การส่งเสริมพลังงานทดแทนโดยการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

การส่งเสริมพลังงานทดแทนโดยการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การส่งเสริมพลังงานทดแทนโดยการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
ชื่อชุมชน ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชวิศร ปูคะภาค
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 80 ถนนนครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0834565335
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน โดยสิ่งปฏิกูลทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากระบบเกษตรกรรมและของเสียจากเศษอาหารและมูลที่ขับถ่ายออกจากตัวสัตว์เลี้ยงซึ่งยังไม่มีระบบจัดการกับของเสียที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน เช่น ปัญหามลภาวะของกลิ่น น้ำเสีย แมลงวัน และพาหะนำโรคต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น จึงควรมีระบบการกำจัดของเสียภายในชุมชนและควรใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อจะช่วยลดปัญหามลภาวะที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งการกำจัดมูลและปัสสาวะจากสัตว์ด้วยระบบก๊าซชีวภาพ ถือเป็นวิธีที่เหมาะสมและใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ภายหลังการบำบัด ยังได้ก๊าซมีเทน (methane, CH4) เป็นผลพลอยได้ โดยสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานสำหรับการหุงต้มและให้ความร้อน โดยได้คิดค้นการทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพที่มีราคาไม่แพง โดยประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น มาเป็นอุปกรณ์สำหรับกักเก็บเศษอาหารและมูลสัตว์ขนาดไม่น้อยกว่า 5 ลูกบาศก์เมตร เพื่อการหมักให้ได้ก๊าซมีเทนจำนวนวันละประมาณ 2-4 ลูกบาศก์เมตร เพียงพอต่อการใช้หุงต้มแทนก๊าซ LPG ได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ถัง ประมาณ 400-500 บาท หรือเท่ากับปีละ 4,800-6,000 บาทต่อครัวเรือน รวมทั้งยังได้กากที่ผ่านการย่อยสลายแล้วมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์อีกด้วย
จากวิสัยทัศน์และแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ อุดมศึกษาจึงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ดังที่กำหนดไว้ในแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 โดยการดำเนินงาน ผ่านกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและการสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศให้สามารถลดความเหลื่อมล้าทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจของคนไทยได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน อีกทั้งวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คือเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เป็นคลังปัญญาและที่พึ่งของสังคมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทางคณะผู้วิจัยจึงได้มีการสำรวจข้อมูลความต้องการของชุมชนในด้านเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้ชุมชนพึงพาตัวเองโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพบว่าในส่วนของชุมชนตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความต้องการพลังงานทดแทนด้านเทคโนโลยีพลังงานก๊าชชีวภาพ ทางคณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนโดยการผลิตก๊าซชีวภาพของชาวเกษตรกรตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยหลัก “3 ห่วง 2 เงื่อนไข” โดย ห่วงที่ 1.ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ห่วงที่ 2.ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ห่วงที่ 3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไขได้แก่ 1.เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 2.เงื่อนไข คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ซึ่งหลัก “3 ห่วง 2 เงื่อนไข” ที่กล่าวมาข้างต้น คณะผู้วิจัยจะแทรกเสริมเข้าไปในหลักสูตรถ่ายทอดเทคโนโลยีและการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตก๊าซชีวภาพขนาดเล็กสำหรับครัวเรือนให้แก่เกษตรกรเพื่อให้เกษตรเข้าใจและเข้าถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ ซึ่งเกษตรกรจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในกิจกรรมอื่นๆสำหรับความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้สามารถพึ่งพาตนเองรวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆได้
ประโยชน์ที่ได้จากการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนโดยการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชนระดับครัวเรือนในเขตพื้นที่ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยลักษณะของการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตก๊าซชีวภาพขนาดเล็กสำหรับครัวเรือนจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้ก๊าซหุงต้ม(LPG) หรือค่าเชื้อเพลิงในครัวเรือนอย่างน้อยครัวเรือนละ 450 บาท/เดือน ซึ่งเท่ากับทั้งโครงการฯ คาดว่าจะลดค่าใช้จ่ายได้ 22,500 บาท/เดือน หรือเท่ากับ 270,000 บาท/ปี และลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมีสำหรับการเกษตรลงได้ประมาณ 1/3 ของค่าใช้จ่ายเดิมหรือเท่ากับได้ปุ๋ยอินทรีย์จากการหมักมูลสัตว์ไปใช้กับแปลงพืชผักหรือใช้กับพื้นที่เกษตรอื่นๆ ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น (ในรายที่ไม่เคยซื้อ/ไม่เคยใช้ปุ๋ยเคมี) ความเป็นอยู่ในชุมชน (ที่มีการเลี้ยงสัตว์) ดีขึ้น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสามารถนำไปถ่ายทอดเผยแพร่เทคโนโลยี ให้กับเกษตรกรที่สนใจในเขตพื้นที่อื่นๆ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใช้ก๊าซหุงต้ม(LPG) และค่าใช้จ่ายด้านปุ๋ยเคมี สอดคล้องกับนโยบายของประเทศและยังเป็นการสานสัมพันธ์โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนต่างๆ ได้รู้จักมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามมากยิ่งขึ้นและความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมหาวิทยาลัยและท้องถิ่นนี้ยังสามารถที่จะพัฒนาต่อเนื่องให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม เกิดศูนย์กลางการเรียนรู้ขยายผลต่อไปยังชุมชน เพื่อพื้นฐานในการก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีความต้องการที่จะส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนโดยการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชนระดับครัวเรือนภายในชุมชนตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชนระดับครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตก๊าซชีวภาพขนาดเล็กสำหรับครัวเรือนให้กับชุมชนอื่นๆ ให้แก่ชุมชน ครัวเรือนเกษตรกรที่อยู่ในชนบท สามารถพึ่งพาตนเองและมีความยั่งยืนตลอดไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัยสู่ชุมชนและท้องถิ่น
2. เพื่อแปลงก๊าซชีวภาพที่ได้ไปเป็นพลังงานทดแทนสำหรับการหุงต้มระดับครัวเรือนทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG)
3. เพื่อให้เกษตรกรนำกากอินทรีย์ที่ผ่านการย่อยสลายแล้วมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกทางหนึ่ง
4. เพื่อเพิ่มศักยภาพบ่อหมักก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนโดยการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน
5. เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนจากบ่อสาธิตและบ่อขยายผลสำหรับหาจุดคุ้มทุนของโครงการ

ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. ด้านวิชาการ ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนโดยการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชนระดับครัวเรือน
2. ด้านสังคม และชุมชน การผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชนระดับครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตก๊าซชีวภาพขนาดเล็กสำหรับครัวเรือนให้กับชุมชนอื่นๆ ให้แก่ชุมชน ครัวเรือนเกษตรกรที่อยู่ในชนบท
3. ด้านเศรษฐกิจ ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ก๊าซหุงต้มและ/หรือค่าเชื้อเพลิงในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมีสำหรับการเกษตร

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือน
  • พลังงานทดแทน
  • เศรษฐกิจพอเพียง

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย chawisorn chawisorn เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 17:53 น.