โครงการการผลิตแมลงเบียนเพื่อกำจัดแมลงวัน ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

โครงการการผลิตแมลงเบียนเพื่อกำจัดแมลงวัน ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการการผลิตแมลงเบียนเพื่อกำจัดแมลงวัน ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.อโนทัย วิงสระน้อย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0857407755
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร วาริชภูมิ ค้อเขียว place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
แมลงวันเป็นแมลงที่มีความสำคัญทำให้สภาพแวดล้อมภายในฟาร์มเสีย กลิ่น และแมลงวันจำนวน มากรบกวนผู้อาศัยรอบข้างในฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำนวนมากประสบปัญหาเรื่องแมลงวันสร้างความรำคาญหากตัวเต็มวัยแมลงวันดูดกินเลือดโคและกระบือจะส่งผลให้น้ำหนักตัวสัตว์ ประสิทธิภาพในการกินอาหารและการผลิตน้ำนมลดลง
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
กำจัดแมลงวันโดยไม่ใช้สารเคมี เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างในร่างกายและในผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

นำองค์ความรู้จากโครงการวิจัยเรื่อง “ความหลากชนิดและชีววิทยาของแมลงเบียนแมลงวันในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากสำนักบริหารโครงการส่งเสริมวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2558 และผลงานวิจัยจากโครงการเรื่อง “ผลของระดับความลึก ชนิดและอายุของแมลงเบียนต่อประสิทธิภาพการเบียนของแมลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้านและการใช้ประโยชน์” และ “การศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงแมลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้าน Spalangia gimina” ที่ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2557-2558 และ 2560-2561 มาถ่ายทอดสู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเกษตรกรให้รู้จัก เข้าใจ สามารถเพาะเลี้ยงแมลงเบียน และนำแมลงเบียนไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงวันแทนการใช้สารเคมีและช่วยอนุรักษ์แมลงเบียนให้คงอยู่ในสภาพแวดล้อมต่อไป

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

แมลงวันเป็นแมลงที่มีความสำคัญทำให้สภาพแวดล้อมภายในฟาร์มเสีย กลิ่น และแมลงวันจำนวน มากรบกวนผู้อาศัยรอบข้างในฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำนวนมากประสบปัญหาเรื่องแมลงวันสร้างความรำคาญหากตัวเต็มวัยแมลงวันดูดกินเลือดโคและกระบือจะส่งผลให้น้ำหนักตัวสัตว์ ประสิทธิภาพในการกินอาหารและการผลิตน้ำนมลดลง ส่งผลให้น้ำหนักตัวโคลดลง 0.22 กก. ต่อวัน และการผลิตน้ำนมลดลง 30-40% เกษตรกรมีการใช้สารเคมีต่างๆ เสียเงินค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งค่อนข้างสูง แต่ปริมาณแมลงวันไม่ได้ลดลง กลับพบปัญหาสารเคมีตกค้างในสภาพแวดล้อมตามมา ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค การใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงเบียนซึ่งเป็นวิธีการควบคุมที่ปลอดภัยและเฉพาะเจาะจงต่อแมลงวันจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เหมาะสำหรับการน่าจะนำมาใช้ในการควบคุมแมลงวัน ในสภาพธรรมชาติพบแมลงเบียนเข้าทำลายดักแด้ของแมลงวัน 4 ชนิด 2 วงศ์ โดยแมลงเบียนสามารถเข้าทำลายดักแด้แมลงวันบ้านและแมลงวันคอกสัตว์ได้ถึง 50% ส่งผลให้จำนวนประชากรแมลงวันลดลงเนื่องจากระยะตัวหนอนของแมลงเบียนกัดกินเนื้อเหยื่อภายในของดักแด้แมลงวัน ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยและตายในที่สุด คุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของแมลงเบียนคือ มีความเฉพาะเจาะจงต่อเหยื่อสูง ทำให้แมลงเบียนมีศักยภาพสูง ในการนำมาใช้ควบคุมประชากรแมลงวัน ไม่มีอันตรายกับสัตว์ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และนอกจากนี้ช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีที่เกิดการตกค้างในสภาพแวดล้อมด้วย แมลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้านสามารถขยายพันธุ์โดยมีแมลงวันบ้านเป็นแมลงอาศัย จากข้อมูลดังกล่าวเบื้องต้นทำให้ผู้เสนอโครงการเล็งเห็นความสำคัญของแมลงเบียนในการควบคุมประชากรแมลงวัน จึงมุ่งที่จะนำองค์ความรู้จากโครงการวิจัยเรื่อง “ความหลากชนิดและชีววิทยาของแมลงเบียนแมลงวันในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากสำนักบริหารโครงการส่งเสริมวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2558 และผลงานวิจัยจากโครงการเรื่อง “ผลของระดับความลึก ชนิดและอายุของแมลงเบียนต่อประสิทธิภาพการเบียนของแมลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้านและการใช้ประโยชน์” และ “การศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงแมลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้าน Spalangia gimina” ที่ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2557-2558 และ 2560-2561 มาถ่ายทอดสู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเกษตรกรให้รู้จัก เข้าใจ สามารถเพาะเลี้ยงแมลงเบียน และนำแมลงเบียนไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงวันแทนการใช้สารเคมีและช่วยอนุรักษ์แมลงเบียนให้คงอยู่ในสภาพแวดล้อมต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การกำจัดแมลงวัน
  • แมลงเบียน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย monteearu monteearu เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 14:42 น.