การเพิ่มศักยภาพการคัดแยกและจัดการขยะในครัวเรือน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การเพิ่มศักยภาพการคัดแยกและจัดการขยะในครัวเรือน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานร่วม เทศบาลตำบลนามะเขือ อ.สหัสขันธ์
ชื่อชุมชน ตำบลนามะเขือ อ.สหัสขันธ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ รศ.ดร. ศิวัช ศรีโภคางกุล
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. 123/2017 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0810530570, siwasri@kku.ac.th
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 387,800.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตำบลนามะเขือ มีพื้นที่โดยประมาณ 75 ตร.กม. หรือประมาณ 56,875 ไร่ พื้นที่เทศบาลตำบลนามะเขือปัจจุบันตั้งอยู่ หมู่ที่ 12 บ้านนามะเขือ ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากอำเภอ 12 กิโลเมตร ห่างจาก จังหวัด 50 กม. ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต ต.โนนแหลมทอง อ.สหัสขันธ์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต ต.หนองแวง อ.สมเด็จ ทิศใต้ ติดต่อกับเขต ต.ภูปอ และ ต.ขมิ้น อ.เมือง ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต ต.สหัสขันธ์ อ.สหัสขันธ์
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การเพิ่มศักยภาพการคัดแยกและจัดการขยะในครัวเรือน คือการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย แบบบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชนในทุกภาคส่วนและทุกครัวเรือน โดยการจัดกิจกรรมเชิงรุกตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ปลูกจิตสำนึก การรณรงค์ การฝึกอบรมให้ความรู้ การคัดแยกขยะ การจัดทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพในชุมชนและครัวเรือน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนนำผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์หรือน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตได้จากชุมชนและครัวเรือนเองนำกลับไปใช้ทางการเกษตรเป็นการคืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ โดยการดำเนินงานดังกล่าวผ่านการสำรวจปริมาณ แหล่งกำเนิด สภาพปัญหา ทบทวนสถานการณ์ วางแผนการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอย การทำแผนปฏิบัติการ การติดตามประเมินผล การพัฒนาต่อเนื่องและการขยายผลการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน อันมีความสอดคล้องกับกรอบทิศทางการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม มาตรา ๒๓(๔) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๕๗-๒๕๕๙ โดยเป็นการผสมผสานกันระหว่างกรอบการสนับสนุนข้อ ๒ การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขอบเขตกิจกรรมที่ ๑ ในการสร้างจิตสำนึกประชาชนและเพิ่มความสามารถของชุมชน ประชาชนในการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการดำเนินงาน และขอบเขตกิจกรรมที่ ๒ การส่งเสริมการรณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังเป็นโครงการเชิงรุกตามกรอบทิศทางการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม ข้อที่ ๒ ขอบเขตกิจกรรมที่ ๑ ส่งเสริมกิจกรรมด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย/น้ำเสีย โดยการลดของเสียที่แหล่งกำเนิด ขอบเขตกิจกรรมที่ ๒ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการของเสียและน้ำเสียที่แหล่งกำเนิด โดยโครงการนี้มุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมชองชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยโดยการนำหลัก ๓ Rs มาใช้และขอบเขตกิจกรรมที่ ๓ ส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และของเสียในชุมชนมาใช้ประโยชน์ เช่น การหมักทำปุ๋ย การทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น
สิ่งที่เป็นปัญหาในการจัดการคือ ครัวเรือน ไม่คัดแยกขยะเปียกหรือ ขยะอินทรีย์ ออกจากขยะประเภทอื่น ๆ และทิ้งรวมกัน ให้เทศบาลดำเนินการจัดเก็บ โดยเหตุผลส่วนใหญ่ที่ครัวเรือนปฏิเสธ ในการคัดแยกขยะอินทรีย์ออกมา ก็เพราะว่า ไม่มีสถานที่ทิ้งขยะอินทรีย์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว องค์ความรู้ในการจัดทำถังขยะอินทรีย์อย่างง่ายเพื่อใช้ในครัวเรือน สามารถทำได้ ซึ่งถ้าทำให้บ้านทุกหลังมี ถังขยะอินทรีย์ ก็จะนำมาสู่การคัดแยกขยะอินทรีย์ได้ อย่างไรก็ตามทีผ่านมาในหลาย ๆ อปท. ร่วมถึง ภาคส่วนต่าง ๆ อธิ สมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้มีโครงการส่งเสริมการลดขยะอินทรีย์โดยของความร่วมมือให้ทุกครัวเรือน ช่วยดำเนินการจัดทำ มาใช้ในครัวเรือนขอนตน หรือ อปท./หน่วยงาน บางแห่ง มีการจัดหา ถังขยะเปียก แล้วเอาไปมอบให้ครัวเรือน แต่ไม่ได้มีการติดตั้งให้หรือสร้างการยอมรับใช้อย่างจริงจัง ทำให้ที่ผ่านมาไม่ได้เกิดการคัดแยกขยะเปียก อย่างได้ผล ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของแนวคิดโครงการอาสาประขารัฐ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะนักศึกษานำที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการ
1). สำรวจว่าแต่ละครัวเรือนมีการจัดทำถังขยะอินทรีย์ และมีการใช้หรือไม่
2.จัดหา/จัดทำถังขยะเปียก (ในรูปแบบและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มี)
3. นักศึกษาดำเนินการติดตั้งถังขยะเปียกให้ครัวเรือง
4. นักศึกษาช่วยรณรงค์ สร้างการคัดแยกขยะอินทรีย์ในชุมขนให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 18:38 น.