โครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในชุมชนด้วยสันติวิธี

โครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในชุมชนด้วยสันติวิธี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในชุมชนด้วยสันติวิธี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน่วยงานหลัก กองส่งเสริมการบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ชื่อชุมชน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.สมคิด คำแหง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ที่ 9 ตำบลท่าโพธ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 055968628
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคเหนือ place directions
อุทัยธานี ทัพทัน ตลุกดู่ place directions
อุทัยธานี ห้วยคต ห้วยคต place directions
นครสวรรค์ บรรพตพิสัย ตาสัง place directions
นครสวรรค์ ไพศาลี สำโรงชัย place directions
กำแพงเพชร ขาณุวรลักษบุรี วังหามแห place directions
กำแพงเพชร ทุ่งทราย ทุ่งทอง place directions
กำแพงเพชร ทุ่งทราย ทุ่งทราย place directions
กำแพงเพชร คลองขลุง คลองขลุง place directions
กำแพงเพชร ลานกระบือ ลานกระบือ place directions
สุโขทัย คีรีมาศ บ้านป้อม place directions
สุโขทัย คีรีมาศ หนองกระดิ่ง place directions
สุโขทัย สวรรคโลก ท่าทอง place directions
ตาก อุ้มผาง อุ้มผาง place directions
อุตรดิตถ์ ตรอน น้ำอ่าง place directions
อุตรดิตถ์ ฟากท่า สองคอน place directions
อุตรดิตถ์ ท่าปลา จริม place directions
เพชรบูรณ์ หล่มเก่า หล่มเก่า place directions
เพชรบูรณ์ เขาค้อ เขาค้อ place directions
เพชรบูรณ์ วังโป่ง ท้ายดง place directions
พิจิตร ตะพานหิน คลองคูณ place directions
พิจิตร เมืองพิจิตร เมืองเก่า place directions
พิจิตร วังทรายพูน วังทรายพูน place directions
พิษณุโลก บางกระทุ่ม บางกระทุ่ม place directions
พิษณุโลก บางระกำ วังอิทก place directions
พิษณุโลก เมืองพิษณุโลก งิ้วงาม place directions
พิษณุโลก นครไทย เนินเพิ่ม place directions
พิษณุโลก วังทอง พันชาลี place directions
พิษณุโลก วังทอง แม่ระกา place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. องค์ความรู้ทางด้าน สาธารณสุขศาสตร์
2. องค์ความรู้ทางด้าน เศรษฐกิจชุมชน
3. องค์ความรู้ทางด้าน สิ่งแวดล้อม
4. องค์ความรู้ทางด้าน สังคม
5. องค์ความรู้ทางด้าน การบริหารจัดการชุมชน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

สังคมไทยในปัจจุบันมีความแตกแยกทางความคิดอย่างกว้างขวางในสังคมไทยที่ยืดเยื้อมานานสะท้อนให้เห็นความจริงที่ว่าไม่มีความคิดเห็นของฝ่ายใดที่ถูกหรือผิดไปเสียทั้งหมด ท่ามกลางสภาวะความขัดแย้งในปัจจุบันที่แต่ละฝ่ายยังคงยืดมั่นอยู่ในจุดยืนของตนเอง สิ่งที่ต้องริเริ่มดำเนินการโดยเร็วคือ การสร้างบรรยายการแห่งการปกครองที่ดีดังนั้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) จึงให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูพื้นฐานด้านความมั่นคงที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติของผู้มีความเห็นต่างทางความคิดและอุดมการณ์บนพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมาหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์และการผลักดันการปฏิรูปประเทศให้บรรลุผลสำเร็จ จำเป็นที่จะต้องการสร้างการรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ตั้งแต่ระดับฐานรากให้มั่นคงคือ ระดับชุมชนเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างผาสุข และขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน/หมู่บ้านของตนเองโดยปราศจากความขัดแย้งต่อไป
การขับเคลื่อนโครงการไปสู่การปฏิบัติ ต้องอาศัยกลุ่มบุคคลแต่ละภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโดยเฉพาะระดับที่เล็กที่สุดของประเทศคือ คณะบุคคลตามกฎหมายที่เรียกว่า “คณะกรรมการหมู่บ้าน” หรือ กม. โดยกำเนิดขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 28 ตรี และมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการหมู่บ้าน 6 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านอำนวยการ 2.ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย 3.ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน 4.ด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ 5.ด้านสังคม สิ่งแวดล้อมสาธารณสุข และ 6.ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นกำลังหลักให้กับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐต่างๆในการสอดส่องดูแลและประสานความสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ และความเข้าใจ ที่ถูกต้องในระดับชุมชน/หมู่บ้านผ่านกิจกรรมการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาร่วมกันโดยทุกคนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการร่วมรับผลประโยชน์ร่วมกันต่อไป
ดังนั้น มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยกองพัฒนาศักยภาพชุมชนและทุนมนุษย์ เห็นถึงความสำคัญของการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลด้านการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในระดับชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาทางความคิดที่สำคัญที่สุดของประเทศ จึงจัดทำโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในชุมชนด้วยสันติวิธี ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมุ่งส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการรับรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องในการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชุมชน และลดปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง ตลอดจนเป็นการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของประชาชน อีกทั้งเพื่อเป็นการต่อยอดโครงการสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ (งบประมาณ พ.ศ. 2560) ที่มีการรวบรวมประเด็นปัญหา กรณีศึกษาของชุมชน และนำมาใช้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาและการสร้างความสัมพันธ์อันดี ทั้งนี้ การดำเนินโครงการจะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้จากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และสร้างทัศนคติเชิงบวกในการอยู่ร่วมกัน การทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในด้านต่างๆ โดยอาศัยคณะกรรมหมู่บ้านในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ตาก นครสวรรค์ และอุทัยธานี มาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันภายในชุมชน และดำเนินกิจกรรมร่วมกันชุมชนในการต่อยอดองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชุมชนด้านต่างๆ และสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แนวทางการแก้ไขปัญหาและนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนด้วยแนวทางสันติวิธีต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย jantana8628 jantana8628 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 13:20 น.