การแสวงหาแนวทางการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี กรณีบึงใหญ่ ชุมชนคำบง

การแสวงหาแนวทางการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี กรณีบึงใหญ่ ชุมชนคำบง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การแสวงหาแนวทางการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี กรณีบึงใหญ่ ชุมชนคำบง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานร่วม เทศบาลคำบง อ.ห้วยผึ่ง
ชื่อชุมชน เทศบาลคำบง อ.ห้วยผึ่ง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.อจิรภาส์ เพียรขุนทด
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. 123/2017 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ ajirpi@kku.ac.th
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 311,300.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา เดิมตำบลคำบง มีลักษณะการปกครองท้องถิ่น และมีหมู่บ้านอยู่ในความปกครอง 15 หมู่ บ้าน ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลคำบง ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล และประกาศกระทรวงมหาดไืทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นเทศบาลตำบลคำบง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เทศบาลตำบลคำบง มีหมู่บ้านอยู่ในความปกครอง จำนวน 15 หมู่บ้าน
สภาพทั่วไปของตำบล ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตร มีภูเขา มีแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำห้วยสะทด อยู่ในความดูแลรักษาของกรมชลประทาน
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลคำบง 10,580 คน และจำนวนหลังคาเรือน 2,577 หลังคาเรือน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
พื้นที่ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ที่มีการตั้งโรงงานแป้งมันกาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีชาวบ้านไปร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนและต่อหน่วยงานราชการในท้องที่ว่า โรงงานแป้งมันกาฬสินธุ์ได้ปล่อยน้ำเสียลงลำห้วยบึงใหญ่ มานานนับ 10 ปี โดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือ ชาวบ้านโคกศรี ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รวมตัวร้องเรียนกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ว่า มีโรงงานแป้งมันในพื้นที่ปล่อยน้ำเสียลงลำห้วยกุดแข้-หนองบึงใหญ่ ทำให้ระบบนิเวศเสียหาย และยังส่งกลิ่นเหม็นจนชาวบ้านเดือดร้อน ชาวบ้านป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจและโรคผิวหนัง ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นมานานกว่า 10 ปีแล้ว ที่ผ่านมายังไม่มีการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง แม้ชาวบ้านจะมีหลักฐานการปล่อยน้ำเสียของโรงงานแป้งมัน และนำไปร้องเรียนกับหน่วยงานที่กำกับดูแลโดยตรง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับการเอาใจใส่ จนทำให้สุขภาพชาวบ้านย่ำแย่ ผลผลิตทางการเกษตรก็เสียหาย ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่เป็นอย่างมาก
เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทางจังหวัดสั่งการให้สำนักงานอุตสาหกรรม ออกหนังสือคำสั่งแจ้งให้โรงงานแป้งมัน หยุดประกอบกิจการชั่วคราวเป็นเวลา 7-10 วัน เพื่อปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเอาผิดกับทางโรงงาน และติดตามผลการแก้ไขให้เป็นไปตามระเบียบ นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ยังสั่งให้วางแนวทางฟื้นฟูระบบนิเวศในลำห้วยกุดแข้ และได้ให้อำเภอห้วยผึ้ง ประสานกับทางโรงงานแป้งมัน เพื่อเร่งดำเนินการเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ในอนาคตจะมีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อร่วมกันตรวจสอบและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก
ทั้งนี้ในการประชุมมีตัวแทนชาวบ้านเข้ารับฟัง และมีนายสมพงษ์ ชนะศึก ผจก.โรงงานแป้งมันกาฬสินธุ์ พร้อมเจ้าหน้าที่โรงงานชี้แจง พร้อมยืนยันว่า ทางโรงงานไม่ได้ปล่อยน้ำเสีย และได้ดำเนินการบำบัดน้ำเสียตามขั้นตอน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ได้สุ่มลงพื้นที่ตรวจสอบบ่อบำบัดน้ำเสียบริเวณหลังโรงงานดังกล่าว จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ 2 และบ่อที่ 3 ที่มีสภาพน้ำเน่าเหม็นมีสีขุ่น และอยู่ติดคลองน้ำริมถนนสาธารณะ มี ซึ่งชาวบ้านยืนยันว่าทั้งสองจุดนี้เป็นจุดที่มีการปล่อยน้ำเสียและไหลไปสู่ลำห้วยกุดแข้ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบน้ำในลำห้วยกุดแข้ บริเวณบ้านโคกศรี ม.2 ต.คำบง อ.ห้วยผึ้ง พบว่า สภาพน้ำมีสีน้ำตาลอมดำ มีคราบมัน ส่งกลิ่นเหม็นเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ซึ่งผิดธรรมชาติ ในน้ำพบว่ามีปลา และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำตายจำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านในละแวกนี้ไม่กล้าที่จะลงน้ำ เนื่องจากเกรงได้รับอันตรายและสารพิษ นอกจากนี้ยังพบต้นข้าวของเกษตรกรที่อยู่บริเวณโดยรอบลำห้วยกุดแข้ล้มตาย และไม่ออกรวงอีกจำนวนมากเช่นกัน
ซึ่งปัญหาข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำเสียนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านเสียหาย และในอนาคตหากโรงงานต้องปิดกิจการไปก็จะส่งผลกระทบ เช่น ทำให้คนว่างงาน กิจการร้านค้ายหยุดชะงัก การจัดเก็บภาษีได้น้อยลง ดังนั้น ซึ่งการหยุดดประกอบกิจการนั้นส่งผลทำให้แรงงานในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชนต้องขาดรายได้โดยไม่มีการชดเชย กิจการอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การขนส่ง การค้าขายสินค้าและอาหาร จำเป็นต้องหยุดพักไปด้วย ซึ่งปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและเป็นวงจรทั่วทั้งระบบ ดังนั้น หากเราสามารถค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา ที่เป็นความต้องการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน เพื่อมิให้มีฝ่ายใดต้องเสียประโยชน์ไป ซึ่งการนำแนวทางการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เข้ามาช่วยแก้ไขนั้น จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุและจะช่วยให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน จะช่วยให้เกิดความสงบและเกิดสันติสุขตามแนวทางสันติวิธี
โดยแนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย
1) นักศึกษาศึกษาตรวจสอบสถานการณ์จากข่าว รายงาน สำรวจข้อมูลจากชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง
2) นักศึกษาค้นหาแกนนำชุมชน และอาสาสมัครชุมชนและองค์กรชุมชนเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
3) นักศึกษาและแกนนำชุมชนแจ้งให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนทราบถึงประโยชน์และรายละเอียดของการดำเนินงาน
4) นักศึกษาศึกษาเชิงลึกถึงกรณีศึกษา การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน
5) จัดเวทีเพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อดำเนินการแก้ไขร่วมกัน
6) นักศึกษาศึกษาข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย ชาวบ้าน แรงงานในโรงงาน พนักงานขับรถ ร้านค้าในพื้นที่ และผู้ประกอบกิจการเกี่ยวเนื่อง (เช่น ร้านอาหาร ผู้ประกอบการที่พัก ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น) และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
7) นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อจัดทำเป็นรายงานข้อเสนอของชุมชนในการจัดการปัญหาความขัดแย้งโดยสันติเวที
8) จัดเวทีประชาคม เพื่อนำเสนอแผนงานข้อเสนอของชุมชน ในการจัดการปัญหาความขัดแย้งโดยสันติเวทีโดยประสานไปยังผู้ประกอบการและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอปัญหาและความต้องการของชุมชนและหาแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 18:19 น.