การวิเคราะห์และแก้ใขปัญหายาเสพติดในชุมชนศรีฐาน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การวิเคราะห์และแก้ใขปัญหายาเสพติดในชุมชนศรีฐาน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานร่วม มูลนิธิปิดทองหลังพระ,เทศบาลตำบลดงลิง
ชื่อชุมชน เทศบาลตำบลดงลิง อ.กมลาไสย
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. 123/2017 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0816013945, grichawat@kku.ac.th
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 372,100.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลดงลิง ตั้งเมื่อประมาณปี 2456 สมัยราชการที่ 6 ซึ่งในสมัยนั้นอำเภอกมลาไสยมี 4 ตำบล คือ กมลาไสย หนองแปน โพนงาม และตำบลดงลิง โดยมีท่านหลวงชารี สิงห์เจือ เป็นกำนันคนแรก ท่านอยู่ที่บ้านดงลิง จึงตั้งชื้อตำบล ว่าตำบลดงลิง ในยุคแรกมีทั้งหมด 21 หมูบ้าน คือบ้านดงลิง บ้านโจด บ้านหนองบัว บ้านหัวแฮด บ้านส้มโฮง บ้านกุดอ้อ บ้านท่ากลาง บ้านท่าเพลิง บ้านเหมือดแอ่ บ้านหนองมะเกลือ บ้านเก่าน้อย บ้านโนนรัง บ้านเมย บ้านสวนโคก บ้านโคกล่าม บ้านโคกศรี บ้านสีถาน บ้านโนนเมือง บ้านดอนหวาย บ้านแวง
ตำบลดงลิงปัจจุบันมี 13 หมู่บ้าน คือ บ้านเมย บ้านสวนโคก บ้านโคกล่าม บ้านโคกศรี บ้านสีถาน บ้านโนนเมือง บ้านดอนหวาย บ้านแวง บ้านท่ากลาง บ้านท่าเพลิง บ้านเหมือดแอ่ บ้านหนองมะเกลือ บ้านเก่าน้อย และบ้านโนนรัง ในสมัยท่านกำนันพิทักษ์ กมลเลิศ ทางอำเภอได้ตั้งตำบลเจ้าท่าขึ้น ตำบลดงลิงจึงเหลือเพียง 8 บ้าน 17 หมูบ้านในปัจจุบัน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
เขตพื้นที่เทศบาลตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย พบว่า มีปัญหาด้านยาเสพติด เด็กและเยาวชนมีการนำสารต่าง ๆ ที่หาได้ง่ายมาผสมกันเพื่อให้ออกฤทธิ์เหมือนสารเสพติด ซึ่งเด็กและเยาวชนมีการทดลองดื่มสารเหล่านี้เนื่องจากมองว่าเกิดจากส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นอันตราย โดยที่ไม่ได้คำนึงว่ามีฤทธิ์เสพติด ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมองโดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มประชากรที่มีขนาด ซึ่งเป็นวัยที่ดำเนินชีวิตในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ใฝ่หาความรู้ อยากเห็น อยากลองของใหม่ รักพวกพ้อง รักเพื่อน เชื่อเพื่อน และมองหาแบบอย่างเพื่อดำเนินรอยตามแบบ ทัศนคติที่ผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดในวัยรุ่น เช่น การเสพไอซ์ ทำให้ผอม ผิวขาว การเสพยาบ้าทำให้เพิ่มความตื่นเต้นในการมีเพศสัมพันธ์ อ่านหนังสือได้นานขึ้น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้สติปัญญาดี สามารถรักษาโรคบางอย่างได้ จากทัศนคติดังกล่าวทำให้เกิดความรู้สึกอยากลองใช้ จนมีการติดสารเสพติด ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของแนวคิดโครงการอาสาประขารัฐ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะนักศึกษานำที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการ
1. นักศึกษาเตรียมความพร้อมคนในหมู่บ้าน/ชุมชน 2 ระดับ ระดับชาวบ้าน ระดับแกนนำ
2. นักศึกษาทำความเข้าใจกับปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน สำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน
3. นักศึกษาวางแผนงานของหมู่บ้าน/ชุมชน การมีส่วนร่วม
4. นักศึกษาร่วมกับหมูบ้าน/ชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน จัดองค์ความรู้และเชื่อมโยงเครือข่าย
การวิเคราะห์และแก้ใขปัญหายาเสพติดในชุมชนศรีฐาน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 16:48 น.