โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงมหาชนก

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงมหาชนก

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงมหาชนก
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานร่วม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงมหาชนก
ชื่อชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงมหาชนก
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวอภิญญา ภูมิสายดอน
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีกา
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มิถุนายน 2562 -
งบประมาณ 15,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ หนองกุงศรี หนองกุงศรี place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นแหล่งพื้นที่ในการเพาะปลูกมะม่วงพันธุ์มหาชนกที่สำคัญและมีศักยภาพทั้งในการพัฒนาและการส่งออกของประเทศ โดยในพื้นที่อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ปีนี้ มีเกษตรกรหันมาปลูกมะม่วงพันธุ์มหาชนกมากขึ้น รวมเป็นพื้นที่ขณะนี้กว่า 1,000 ไร่ ส่งออกมะม่วงพันธุ์มหาชนกไปต่างประเทศมูลค่ากว่า 30 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเกษตรกรส่งผลผลิตผ่านบริษัทเอกชนที่เข้ามารับซื้อเพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น จีน รัสเซีย และประเทศแถบยุโรป คิดเป็นปริมาณร้อยละ 90 ส่งออกยังต่างประเทศ ส่วนที่เหลือจำหน่ายในพื้นที่และนำมาแปรรูปหลากหลาย เช่น แยมมะม่วง น้ำปั่นมะม่วง มะม่วงกวน เป็นต้น (วิภาดา รัตนโรจนา, 2558)
มะม่วงพันธุ์มหาชนกเป็นมะม่วงที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ซันเซทกับพันธุ์หนังกลางวัน ซึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของมะม่วงพันธุ์มหาชนกนี้เหมาะต่อการส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศ เนื่องจากมีเปลือกหนามีสีเปลือกของผลเหลืองสวยงามสามารถวางจำหน่ายได้เป็นเวลานาน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติหวานอมเปรี้ยว (เปรมปรี ณ สงขลา และรวี เสรฐภักดี, 2542) นอกจากนี้ในเนื้อมะม่วงพันธุ์มหาชนกในระยะผลสุกจะมีปริมาณสารแคโรทีนอยด์มากถึง 8.2 กรัมต่อ 100 กรัมของเนื้อมะม่วง และยังพบปริมาณแอนโทไซยานินเท่ากับ 0.23 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักสด ทั้งนี้ยังมีปริมาณร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระในเนื้อมะม่วงระยะผลสุกมีค่าเท่ากับร้อยละ 20.32 (นวลอนงค์ ปุเรนเต, 2555)
อย่างไรก็ตามมะม่วงพันธุ์มหาชนก (เป็นผลไม้ที่ต้องเก็บเกี่ยวตามฤดูกาลซึ่งผลผลิตในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมออกพร้อมกันจึงทำให้เกิดปัญหาการล้นตลาด เกษตรกรจำหน่ายออกไปไม่ทัน รวมไปถึงราคาจำหน่ายตกต่ำอีกด้วย ซึ่งจากเดิมเกษตรกรจำหน่ายได้ในราคา 60-70 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงต้นฤดู (เดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน) ลดลงเป็น 20-25 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลที่ไม่ได้ขนาดตามมาตรฐานการส่งออกก็จำหน่ายได้ราคาต่ำเช่นกัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้มะม่วงมีราคาตกต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นในฤดูมรสุมมีฝนฟ้าและลมแรงยังทำให้มะม่วงดิบหล่นเสียหาย ดังนั้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับมะม่วงพันธุ์มหาชกที่จำหน่ายได้ในราคาต่ำและเพิ่มความหลากหลายให้ผลิตภัณฑ์ จึงมีแนวคิดที่จะนำมะม่วงพันธุ์มหาชกทั้งระยะดิบและสุกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากมะม่วงมหาชนกให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นแหล่งพื้นที่ในการเพาะปลูกมะม่วงพันธุ์มหาชนกที่สำคัญและมีศักยภาพทั้งในการพัฒนาและการส่งออกของประเทศ โดยในพื้นที่อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ปีนี้ มีเกษตรกรหันมาปลูกมะม่วงพันธุ์มหาชนกมากขึ้น รวมเป็นพื้นที่ขณะนี้กว่า 1,000 ไร่ ส่งออกมะม่วงพันธุ์มหาชนกไปต่างประเทศมูลค่ากว่า 30 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเกษตรกรส่งผลผลิตผ่านบริษัทเอกชนที่เข้ามารับซื้อเพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น จีน รัสเซีย และประเทศแถบยุโรป คิดเป็นปริมาณร้อยละ 90 ส่งออกยังต่างประเทศ ส่วนที่เหลือจำหน่ายในพื้นที่และนำมาแปรรูปหลากหลาย เช่น แยมมะม่วง น้ำปั่นมะม่วง มะม่วงกวน เป็นต้น (วิภาดา รัตนโรจนา, 2558)
มะม่วงพันธุ์มหาชนกเป็นมะม่วงที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ซันเซทกับพันธุ์หนังกลางวัน ซึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของมะม่วงพันธุ์มหาชนกนี้เหมาะต่อการส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศ เนื่องจากมีเปลือกหนามีสีเปลือกของผลเหลืองสวยงามสามารถวางจำหน่ายได้เป็นเวลานาน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติหวานอมเปรี้ยว (เปรมปรี ณ สงขลา และรวี เสรฐภักดี, 2542) นอกจากนี้ในเนื้อมะม่วงพันธุ์มหาชนกในระยะผลสุกจะมีปริมาณสารแคโรทีนอยด์มากถึง 8.2 กรัมต่อ 100 กรัมของเนื้อมะม่วง และยังพบปริมาณแอนโทไซยานินเท่ากับ 0.23 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักสด ทั้งนี้ยังมีปริมาณร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระในเนื้อมะม่วงระยะผลสุกมีค่าเท่ากับร้อยละ 20.32 (นวลอนงค์ ปุเรนเต, 2555)
อย่างไรก็ตามมะม่วงพันธุ์มหาชนก (เป็นผลไม้ที่ต้องเก็บเกี่ยวตามฤดูกาลซึ่งผลผลิตในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมออกพร้อมกันจึงทำให้เกิดปัญหาการล้นตลาด เกษตรกรจำหน่ายออกไปไม่ทัน รวมไปถึงราคาจำหน่ายตกต่ำอีกด้วย ซึ่งจากเดิมเกษตรกรจำหน่ายได้ในราคา 60-70 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงต้นฤดู (เดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน) ลดลงเป็น 20-25 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลที่ไม่ได้ขนาดตามมาตรฐานการส่งออกก็จำหน่ายได้ราคาต่ำเช่นกัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้มะม่วงมีราคาตกต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นในฤดูมรสุมมีฝนฟ้าและลมแรงยังทำให้มะม่วงดิบหล่นเสียหาย ดังนั้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับมะม่วงพันธุ์มหาชกที่จำหน่ายได้ในราคาต่ำและเพิ่มความหลากหลายให้ผลิตภัณฑ์ จึงมีแนวคิดที่จะนำมะม่วงพันธุ์มหาชกทั้งระยะดิบและสุกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากมะม่วงมหาชนกให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Thanyakon Thanyakon เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 10:16 น.