวประชาชน 5460190000691
5 นางสกุลรัตน์ นามมะวงศ์ หมู่ที่ 5 เลขประจำตัวประชาชน 3460100970240
6 นางกิตติประภาพรรณ สำราญรื่น หมู่ที่ 5 เลขประจำตัวประชาชน 3460100971785
7 นางเนาวรัตน์ มาตรมงคล หมู่ที่ 5 เลขประจำตัวประชาชน 3460100968938
8 นางสาวสุนันทา คำหงษา หมู่ที่ 5 เลขประจำตัวประชาชน 3460100970380
9 นางนาง ทรัพย์สมบัติ หมู่ที่ 8 เลขประจำตัวประชาชน 3460100973443
10 นางดวงจันทร์ ทิพย์ราชา หมู่ที่ 8 เลขประจำตัวประชาชน 3460100398678
ข้อมูลประเด็นปัญหา
จากการลงพื้นที่พบว่าเทศบาลตำบลหนองแวงภูปอเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวทั้งในส่วนของบุคลากรที่มีกลุ่มผู้นำเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจจะพัฒนาชุมชนให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกในชุมชนด้วยการพัฒนาการท่องเที่ยวและการพัฒนาสร้างทักษะความรู้ทางการทำการเกษตรบนฐานความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งยังมีทรัพยากรการท่องเที่ยวเป็นความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ สามารถจัดการท่องเที่ยวให้น่าสนใจได้
แต่ด้วยการพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยว ยังเป็นประเด็นที่ใหม่สำหรับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งไม่มีองค์ความรู้ ขาดความเข้าใจ กระบวนการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั้งสามารถนำเสนอเป็นรูปแบบบริการที่สมบูรณ์ได้ ประชาชนในพื้นที่จึงไม่ให้ความร่วมมือมากเท่าที่ควร กลุ่มผู้นำในชุมชนจึงเห็นว่าต้องการจะใช้กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการชักจูงให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่มาร่วมกันพัฒนาทักษะ องค์ความรู้จนเข้าใจ และสามารถดำเนินกิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมได้ในอนาคตอันใกล้ เพื่อช่วยส่งเสริมยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น และเพิ่มความเป็นประชาธิปไตยในชุมชน ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ สมาชิกในชุมชนสามารถเข้ามาร่วมกันพัฒนาตามบทบาทหน้าที่ ศักยภาพของแต่ละบุคคลได้ ทั้งสองพื้นที่ คือบ้านหนองแวงเหนือ หมู่ 5 และบ้านหนองแวงใหญ่ หมู่ 8
จากการลงพื้นที่สำรวจและร่วมสัมภาษณ์กลุ่มตัวแทนผู้นำและพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป้าหมายพบว่า ประเด็นปัญหาหลักของการพัฒนาชุมชนนี้คือ "เรื่องของกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ บนฐานความรู้ที่เข้าใจและสามารถปฏิบัติได้จริง โดยมีรายละเอียดที่มาของประเด็นปัญหาสำคัญดังนี้
1) ประชาชนในพื้นที่ส่วนมากมีอาชีพทำไร่ ทำนา และรับจ้างเป็นหลัก จึงขาดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและยังมีความต้องการรายได้เสริมจากกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมมชนเป็นอย่างมาก
2) สมาชิกกลุ่มโฮมสเตย์มีความต้องการพัฒนาบ้านพักชุมชนให้ผ่านการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย มากกว่าจำนวน 10 หลังคาเรือน และเพิ่มจำนวนสมาชิกมากขึ้นกว่าเดิม
3) สมาชิกในชุมชนต้องการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและทักษธ ประสบการณ์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อที่จะใช้ในการพัฒนาได้เองอย่างต่อเนื่องยังยืนสืบไป
4) ชุมชนขาดช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และต้องการให้มีผู้มาเยือนอย่างต่อเนื่อง จากกิจกรรมที่มีในชุมมชน ด้วยกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ชุมชนหมู่บ้านท่องเที่ยวหนองแวงภูปอ (หมู่ 5 หมู่ 8) มีความต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนามากยิ่งขึ้น และต้องการสร้างความรู้ที่เข้าใจ ให้ประชาชน สมาชิกที่เข้าร่วมมีทักษะ ประสบการณ์จริง สามารถนำไปปฏิบัติได้ ผ่านการพัฒนาและยกระดับชีวิตด้วยการพัฒนาทางการท่องเที่ยว ดังนี้
1) ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาและมีรายได้เสริมจากกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมมชน
2) สมาชิกกลุ่มโฮมสเตย์บ้านพักชุมชน ต้องการพัฒนาให้พร้อมยื่นขอรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย และเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มีมากขึ้นกว่าเดิม
3) ชุมชนต้องการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและทักษะ ประสบการณ์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวให้สามารถพัฒนาได้เองอย่างต่อเนื่องต่อไป
4) ชุมชนต้องการพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเพื่อเพิ่มจำนวนผู้มาเยือนจากกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมมชน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

เน้นบูรณาการองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เทคโนโลยีประยุกต์ ให้พื้นที่ชุมชนท่องเที่ยว โดยเน้นการพัฒนา เรียนรู้ศาสตร์ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นหลักและใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีประยุกต์เข้ามาเติมเต็มให้ประชาชนในชุมชนสามารถนำไปปฏิบัติได้ตามบริบทของสังคมโลกปัจจุบัน เป็นผลงานนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จากการนำวิชาความรู้เรื่องในชั้นเรียนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในพ้ืนที่ คือ 1. การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. การพัฒนาแผนการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว 3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการท่องเที่ยว 4. การศึกษาอัตตลักษณ์โดดเด่นในท้องถิ่น 5. การพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่น6. การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยังยืน 7. การพัฒนาและยกระดับรายการอาหารท้องถิ่นผ่านการศึกษาปัญหาพิเศษ และ 8. การพัฒนาทักษะและสร้างสรรค์สื่อสารสนเทศการท่องเที่ยวชุมชนด้วยภาษาอังกฤษและวัฒนธรรม
เป็นการบูรณาการระดับสาขาวิชาและระดับคณะ คือ 1) คณะศิลปศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล 2) คณะบริหารศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิตัล 3) คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนก็ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนเป็นอย่างดี จึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อ เรียนรู้ สัมผัสประสบการณ์ใหม่ ผ่านวิถีชีวิตการเป็นอยู่ที่แตกต่างของชุมชนทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลโดยร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ททท.) มุ่งเน้นให้ชุมชนมีโอกาสนำเสนอเอกลักษณ์ในแบบของตน สามารถกระตุ้นให้นักเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากยิ่งขึ้นในจุดหมายปลายทางใหม่ ๆ ที่ไม่เคยได้พบและเรียนรู้สัมผัสอย่างลงลึกมาก่อน ภายใต้แนวคิดที่ส่งผลเป็นค่านิยมใหม่ของการท่องเที่ยวที่ได้ผลอย่างต่อเนื่องมาหลายปีนี้ ภายใต้นิยามที่ว่า “เที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋ไม่เหมือนใคร” (Discover Thainess) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 กระทั้งปี พ.ศ. 2561 ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋ อย่างยั่งยืน หรือ Amazing Thailand Tourism Year 2018 ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ส่งเสริมพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว เปิดตัวให้เป็นที่รู้จกและขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อกระจายรายได้ ผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นแก่พื้นที่ชุมชนอย่างแท้จริง และเป็นที่รู้จักทั่วไปว่า “เมืองหลัก” และ “เมืองรอง” คือ เมืองต้องห้าม...พลาด ในระยะเวลา 3 – 4 ปี ที่ผ่านมา
ในปี พ.ศ. 2561 กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้มีนโยบายต่อยอดส่งเสริมและขยายผลเชื่อมโยงกับกระแสการท่องเที่ยวในปัจุบันด้วยโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่มีแนวทางในการต่อยอดการพัฒนาส่งเสริมชุมชนให้พร้อมและมีศักยภาพมากยิ่งขึ้นในพื้นที่ของตนเอง ด้วยการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและการให้บริการภายใต้การส่งเสริมการตลาดชุมชน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวในพื้นที่ ภายใต้คำว่า “แอ่งเล็ก” โดยมีการคัดเลือกกว่า 3,273 พื้นที่ทั่วประเทศไทย ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเป็น Big Data ยกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคให้พร้อมต่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน ซึ่งมีบริการจุดเช็คอินในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่น่าสนใจ มีบริการที่พักโฮมสเตย์ของชุมชน และมีการนำเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวในหลายรูปแบบเหมาะแก่กลุ่มผู้มาเยือนให้สามารถเลือกใช้บริการได้ตามความต้องการ ทั้งนี้ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ก็เป็นหนึ่งพื้นที่ที่มีศักยภาพและถูกเลือกไว้แล้ว ซึ่งมีคุณค่าทั้งธรรมชาติที่สวยงาม วิถีชีวิตที่น่าสนใจจนเป็นที่มาของชุมชนท่องเที่ยวหนองแวงภูปอ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้มีการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวขึ้นในชุมชน อาทิ โฮมสเตย์บ้านพักชุมชน รายการอาหารท้องถิ่น กิจกรรมการท่องเที่ยวแนะนำที่น่าสนใจของชุมชน เป็นต้น
จากการยืนยันของนายนิยม สารปรัง เจ้าของและผู้พัฒนาฟาร์มเทพสถิต ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองแวงภูปอ เห็นได้ชัดว่าชุมชนมีความประสงค์ที่จะต่อยอดการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นที่นิยมแก่นักเดินทางและมีผู้มาเยือนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต รายได้ อาชีพเสริมที่ช่วยยกระดับแก่คนในชุมชนได้จากการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวและการพัฒนาบริการที่พักแบบโฮมสเตย์ในชุมชนให้ได้มาตรฐานเพื่อยกระดับให้ดียิ่งขึ้นจากเดิมที่เป็นการให้บริการบ้านพักโฮมสเตย์ ประเภททั่วไป ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกุฉินารายณ์ และยังขาดองค์ความรู้ ขาดความเข้าใจในการพัฒนาที่จะนำไปสู่การขอยื่นรับรองการตรวจประเมินและผ่านมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ชุมชนจึงต้องการให้มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เข้ามาพัฒนาให้ความรู้และสนับสนุนกลุ่มให้สามารถเข้าสู่การรับรองมาตรฐานต่อไปได้ในที่สุด โดยความร่วมมือของคนในพื้นที่ และหน่วยงานเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งหัวใจสำคัญของการผ่านการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ประเทศไทยนั้น กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มีมาตรฐานกำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้วทั้ง 10 ด้าน ได้แก่
1) ด้านที่พัก 2) ด้านอาหาร 3) ด้านความปลอดภัย 4) อัธยาศัยไมตรีของเจ้าของบ้านและสมาชิกในครัวเรือน 5) รายการนำเที่ยว 6) ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 7) ด้านวัฒนธรรม 8) ด้านรายได้เสริม และการเชื่อมโยงกับธุรกิจชุมชน 9) การบริหารของกลุ่มโฮมสเตย์ 10) ด้านประชาสัมพันธ์ โดยขั้นต้นประชาชนเจ้าบ้านต้องมีความรู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์ดังกล่าวก่อน พร้อมถึงต้องมีประสบการณ์ในการดำเนินงาน ทราบถึงรูปแบบการบริหารจัดการ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นประเด็นในการต่อยอดการพัฒนาในโครงการอาสาประชารัฐแก่พื้นที่เป้าหมายหนองแวงภูปอ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ โดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชุมชนมีความพร้อมและตั้งใจจะพัฒนาต่อยอดจากการเริ่มต้นของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง ซึ่งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถบูรณาการเข้าไปพัฒนาให้องค์ความรู้ ร่วมมือพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในชุมชนได้ ผ่านรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ใช้กลุ่มบ้านพักชุมชนที่เป็นกลุ่มโฮมสเตย์น้องใหม่ ได้เกิดการเรียนรู้สัมผัสวิถีชุมชนอย่างแท้จริง ทั้งยังส่งเสริมให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นเชื่อมโยงเป็นนวัตกรรมการท่องเที่ยวสมัยใหม่ที่ง่ายและสะดวกในการเข้าถึง เป็นการเปิดมิติใหม่ของการท่องเที่ยวภาคอีสานให้เป็นที่รู้จักและสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนภายใต้กระแสวิถีไทยนิยม ยั่งยืนที่จะชักจูงให้เกิดการเดินทางมาเยือนและประทับใจ เกิดการชักจูงแก่ผู้ที่สนใจให้มาเยือนและสัมผัสประสบการใหม่ พบองค์ความรู้ใหม่ที่แตกต่าง พร้อมกลับไปกับความประทับใจ ที่มีความสุขทั้งผู้รับ ผู้ให้ในแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์ ณ ชุมชนท่องเที่ยวหนองแวงภูปอ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ดังนั้น คณาจารย์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จึงเห็นความสำคัญในการบูรณาการการศึกษาและพัฒนางานวิจัยในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อศึกษาศึกษาศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนโฮมสเตย์หนองแวงภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และสามารถยกระดับรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนหนองแวงภูปอให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่สามารถขับเคลื่อนเองได้ ผ่านกระบวนการทางวิชาการที่มีนักศึกษาและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นผู้ช่วยดำเนินงานหลัก และสามารถเตรียมเอกสารให้พร้อมยื่นขอรับรองสู่มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยได้และใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์ของทางราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดขอนแก่น และสมาคมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น เพื่อนำไปสู่รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนพื้นที่ตำบลภูปออย่างสร้างสรรค์ให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันให้สามารถกระจายผลประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน ทั้งภาคส่วนของเศรษฐกิจ ภาคสังคม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก่อให้เกิดการส่งเสริมประชาธิปไตย
ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมการการมีส่วนร่วมในชุมชนได้อย่างยั่งยืนแท้จริงสืบไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การท่องเที่ยวโดยชุมชน
  • มาตรฐานโฮมสเตย์
  • หมู่บ้านท่องเที่ยวหนองแวงภูปอ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย poom.mu2019 poom.mu2019 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 18:43 น.