การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทอง : กรณีศึกษาฟาร์มแม่เพ็ญ บ้านม่วง ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทอง : กรณีศึกษาฟาร์มแม่เพ็ญ บ้านม่วง ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทอง : กรณีศึกษาฟาร์มแม่เพ็ญ บ้านม่วง ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทั่วไป
หน่วยงานร่วม ฟาร์มแม่เพ็ญ บ้านม่วง ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ชื่อชุมชน ฟาร์มแม่เพ็ญ บ้านม่วง ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์วฤธรณ์ ตุลย์ณวัฒน์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ปฐมาวดี หาระพัด , วรัญญา เหลาแก้ว , วิสุดา กันยาตี , สุจินดา สีหาสุทธิ์
การติดต่อ 0894221212
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 30 พฤศจิกายน 2561
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
อุดรธานี บ้านผือ จำปาโมง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ผู้ประกอบการ ชื่อ นางเพ็ญ ประสบศิลป์ ชื่อสถานที่ประกอบการฟาร์มแม่เพ็ญ ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 51 หมู่ที่ 15 ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 41160 มีเนื้อที่ทั้งหมด 24 ไร่ เริ่มแรกผู้ประกอบการได้ทำการเกษตรแค่ปลูกข้าวจำนวน 10 ไร่ พื้นที่ที่เหลือเป็นป่าดงดิบผู้ประกอบการจึงได้คิดริเริ่มทำการลงทุนปลูกสวนยางในปี 52 จำนวน 4 ไร่ ทำมาได้สักพักเศรษฐกิจก็ไม่ค่อยดี ผู้ประกอบการจึงหันมาทำฟาร์มเห็ดในปี 57 จำนวน 1 ไร่ ปีถัดมาปี 58 ได้ลงทุนปลูกสวนอ้อยจำนวน 1 ไร่ และบ่อปลาดุกจำนวน 5 ไร่ ในปีเดียวกัน หลังจากนั้นผู้ประกอบการได้มีความสนใจที่จะปลูกกล้วย จำนวน 3 ไร่ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ซึ่งเป็นกล้วยหอมทองปลอดสารพิษใช้ระยะเวลาในการปลูก 7 – 9 เดือน พอเข้าเดือนที่ 10 – 11 ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายขายให้กับให้กับกลุ่มวิสาหกิจกล้วยหอมสานน้ำโขงและลูกค้าทั่วไป
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัญหากล้วยที่ไม่ได้คุณภาพ กล้วยมีผิวขรุขระไม่เรียบสวย จึงทำให้ผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และยังทำให้กล้วยที่มีผิวขรุขระนี้ราคาต่ำ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว โดยกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นกล้วยหอมที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไปจัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ Escherichia coli
เป็นต้น กล้วยหอมถูกจัดเป็นผลไม้เมืองร้อน สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค ที่มา : ( พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ) ผู้ประกอบการ ชื่อ นางเพ็ญ ประสบศิลป์ ปัจจุบันประกอบอาชีพ เกษตรกร อาชีพหลักเลี้ยงปลา ผู้ประกอบการมีอาชีพเสริม คือ ปลูกสวนยาง เพาะเห็ด ปลูกกล้วย ปลูกข้าว ปลูกอ้อย ที่สามารถจำหน่ายและบริโภคได้ตลอดทั้งปี ฟาร์มแม่เพ็ญตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 51 หมู่ที่ 15 ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด 24 ไร่ เริ่มแรกผู้ประกอบการได้ทำการเกษตรแค่ปลูกข้าวจำนวน 10 ไร่ พื้นที่ที่เหลือเป็นป่าดงดิบผู้ประกอบการจึงได้คิดริเริ่มทำการลงทุนปลูกสวนยางในปี 52 จำนวน 4 ไร่ ทำมาได้สักพักเศรษฐกิจก็ไม่ค่อยดี ผู้ประกอบการจึงหันมาทำฟาร์มเห็ดในปี 57 จำนวน 1 ไร่ ปีถัดมาปี 58 ได้ลงทุนปลูกสวนอ้อยจำนวน 1 ไร่ และบ่อปลาดุกจำนวน 5 ไร่ ในปีเดียวกัน หลังจากนั้นผู้ประกอบการได้มีความสนใจที่จะปลูกกล้วยในปี 59 จำนวน 3 ไร่ ซึ่งเป็นกล้วยหอมทองปลอดสารพิษใช้ระยะเวลาในปลูก 7 – 9 เดือน พอเข้าเดือนที่ 10 – 11 ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายขายให้กับให้กับกลุ่มวิสาหกิจกล้วยหอมสานน้ำโขงและลูกค้าทั่วไป ผู้ประกอบการประสบปัญหากล้วยที่ไม่ได้คุณภาพ กล้วยมีผิวขรุขระไม่เรียบสวย จึงทำให้ผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และยังทำให้กล้วยที่มีผิวขรุขระนี้ราคาต่ำ ผู้ประกอบการมีความต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้กับกล้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการ

ดังนั้น คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหาจึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่สามารถมาพัฒนากล้วยหอมที่ไม่ได้คุณภาพ คณะผู้จัดทำจึงได้ทราบแนวทางแก้ไข้ปัญหานี้พบว่าสิ่งที่สามารถพัฒนากล้วยหอมได้คือ การทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอม ปัญหาดังกล่าวคือการทดลองทำผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกล้วยหอมซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีใครได้ทำในชุมชนและได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการทำให้กล้วยที่เหลือจากการคัดออกและนำเข้าสู่กระบวนการผลิตให้เป็นข้าวเกรียบกล้วยหอมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเดิมที่ทำกล้วยหอมทอด

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 11:19 น.