การนำร่องและขยายการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

การนำร่องและขยายการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การนำร่องและขยายการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานร่วม เทศบาลตำบลหลุบ, ทสจ.กาฬสินธ์
ชื่อชุมชน ตำบลหลุบ
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร. วิษณู สมิตสวรรค์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. 123/2017 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0959545616, visszu@kku.ac.th
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 477,800.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ที่ตั้ง ตำบลหลุบ ตั้งอยู่บริเวณทํางทิศใต้ของอำเภอเมืองกําฬสินธุ์ ระยะห่างจากอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีหมู่บ้านทั้งหมด 16 หมู่บ้าน มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอ และตำบลใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เทศบาลตำบลเหนืออำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ทิศตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ตำบลหลุบ มีเนื้อที่ประมาณ 46.141 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 28,772 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 5.41 ของพื้นที่ทั้งหมดของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะชุมชนปัญหาขยะนำมาซึ่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ อนามัย ความเป็นอยู่ที่ดี คุณภาพที่ดีของประชาชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากผลพวงการบริโภคของประชาชน ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นจนเกินขีดความสามารถของราชการส่วนท้องถิ่นที่จะกำจัดให้หมดไปได้ ปัญหาจึงสะสมมาจนถึงปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้ก็ได้รับการแก้ไขด้วยวิธีการต่าง ๆ และหนึ่งในวิธีการนั้นก็คือ การลดปริมาณขยะด้วยการให้ผู้ทิ้งขยะคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ขยะส่วนหนึ่งที่คัดแยกจะเป็นขยะมีมูลค่านำไป reuse หรือ recycle ได้ ขยะส่วนหนึ่งนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักได้ จึงคงเหลือส่วนที่จะทิ้งน้อยลงการคัดแยกขยะจำเป็นต้องให้ประชาชนผู้ทิ้งขยะยอมรับวิธีการคัดแยก และยอมปฏิบัติตาม นั่นคือ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ซึ่งการวิจัยนี้พบว่ามีแนวทางการดำเนินการได้ 2 แนวทาง คือการใช้กลไกทางการศึกษา โดยให้นักเรียนและครูเป็นผู้มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ภายใต้โครงการการจัดการขยะ ด้วยการให้นักเรียนคัดแยกขยะจากบ้านและนำเอาขยะมีมูลค่า เช่น กระดาษ ขวดแก้ว มาโรงเรียนเพื่อรวบรวมขายยังร้านขายของเก่า ขยะมีมูลค่าบางประเภทครูก็จะสอนให้นำมาแปลงใช้ใหม่โดยใช้วิธีการง่าย ๆ เช่น กระดาษทำเป็นโคมไฟ พลาสติกทำเป็นดอกไม้ เป็นต้น สำหรับขยะที่ขายนั้นนักเรียนเจ้าของขยะจะได้รับสิ่งตอบแทนเป็นคะแนนเรียกว่า คะแนนความดี และสะสมไว้ในธนาคารเรียกว่า ธนาคารความดี เพื่อจะได้เอาคะแนนความดีไปแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของภายหลัง อีกลักษณะหนึ่งของกลไกทางการศึกษานี้คือ โครงการ 3 พลังรวมใจรีไซเคิล มีวิธีการคือ ให้นักเรียนคัดแยกขยะที่บ้านและโรงเรียนตามประเภทที่กำหนดให้ และนำขยะมีมูลค่ามามอบให้โรงเรียนเพื่อนำไปขายเอาเงินไว้ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน แล้วขยายผลการคัดแยกขยะไปสู่ชุมชน ด้วยการหาสมาชิกคัดแยกขยะเพิ่มโดยเริ่มจากนักเรียน ครูในโรงเรียน และชุมชนการใช้กลไกทางชุมชน โดยใช้การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้แก่คนในชุมชนให้ทำการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง โดยราชการส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการคัดแยกขยะด้วยการจัดหาอุปกรณ์จัดเก็บขยะและเก็บขนขยะให้ถูกประเภทที่ได้คัดแยกไว้ จากการวิจัยสรุปผลได้ว่า การคัดแยกขยะก่อนทิ้งสามารถลดปริมาณขยะลงไปได้ ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาขยะ ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน นักเรียน ครู เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดประสิทธิผล
การจัดการขยะในชุมชนนั้นถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบริหารการจัดการขยะให้ประสบผลสำเร็จนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ จากประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะเป็น ส่วนหนึ่งของการจัดการขยะที่ประสบผลสำเร็จ การดำเนินการดังกล่าวจึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทาง และทิศทางในการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐคือ เทศบาลตำบลหลุบ อ.เมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาและป้องกัน ผลกระทบอันเนื่องจากการบริหารจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาสภาพปัญหาขยะของเทศบาลตำบลหลุบ อ.เมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ และตลอดจนหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องใน การจัดการขยะ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการขยะ แบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลหลุบ อ.เมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดการจัดการขยะได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยให้ประชาชนในพื้นที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินการบริหารจัดการขยะ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืนและเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเจริญเติบโตของชุมชนในอนาคตต่อไป
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 18:45 น.