โครงการการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการจากไม้ผล/ประมง/ปศุสัตว์ : ทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรสวนยางในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำโขง

โครงการการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการจากไม้ผล/ประมง/ปศุสัตว์ : ทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรสวนยางในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำโขง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการจากไม้ผล/ประมง/ปศุสัตว์ : ทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรสวนยางในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำโขง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
หน่วยงานหลัก คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร
หน่วยงานร่วม คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร 310 หมู่ 3 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
ชื่อชุมชน ต.เซกา อ.เซกา จ.บึงกาฬ,ต.วังหลวง อ.เฝ้าไร จ.หนองคาย,ต.โนนตาล อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม,ต.ชะโนดน้อย อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร,ต.สุวรรณคาม อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.สิทธิชัย ฮะทะโชติ , ผศ.ดร.เกตุนภัส ศรีไพโรจน์, ดร.พิชาศิษฐ์ แสงเมฆ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มูลนิธิปิดทองหลังพระ, คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน, ศุนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ผศ.สิทธิชัย ฮะทะโชติ , ผศ.ดร.เกตุนภัส ศรีไพโรจน์, ดร.พิชาศิษฐ์ แสงเมฆ, ดร.สุขกฤช นิมิตรกุล, นาย ณัฐพงษ์ ปานขาว, นาย โพธิ์ฆินทร์ โทนแก้ว, นาย พัฒนา เชื้อกะโซ่, นางสาว ชลธิชา ชอบประดิษฐ์, นางสาว นิยาดา อุ่มภูธร, นางสาว ธารทิพย์ ปัตตะละโพธิ์
การติดต่อ 0897109757
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 1,500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
มุกดาหาร ดงหลวง ชะโนดน้อย place directions
นครพนม ท่าอุเทน โนนตาล ชนบท place directions
บึงกาฬ เซกา ชนบท place directions
หนองคาย เฝ้าไร่ ชนบท place directions
สกลนคร นิคม น้ำอูน สุวรรณคาม ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพแวดล้อมทั่วไปของเกษตรกรในเขตพื้นที่ 5 จังหวัด หนองคาย,บึงกาฬ,นครพนม,มุกดาหารและสกลนคร พบว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจของเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยพื้นที่การปลูกยางพารานั้นมักจะมีแหล่งเก็บน้ำที่มีน้ำตลอดทั้งปีอยู่แล้ว กอรปกับ วงรอบการเลี้ยงของสัตว์น้ำจืดยังมีระยะที่สั้นทำให้มีรายได้สม่ำเสมอ วัตถุดิบและอาหารในการเลี้ยงก็สามารถหาได้ง่ายในพื้นและมีราคาถูก อีกทั้งความต้องการของตลาดในพื้นที่ที่มีค่อนข้างสูง
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากรของเกษตรกร ทั้ง 5 จังหวัด ส่วนใหญ่มีบ่อเก็บกังน้ำอยู่แล้วแต่ไม่ได้เลี้ยงปลาเพื่อขาย ถ้าได้รับการปรับปรุงก็จะมีความเหมาะสมที่จะเลี้ยงปลานิล ปลาหมอ ปลาดุก ซึ่งเป็นปลาที่หาง่าย เลี้ยงง่าย โตเร็ว ขายได้ราคาดี ตรงกับความต้องการของตลาดชุมชน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
จากการออกสำรวจพื้นที่ของนักวิจัยพบว่าพื้นที่ในบริเวณจังหวัดเป้าหมายนั้น มีคุณภาพน้ำเหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ขาดแต่เพียงค่าความเป็นด่าง (alkalinity) ที่มีค่าต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมในช่วง 75-200 mg/l as CaCO3 (Wurts and Durborow, 1992) โดยพบว่าค่าความเป็นด่างจะอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 30-40 mg/l as CaCO3 ทั้งนี้ค่า alkalinity ในช่วงที่เหมาะสม มีคุณสมบัติต้านทานการเปลี่ยนแปลงของ pH ในแหล่งน้ำ ช่วยในการเจริญเติบโตของอาหารธรรมชาติ การเพิ่มค่า alkalinity สามารถทำได้โดยการเติมวัสดุปูน (CaCO3) หรือโดโลไมด์ (CaMg(CO3)2) การสะสมซากสารอินทรีย์ที่พื้นบ่อก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของค่า alkalinity ที่ต่ำเนื่องจากการย่อยสลาย
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
เกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ได้รับการถ่ายทอดเทคความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถที่จะนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในการสร้างรายได้เสริมจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างเหมาะสมเต็มตามศักยภาพของพื้นที่ มีระบบการแก้ปัญหาตามหลักวิชาการ เข้าถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้ครัวเรือนสูงขึ้น มีการใช้ประโยชน์พื้นที่สวนยางพาราให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

โครงการมีจุดมุ่งหมายที่จะถ่ายทอดความรู้พื้นฐานและนำเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยใช้การถ่ายทอดของผู้เชี่ยวชาญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหลากหลายสาขา เช่นการเตรียมสถานที่เลี้ยง การทำอาหารสัตว์น้ำเบื้องต้น ความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมเบื้องต้นของสัตว์น้ำ การเข้าถึงลูกพันธุ์ที่ได้คุณภาพราคาถูก ตลอดจนมีการติดตามการเลี้ยง มีระบบให้คำปรึกษาผ่านทางแอพลิเคชั่น การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การป้องกันรักษาโรค การจดบันทึกการเลี้ยง และการคำนวณต้นทุนผลตอบแทน เป็นต้น

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ภายการดำเนินโครงการจะนำเอาเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างง่าย เช่น เทคโนโลยีการใช้ปูนและปุ๋ยสั่งตัดในการเตรียมบ่อเลี้ยง เทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์น้ำอย่างง่าย เทคโนโลยีการสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยงเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยง เป็นต้น ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรในพื้นที่ 5 จังหวัด ผ่านการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน ผลที่ได้จาการทำวิจัยในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนของพื้นที่ และมีการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องเกษตรกรที่สนใจในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning เรียนรู้ผ่านปัญหาที่พบเจอในหน้างานจริง โดยมีอาจารย์คอยเป็นโค้ชให้นิสิตในการลงพื้นที่คอยดูแลเกษตรกรที่ร่วมโครงการ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำจืด
  • โครงการการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณา
  • ด้านประมง
  • บูรณาการการเรียนการสอน
  • ยกระดับคุณภาพชีวิต

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

  • เกษตรริมโขง การวัดค่าความกระด้างของน้ำ
  • ปัญหาปลาลอยหัวตอนเช้า
  • เกษตรริมโขง
  • เกษตรริมโขง การวัดค่าความเป็นด่างของน้ำ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Assists prof. sittichai hatachote Assists prof. sittichai hatachote เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 16:09 น.