การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทองข้าวเกรียบกล้วย

การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทองข้าวเกรียบกล้วย

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทองข้าวเกรียบกล้วย
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานร่วม สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ชื่อชุมชน ฟาร์มแม่เพ็ญ บ้านม่วง ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
การติดต่อ 0894221212
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 30 พฤศจิกายน 2561
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
อุดรธานี บ้านผือ จำปาโมง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ผู้ประกอบการมีความพร้อมในด้านของเงินลงทุนและมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปลูกและการดูแลรักษากล้วยหอมทอง อีกทั้งสวนกล้วยหอมทองอยู่ไม่ไกลจากที่พักอาศัยมากนักทำให้เข้าถึงได้ง่าย มีแหล่งวัตถุดิบที่พร้อม รวมทั้งเป็นกล้วยหอมทองที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทำให้ได้กล้วยที่มีคุณภาพและปลอดสารพิษเพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่มีคุณภาพโดยไม่มีการแต่งสีและใช้สารวัตถุกันเสียสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ผู้ประกอบการ ชื่อ นางเพ็ญ ประสบศิลป์ ชื่อสถานที่ประกอบการฟาร์มแม่เพ็ญ ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 51 หมู่ที่ 15 ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 41160 มีเนื้อที่ทั้งหมด 24 ไร่ เริ่มแรกผู้ประกอบการได้ทำการเกษตรแค่ปลูกข้าวจำนวน 10 ไร่ พื้นที่ที่เหลือเป็นป่าดงดิบผู้ประกอบการจึงได้คิดริเริ่มทำการลงทุนปลูกสวนยางในปี 52 จำนวน 4 ไร่ ทำมาได้สักพักเศรษฐกิจก็ไม่ค่อยดี ผู้ประกอบการจึงหันมาทำฟาร์มเห็ดในปี 57 จำนวน 1 ไร่ ปีถัดมาปี 58 ได้ลงทุนปลูกสวนอ้อยจำนวน 1 ไร่ และบ่อปลาดุกจำนวน 5 ไร่ ในปีเดียวกัน หลังจากนั้นผู้ประกอบการได้มีความสนใจที่จะปลูกกล้วย จำนวน 3 ไร่ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ซึ่งเป็นกล้วยหอมทองปลอดสารพิษใช้ระยะเวลาในการปลูก 7 – 9 เดือน พอเข้าเดือนที่ 10 – 11 ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายขายให้กับให้กับกลุ่มวิสาหกิจกล้วยหอมสานน้ำโขงและลูกค้าทั่วไป
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ผู้ประกอบการประสบปัญหากล้วยที่ไม่ได้คุณภาพ กล้วยมีผิวขรุขระไม่เรียบสวย จึงทำให้ผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และยังทำให้กล้วยที่มีผิวขรุขระนี้ราคาต่ำ ผู้ประกอบการมีความต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้กับกล้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทอง (ข้าวเกรียบกล้วยหอมทอง)

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ( SWOT Analysis )
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ( 5 Forces Model )
- การวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด ( Marketing Mix )
- การวิเคราะห์ต้นทุน- จุดคุ้มทุน ( Cost Analysis - Break even point )
- บรรจุภัณฑ์

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว โดยกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นกล้วยหอมที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไปจัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ Escherichia coli
เป็นต้น กล้วยหอมถูกจัดเป็นผลไม้เมืองร้อน สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค ที่มา : ( พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย )
ผู้ประกอบการ ชื่อ นางเพ็ญ ประสบศิลป์ ปัจจุบันประกอบอาชีพ เกษตรกร
อาชีพหลักเลี้ยงปลา ผู้ประกอบการมีอาชีพเสริม คือ ปลูกสวนยาง เพาะเห็ด ปลูกกล้วย ปลูกข้าว ปลูกอ้อย ที่สามารถจำหน่ายและบริโภคได้ตลอดทั้งปี ฟาร์มแม่เพ็ญตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 51 หมู่ที่ 15
ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด 24 ไร่ เริ่มแรกผู้ประกอบการได้ทำการเกษตรแค่ปลูกข้าวจำนวน 10 ไร่ พื้นที่ที่เหลือเป็นป่าดงดิบผู้ประกอบการจึงได้คิดริเริ่มทำการลงทุนปลูกสวนยางในปี 52 จำนวน 4 ไร่ ทำมาได้สักพักเศรษฐกิจก็ไม่ค่อยดี ผู้ประกอบการจึงหันมาทำฟาร์มเห็ดในปี 57 จำนวน 1 ไร่ ปีถัดมาปี 58 ได้ลงทุนปลูกสวนอ้อยจำนวน 1 ไร่ และบ่อปลาดุกจำนวน 5 ไร่ ในปีเดียวกัน หลังจากนั้นผู้ประกอบการได้มีความสนใจที่จะปลูกกล้วยในปี 59 จำนวน 3 ไร่ ซึ่งเป็นกล้วยหอมทองปลอดสารพิษใช้ระยะเวลาในปลูก 7 – 9 เดือน พอเข้าเดือนที่ 10 – 11 ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายขายให้กับให้กับกลุ่มวิสาหกิจกล้วยหอมสานน้ำโขงและลูกค้าทั่วไป
ผู้ประกอบการประสบปัญหากล้วยที่ไม่ได้คุณภาพ กล้วยมีผิวขรุขระไม่เรียบสวย จึงทำให้ผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และยังทำให้กล้วยที่มีผิวขรุขระนี้ราคาต่ำ ผู้ประกอบการมีความต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้กับกล้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการ

ดังนั้น คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหาจึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่สามารถมาพัฒนากล้วยหอมที่ไม่ได้คุณภาพ คณะผู้จัดทำจึงได้ทราบแนวทางแก้ไข้ปัญหานี้พบว่าสิ่งที่สามารถพัฒนากล้วยหอมได้คือ การทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอม ปัญหาดังกล่าวคือการทดลองทำผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกล้วยหอมซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีใครได้ทำในชุมชนและได้

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 13:39 น.