การสำรวจและพัฒนาแนวทางการจัดการปัญหาขยะนอกเขต

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การสำรวจและพัฒนาแนวทางการจัดการปัญหาขยะนอกเขต
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานร่วม เทศบาลตำบลหนองกุงศรี อ.หนองกุงศรี, ทสจ.กาฬสินธ์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ชื่อชุมชน ตำบลหนองกุงศรี
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. 123/2017 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0896794554, jnarin@kku.ac.th
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 369,900.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตำบลหนองกุงศรี มีอาณาเขตและที่ตั้งอยู่ใน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์มีประวัติการก่อตั้งที่ยาวนานมากว่าร้อยปี เมื่อปีพุทธศักราช 2462 ได้มีคาราวานอพยพประชาชนมาจากอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม โดยการนำของนายพรม วงค์ชารีและนายจารย์ทัน อุปจันโท อพยพมาจาก อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เคลื่อนย้ายมาร่วมกันก่อตั้งที่อยู่อาศัย ซึ่งได้สถานที่ตั้งบริเวณป่ากุงเป็นชัยภูมิที่ตั้งหมู่บ้าน เป็นภูมิศาสตร์ที่มีลำหนองแสนล้อมรอบ เหมาะสำหรับการก่อตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำการเกษตรบริเวณที่ตั้งหนองกุงศรีมีหนองน้ำและป่ากุงล้อมรอบชาวบ้านจึงเรียกว่า “หนองกุง” และต่อมาในหมู่บ้านหนองกุงได้จัดการประกวดนางงามประจำหมู่บ้าน และคนที่ได้ตำแหน่ง คือ นางสาวบุญสี จึงได้จัดตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านหนองกุงศรี ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กจำนวน 15 ครัวเรือน ขึ้นตรงกับ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2516 ซึ่งชุมชนก็หนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ ครอบคลุมพื้นที่ดงมูล ซึ่งเป็นเขตล่อแหลมต่อความมั่นคงของชาติ และความสงบสุขของประชาชน รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะเป็นอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2522 เป็นต้นมา
เทศบาลตำบลหนองกุงศรี ได้ยกฐานะมาจากสุขาภิบาลหนองกุงศรี ได้จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 โดยได้ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอนที่ 132 วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2528 มีพื้นที่ 13 ตารางกิโลเมตร ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาล ของเทศบาลตำบล พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองกุงศรี และตำบลลำหนองแสน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 62 กิโลเมตร ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็น เทศบาลตำบล
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
จากการสำรวจปริมาณขยะในพื้นที่เทศบาลหนองกุงศรี พบว่าการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยในหลาย ๆ พื้นที่ของประเทศ ได้ข้อสรุปว่า รูปแบบศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการขยะมูลฝอยที่จะแก้ไขสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเป็นการมุ่งเน้นให้ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันนำขยะมูลฝอยมากำจัดร่วมกัน ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว และเพื่อเป็นการลดภาระของรัฐบาลด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ อีกทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทร่วมลงทุนและดำเนินการ โดยรูปแบบการลงทุนและดำเนินการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอาจทำได้หลายวิธี อาทิ เอกชนเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการเองทั้งหมด รัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน รัฐลงทุนการก่อสร้างระบบและให้เอกชนดำเนินการ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยร่วมกันต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้นจำเป็นต้องกำหนดแนวทางและทิศทางในการดำเนินงานและการจัดสรรงบประมาณโดยใช้รูปแบบศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย ร่วมกันเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในโอกาสต่อไป และเป็นการแก้ไขปัญหาผลกระทบอันเนื่องจากการจัดการขยะในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ และถูกหลักสุขาภิบาล สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะชุมชนขนาดเล็ก และยังประหยัดงบประมาณ บุคลากร พื้นที่ในการทำจัดขยะมูลฝอย ทั้งนี้เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขนามัยของประชาชน
การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจรคู่มือสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ จะประกอบด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาระบบการจัดการขยะมูลฝอยครบวงจรตั้งแต่ระบบการเก็บรวบรวม การคัดแยก การนำกลับไปใช้ประโยชน์ และรูปแบบศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย แนวทางของการจัดการขยะมูลฝอยโดยรูปแบบศูนย์กำจัดรวมนั้น ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรพิจารณารูปแบบของการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร เพื่อดำเนินการจัดการในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบโดยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ และการคาดการณ์ในอนาคต ตลอดจนสัดส่วนหรือลักษณะองค์ประกอบของขยะมูลฝอยทางด้านกายภาพ เคมีและอื่น ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้ นำไปใช้ในการวางแผนและออกแบบระบบการจัดการขยะมูลฝอยที่สามารถรับได้ในระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยกการเก็บรวบรวม การขนส่ง การนำไปใช้ประโยชน์และการกำจัด โดยคำนึงถึงเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม รวมทั้งการคัดเลือกพื้นที่ รูปแบบของการบริหารจัดการ และการมาตรการลดปริมาณขยะมูลฝอย โดยจัดให้มีการรณรงค์และนำระบบการนำวัสดุกลับคืนมาใช้ให้มากขึ้น พร้อมทั้งพิจารณาค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วนตลอดอายุโครงการดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของแนวคิดโครงการอาสาประขารัฐ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะนักศึกษานำที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการ
1. สำรวจว่าแต่ละครัวเรือนมีการคัดแยกขยะหรือไม่
2. สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ในรูปแบบและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มี)
4. นักศึกษาช่วยรณรงค์ สร้างการคัดแยกขยะในชุมขนให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 18:00 น.