การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น สู่ตลาดออนไลน์

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น สู่ตลาดออนไลน์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น สู่ตลาดออนไลน์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อชุมชน บ้านโคกสะอาด ต.โคกสะอาด อ.ฆ้องชัย
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.พันธิวา แก้วมาตย์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ หลักสูตรชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 086-954-6466
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) หมายถึง ความแตกต่างของรูปแบบชีวิต บทบาทหน้าที่ และพันธุกรรมที่สิ่งมีชีวิต ที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ (วิสุทธิ์ ใบไม้, 2538; จิรากรณ์ คชเสนี, 2537) ประกอบด้วยการมีความหลากหลายของการที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetic) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก ความหลากหลายทางชีวภาพ นับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านความมั่นคงด้านอาหาร สุขอนามัย วิถีการดำรงชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยให้มนุษย์สามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ จึงเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ระบบในธรรมชาติสามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้สภาพการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ปัจจุบันมีโครงการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) หมายถึง ความแตกต่างของรูปแบบชีวิต บทบาทหน้าที่ และพันธุกรรมที่สิ่งมีชีวิต ที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ (วิสุทธิ์ ใบไม้, 2538; จิรากรณ์ คชเสนี, 2537) ประกอบด้วยการมีความหลากหลายของการที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetic) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก
ความหลากหลายทางชีวภาพถูกแบ่งออกเป็นระบบสำคัญ 3 ประการ คือการมีความหลากหลายของการที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetic) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก ความหลากหลายทางชีวภาพ นับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านความมั่นคงด้านอาหาร สุขอนามัย วิถีการดำรงชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยให้มนุษย์สามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ จึงเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ระบบในธรรมชาติสามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้สภาพการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น
1. ประโยชน์ด้านการบริโภคใช้สอย หมายถึงประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นทรัพยากร ทางธรรมชาติอันเอื้อต่อปัจจัยในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์ เช่น ด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น
ด้านการผลิตอาหาร มนุษย์รับอาหารจากพืชและสัตว์ พืชไม่น้อยกว่า 5,000 ชนิดที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ และไม่น้อยกว่า 150 ชนิดที่มนุษย์นำมาเพาะปลูกเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่ใช้เป็นอาหารหลักของประชากรโลก คือ พวกแป้ง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง ความหลากหลายทางธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้เป็นแหล่งอาหารจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ถูก นำมาใช้ ในการปรับปรุงคัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น
ด้านการแพทย์ มีการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์ในทางการแพทย์มากมายประมาณร้อยละ 25 ของยารักษาโรคผลิตขึ้นมาจาก พืชดั้งเดิม เช่น การนำพืชพวก ชินโคนา (cinchona) ผลิตยาควินินที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย
2 . ประโยชน์ด้านการผลิต ด้านการอุตสาหกรรม ผลผลิตของป่าที่นำมาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะโดยตรง เช่น การป่าไม้ ของป่า หรือโดยอ้อม เช่นการสกัดสารเคมีจากพืชในป่า
3. ประโยชน์อื่น ๆ อันได้แก่คุณค่าในการบำรุงรักษาระบบนิเวศให้สามารถดำรงอยู่ได้ และดูแลระบบนิเวศ ให้คงทน เช่น การรักษาหน้าดินการตรึงไนโตรเจนสู่ดิน การสังเคราะห์พลังงานของพืช การควบคุมความชื้น เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นประโยชน์ที่สำคัญ ตลอดทั้งในด้านนันทนาการและการท่องเที่ยวของมนุษย์
อย่างที่กล่าวข้างต้นการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน หากนำทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ของแต่ละชุมชน ผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการการเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยมีแนวคิดพื้นฐาน 3 ประการคือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง จะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ สามารถลดช่องว่างรายได้ให้กับชุมชน สร้างอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ยังเป็นการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้ด้วย
คณะทำงานเล็งเห็นว่า ทุกชุมชนมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน กระบวนการในการบริหารจัดการแตกต่างกัน หากเรามีข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน ทรัพยากรในท้องถิ่น มีองค์ความรู้จากสหสาขาวิชา จะทำให้สามารถนำมาวิเคราะห์และสร้างมูลค่าผ่านผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ และเมื่อมีผลิตภัณฑ์แล้วถ้าต้องการจะสร้างรายได้ หรือลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน การเข้าถึงแหล่งทุนและการทำการตลาดเชิงรุกให้กับชุมชนนั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น ซึ่งในสังคมปัจจุบันโลกออนไลน์กำลังเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อออนไลน์ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อเราในทุกขณะ ตั้งแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งเข้านอน อีกทั้งยังมีความรวดเร็วและความสะดวกสบาย และการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ที่กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถทำให้ผู้อื่นรู้จักเราหรือสินค้าของเราได้อย่างกว้างขวาง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น โดยใช้วิธีต่างๆ ในการ โฆษณาเว็บไซต์ หรือ โฆษณาขายสินค้าที่จะนำสินค้าของเราไปเผยแพร่ตามสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้และเกิดความสนใจ จนกระทั่งเข้ามาใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเราในที่สุด

วัตถุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าจากความหลายทางชีวภาพในชุมชนท้องถิ่น
2. เพื่อสร้างแบรนด์ และการทำตลาดออนไลน์ให้กับผลิตภัณฑ์สินค้าจากความหลายทางชีวภาพในชุมชนท้องถิ่น
3. เพื่อเพิ่มศักยภาพในช่องทางการตลาด และกระบวนการผลิตโดยการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. ด้านวิชาการ ได้ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่สามารถนำไปวางแผนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
2. ด้านสังคม และชุมชน เกิดชุมชนต้นแบบในการนำทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ของแต่ละชุมชน ผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการการเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุก
3. ด้านเศรษฐกิจ สามารถนำมาวิเคราะห์และสร้างมูลค่าผ่านผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ และเมื่อมีผลิตภัณฑ์แล้วถ้าต้องการจะสร้างรายได้ หรือลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • Biodiversity
  • Community products
  • Online Marketing
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ตลาดอออนไลน์
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย puntivar13 puntivar13 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 15:58 น.