เทคโนโลยีกังหันเติมอากาศแบบทุ่นลอยด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชนต้นแบบเลี้ยงกุ้งอัจฉริยะสีเขียว

เทคโนโลยีกังหันเติมอากาศแบบทุ่นลอยด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชนต้นแบบเลี้ยงกุ้งอัจฉริยะสีเขียว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ เทคโนโลยีกังหันเติมอากาศแบบทุ่นลอยด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชนต้นแบบเลี้ยงกุ้งอัจฉริยะสีเขียว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
ชื่อชุมชน ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชวิศร ปูคะภาค
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 80 ถนนนครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0834565335
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศแห่งการเกษตรกรรม ซึ่งเกษตรกรมีการเลี้ยงสัตว์น้ำกันอย่างแพร่หลายเช่น กุ้งและปลา อาจจะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์หรือเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนและปัจจัยในการเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นขึ้นอยู่กับหลายๆอย่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (dissolved oxygen) เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ และการเติบโตของสัตว์น้ำในบ่อเพาะเลี้ยง (ศูนย์วิจัยพลังงาน, 2555) โดยที่ออกซิเจนจะถูกสัตว์น้ำนำไปใช้กระบวนการการหายใจ และจุลินทรีย์ในกลุ่ม aerobic จะนำไปใช๎ในกระบวนการย่อยของเสียอินทรีย์จึงส่งผลให้น้ำในบ่อมีคุณภาพดี ทั้งนี้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นไม่ควรปล่อยให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำต่ำกว่า 4 มิลลิกรัมออกซิเจนต่อลิตร หากพบว่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำต่ำกว่าค่าดังกล่าว (ศิริวรรณ ทำนุและคณะ, 2561) อาจส่งผลให้สัตว์น้ำตายได้ กระบวนการเติมอากาศจะเกิดขึ้นจากการแพร่หรือการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องเติมอากาศ ซึ่งการสัมผัสกันระหว่างน้ำ (ของเหลว) และอากาศ (ก๊าซ) เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการการถ่ายโอนออกซิเจน เพราะก๊าซจะสามารถถ่ายเทไปสู่ของเหลวได้ ดังนั้นขนาดของฟองอากาศที่เติมเข้าสู่บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็มีส่วนต่อประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจน (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2551) โดยที่ฟองอากาศขนาดเล็กจะมีพื้นที่ผิวในการสัมผัสน้ำสูงกว่าฟองขนาดใหญ่ และอีกหลายปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเติมอากาศ เช่น แรงดัน อากาศ (air pressure) แรงดันน้า (hydrostatical pressure) และความเค็ม (salt content) เป็นต้น
การเติมออกซิเจนในบ่อเลี้ยงปลาตลอดทั้งวัน โดยการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งจ่ายให้กับกังหันเติมอากาศเพียงอย่างเดียวนั้นส่งผลให้เกษตรกรเสียค่าใช้จ่ายสูง จากปัญหาดังกล่า มีหลายๆงานวิจัย (Agus et al.(2013), (Chonmapat et al.(2016), (Igib et al.(1993), and (Mohammad et al.(2016) ได้นำหลักการ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อพัฒนาร่วมกับระบบกังหันเติมอากาศ เช่น ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย และเติมอากาศในบ่อ เป็นต้น
จากการศึกษากรณีบ่อเลี้ยงกุ้ง บ้านโนนหัวช้าง ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นแหล่งชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เขตเขื่อนลำปาว มีอาชีพในการเลี้ยงกุ้งและจับสัตว์น้ำมาจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ปัญหาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม ที่เกิดจากน้ำท่วมหรือภัยแล้ง ชึ่งในช่วงที่เกิดภัยแล้งหรือช่วงหน้าร้อนจะทำให้ปริมาณน้ำลดลงและเริ่มอยู่นิ่งไม่มีการไหลเวียน อุณหภูมิจะสูงขึ้นและอากาศจะร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยอาจต่อเนื่องยาวนานหลายเดือน จากสภาวะดังกล่าวอาจทำให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นรวมทั้งปริมาณออกซิเจนในน้ำลดต่ำกว่าค่ามาตรฐาน อีกทั้งไม่มีการไหลเวียนของกระแสน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้กุ้งที่เกษตรกรเลี้ยงไว้เกิดความเครียด อ่อนแอและมีความทนทานต่อโรคต่ำลงส่งผลให้กุ้งตายเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาดทุนและเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาลงทุน
ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีกังหันเติมอากาศแบบทุ่นลอยด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเติมออกซิเจนในบ่อเลี้ยงกุ้งเพื่อช่วยเพิ่มค่าออกซิเจนในน้ำ เป็นการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในภาคการประมง เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันเวลา ลดการตายของสัตว์น้ำและเป็นการพัฒนาเกษตรกรเข้าสู่ Smart Shrimp Farmer เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตในการเลี้ยงกุ้งให้แก่กลุ่มชุมชน รวมทั้งเป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาในการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรที่ยังเป็นการเลี้ยงรูปแบบเดิมที่ได้ผลผลิตต่ำและพัฒนาระบบให้เป็นชุมชนต้นแบบเลี้ยงกุ้งอัจฉริยะสีเขียวอย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัยสู่ชุมชนและท้องถิ่น
2. เพื่อยกระดับและพัฒนาสินค้าทางการเกษตร
3. เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อโอกาสในการประกอบอาชีพ
4. เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้เทคโนโลยีกังหันเติมอากาศแบบทุ่นลอยด้วยพลังงานแสงอาทิตย์โดยการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน
5. เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการใช้เทคโนโลยีกังหันเติมอากาศแบบทุ่นลอยด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ขยายผลสำหรับหาจุดคุ้มทุนของโครงการ

ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. ด้านวิชาการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีกังหันเติมอากาศแบบทุ่นลอยด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชนต้นแบบเลี้ยงกุ้งอัจฉริยะสีเขียว
2. ด้านสังคม และชุมชน เกิดชุมชนต้นแบบเลี้ยงกุ้งอัจฉริยะสีเขียว โดยการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในภาคการประมง เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันเวลา ลดการตายของสัตว์น้ำและเป็นการพัฒนาเกษตรกรเข้าสู่ Smart Shrimp Farmer เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตในการเลี้ยงกุ้งให้แก่กลุ่มชุมชน รวมทั้งเป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาในการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรที่ยังเป็นการเลี้ยงรูปแบบเดิมที่ได้ผลผลิตต่ำและพัฒนาระบบให้เป็นชุมชนต้นแบบเลี้ยงกุ้งอัจฉริยะสีเขียวอย่างยั่งยืนต่อไป
3. ด้านเศรษฐกิจ สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนต้นแบบเลี้ยงกุ้งและเพิ่มมูลค่าปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพและเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนต้นแบบเลี้ยงกุ้งอัจฉริยะสีเขียว

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กังหันเติมอากาศแบบทุ่นลอย
  • ชุมชนต้นแบบเลี้ยงกุ้งอัจฉริยะสีเขียว
  • พลังงานแสงอาทิตย์

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย chawisorn chawisorn เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 22:28 น.