โครงการพัฒนาการจัดการขยะอินทรีย์ชุมชน โดยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน

โครงการพัฒนาการจัดการขยะอินทรีย์ชุมชน โดยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการจัดการขยะอินทรีย์ชุมชน โดยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
หน่วยงานร่วม คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายสกลนครเมืองน่าอยู่ ประกอบด้วยหัวหน้าส่วนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด นายกเทศมนตรี ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประจำหมู่บ้าน (ทสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และสถาบันการศึกษาในพื้นที่
ชื่อชุมชน เทศบาลตำบลกุดบาก เทศบาลตำบลอากาศอำนวย องค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วง สำหรับศูนย์เรียนรู้เฉพาะการกำจัดขยะอินทรีย์โดยหนอนแมลงวันลาย จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลตองโขบ และโรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี นอกจากนี้ได้มีการคัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ข้าวฮางงอก ชุมชนดงหลวง องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทวายจำนวน 1 แห่ง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศมณพร สุทธิบาก
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 59/5 หมู่ที่ 1 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. ผศ.ดร.ศมณพร สุทธิบาก ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
2. ผศ.ดร.รฐานิษฐ์ สุขธนาภิรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
3. ผศ.ดร.สมควร โพธารินทร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
4. นางสาวณัฐปภัสร์ จันทร์สาขาธนา นักวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
5. นางสาวอาภรณ์ ศรีมาตร นักวิทยาศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร
6. นายรามินทร์ ศรีโยหะ สมาชิกบ้านโนนศาลา ผู้ช่วยนักวิจัย
7. นางสาวปิยธิดา สุทธิบาก ผู้ประสานงานโครงการ ผู้ช่วยนักวิจัย
การติดต่อ 0952396195, 042-725-033
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 4,566,100.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร กุดบาก กุดบาก ชานเมือง place directions
สกลนคร อากาศอำนวย อากาศ ชานเมือง place directions
สกลนคร โคกศรีสุพรรณ ตองโขบ ชานเมือง place directions
สกลนคร สว่างแดนดิน สว่างแดนดิน ชานเมือง place directions
สกลนคร บ้านม่วง ม่วง ชานเมือง place directions
สกลนคร ภูพาน ชนบท place directions
สกลนคร เต่างอย บึงทวาย ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ประชากรส่วนใหญ่ของภาคอีสานตอนบน 2 (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร) มีอาชีพหลัก คือ การทำนา และอาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกพืชระยะสั้น เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ปลูกพริก มะเขือเทศ แตงกวา ข้าวโพด และพืชผักต่างๆ เป็นต้น ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องใช้อาหารสัตว์ และปุ๋ยในการทำอาชีพเกษตรกรรม
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ในปัจจุบันความพยายามในการนำหลักการบริหารจัดการขยะ 3Rs ซึ่งประกอบด้วย การลดปริมาณการเกิดขยะ ณ แหล่งกำเนิด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำมาเปลี่ยนแปลงสภาพกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลายๆ แห่งในประเทศไทย โดยผ่านการส่งเสริมผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการธนาคารขยะชุมชน ขยะแลกแต้ม ขยะแลกไข่หรือสิ่งของ เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินการในลักษณะดังกล่าวส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปในส่วนขยะมูลฝอยที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20-30 สำหรับขยะอินทรีย์ในครัวเรือนที่มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40-50 ยังขาดการจัดการที่เป็นระบบและเป็นต้นแบบให้กับชุมชนที่จะสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง และพึ่งพาทรัพยากรในพื้นที่ให้มากที่สุด และประโยชน์ที่ได้สามารถนำกลับมาใช้ในพื้นที่ชุมชนมากที่สุดตามหลักการได้ประโยชน์ร่วมกัน (Win-Win Situation) โดยการปรับเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองของคนในชุมชนให้มองเห็นคุณค่าของขยะอินทรีย์ (Wastes to Resources) และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ชุมชน และพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
ข้อมูลประเด็นปัญหา
หนอนที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายเศษอาหาร เศษผักและเศษผลไม้จากชุมขน รวมถึงมูลสัตว์และเศษไม้ที่เน่าเปื่อยผุพังได้แก่หนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly Larvae) ซึ่งตัวเต็มวัยของแมลงวันลาย มีความยาว 4-6 เซนติเมตร พบได้ทั่วไปในสภาพภูมิอากาศเขตร้อนและเขตอบอุ่น แมลงวันลายไม่เป็นสัตว์รำคาญ ไม่มีฟัน ไม่มีเหล็กใน ไม่เป็นพาหะนำโรค ไม่เป็นศตรูพืช ถ้าแมลงวันลายเป็นเจ้าถิ่น หรือทำการวางไข่ แมลงวันลายจะปล่อยสารยับยั้งการวางไข่ของแมลงวันบ้าน (Allomone) ทำให้แมลงวันบ้านไม่เข้าใกล้บริเวณนั้นๆ ซึ่งเป็นการควบคุมแมลงวันบ้านได้ (Cickova, Newton, and Kozanek, 2015) และจากการวิจัยภายใต้โครงการ Innovation Hub-Agriculture & Food เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0 พบว่าหนอนแมลงวันลายสามารถย่อยขยะอินทรีย์ประเภทเศษผัก ผลไม้และเศษอาหารได้มากถึง 80-90% (ศมณพรและคณะ, 2561) และมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยมีโปรตีน 42-51% ไขมัน 35% พลังงาน 2,900 กิโลแคลอรี่ (กุลชาติ, 2554 และศมณพร, 2561) สามารถนำไปเป็นอาหารไก่ไข่ ไก่พื้นบ้าน ไก่สวยงาม อาหารปลา และอาหารกบได้ และมีราคาขายในประเทศไทยกิโลกรัมละ 500-600 บาท (อ้างอิงจากศูนย์กำจัดขยะอินทรีย์ชุมชนบ้านโนนศาลา, 2562) จะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่เป้าหมายได้
ในด้านการใช้พลังงานในครัวเรือนนั้นพบว่า ในปัจจุบันการใช้ก๊าซ LPG เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตก๊าซ LPG ในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งาน จึงต้องมีการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ การใช้ LPG เฉลี่ยต่อวันในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 อยู่ที่ 498 ล้าน กก./เดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็น 2.3% มีการนำเข้ามาในประเทศ 43 ล้าน กก./เดือน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8.6% ของการใช้ก๊าซ LPG ทั้งหมด (กรมธุรกิจพลังงาน, 2560) ดังนั้น พลังงานทดแทนถือเป็นพลังงานทางเลือกที่ช่วยลดปัญหาการการขาดแคลนพลังงาน ทั้งยังหาได้จากธรรมชาติและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้รวมทั้งลดมลพิษอีกด้วย การบูรณาการการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางโดยการเปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้เป็นพลังงานมีเทน โดยให้อยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ถังบรรจุก๊าซไบโอมีเทนอัด (Compressed Biomethane Gas, CBG) สำหรับใช้ทดแทนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในครัวเรือน ซึ่งได้มาจากกระบวนการหมักแบบไร้อากาศโดยใช้ขยะอินทรีย์ในครัวเรือน/ชุมชน เป็นวัตถุดิบ โดยได้ผลิตภัณฑ์เป็นก๊าซชีวภาพซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นก๊าซหุงต้มภายในครัวเรือนได้ ดังนั้น CBG จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ซึ่งในปัจจุบันราคาก๊าซ LPG อยู่ที่ 21.15 บาท/กิโลกรัม (ข้อมูลเดือนกันยายน 2560) ในขณะที่ CBG ที่ได้จากการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนมีราคาอยู่ที่ 12 บาท/กิโลกรัม (สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์) โดยค่าความร้อนของก๊าซ LPG 46.1 MJ/kg และค่าความร้อนของมีเทน 39.82 MJ/kg ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีก๊าซทั้ง 2 ชนิดมีค่าพลังงานความร้อนใกล้เคียงกัน ซึ่งศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ 25-65 ลิตร/กิโลกรัมของขยะที่ใส่ (Zeshan, 2013) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมขณะเดินระบบ นอกจากนี้สิ่งที่เหลือจากกระบวนการหมักยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อเพื่อเป็นสารบำรุงดินที่ให้ธาตุไนโตรเจนและพัฒนาเป็นปุ๋ยเพื่อใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการจัดการขยะมูลฝอยอินทรีย์โดยหนอนแมลงวันลายและการผลิตถังบรรจุก๊าซไบโอมีเทนจากขยะอินทรีย์เพื่อใช้ในครัวเรือน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบันนับวันจะมีบทบาทและเพิ่มความท้าทายในการจัดการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทบทุกแห่งในประเทศไทย เนื่องจากปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากร การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับการขาดการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ อาทิ เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค การส่งกลิ่นเหม็นรบกวน น้ำชะขยะปนเปื้อนต่อน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบบริเวณกองขยะ ดังนั้นการต่อต้านการทิ้งขยะจึงได้เกิดขึ้นในหลายๆ ท้องถิ่นในประเทศไทย
ในปัจจุบันความพยายามในการนำหลักการบริหารจัดการขยะ 3Rs ซึ่งประกอบด้วย การลดปริมาณการเกิดขยะ ณ แหล่งกำเนิด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำมาเปลี่ยนแปลงสภาพกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลายๆ แห่งในประเทศไทย โดยผ่านการส่งเสริมผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการธนาคารขยะชุมชน ขยะแลกแต้ม ขยะแลกไข่หรือสิ่งของ เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินการในลักษณะดังกล่าวส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปในส่วนขยะมูลฝอยที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20-30 สำหรับขยะอินทรีย์ในครัวเรือนที่มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40-50 ยังขาดการจัดการที่เป็นระบบและเป็นต้นแบบให้กับชุมชนที่จะสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง และพึ่งพาทรัพยากรในพื้นที่ให้มากที่สุด และประโยชน์ที่ได้สามารถนำกลับมาใช้ในพื้นที่ชุมชนมากที่สุดตามหลักการได้ประโยชน์ร่วมกัน (Win-Win Situation) โดยการปรับเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองของคนในชุมชนให้มองเห็นคุณค่าของขยะอินทรีย์ (Wastes to Resources) และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ชุมชน และพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของภาคอีสานตอนบน 2 (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร) มีอาชีพหลัก คือ การทำนา และอาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกพืชระยะสั้น เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ปลูกพริก มะเขือเทศ แตงกวา ข้าวโพด และพืชผักต่างๆ เป็นต้น ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องใช้อาหารสัตว์ และปุ๋ยในการทำอาชีพเกษตรกรรม
ในด้านการใช้พลังงานในครัวเรือนนั้นพบว่า ในปัจจุบันการใช้ก๊าซ LPG เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตก๊าซ LPG ในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งาน จึงต้องมีการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ การใช้ LPG เฉลี่ยต่อวันในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 อยู่ที่ 498 ล้าน กก./เดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็น 2.3% มีการนำเข้ามาในประเทศ 43 ล้าน กก./เดือน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8.6% ของการใช้ก๊าซ LPG ทั้งหมด (กรมธุรกิจพลังงาน, 2560) ดังนั้น พลังงานทดแทนถือเป็นพลังงานทางเลือกที่ช่วยลดปัญหาการการขาดแคลนพลังงาน ทั้งยังหาได้จากธรรมชาติและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้รวมทั้งลดมลพิษอีกด้วย การบูรณาการการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางโดยการเปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้เป็นพลังงานมีเทน โดยให้อยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ถังบรรจุก๊าซไบโอมีเทนอัด (Compressed Biomethane Gas, CBG) สำหรับใช้ทดแทนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในครัวเรือน ซึ่งได้มาจากกระบวนการหมักแบบไร้อากาศโดยใช้ขยะอินทรีย์ในครัวเรือน/ชุมชน เป็นวัตถุดิบ โดยได้ผลิตภัณฑ์เป็นก๊าซชีวภาพซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นก๊าซหุงต้มภายในครัวเรือนได้ ดังนั้น CBG จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ซึ่งในปัจจุบันราคาก๊าซ LPG อยู่ที่ 21.15 บาท/กิโลกรัม (ข้อมูลเดือนกันยายน 2560) ในขณะที่ CBG ที่ได้จากการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนมีราคาอยู่ที่ 12 บาท/กิโลกรัม (สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์) โดยค่าความร้อนของก๊าซ LPG 46.1 MJ/kg และค่าความร้อนของมีเทน 39.82 MJ/kg ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีก๊าซทั้ง 2 ชนิดมีค่าพลังงานความร้อนใกล้เคียงกัน ซึ่งศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ 25-65 ลิตร/กิโลกรัมของขยะที่ใส่ (Zeshan, 2013) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมขณะเดินระบบ นอกจากนี้สิ่งที่เหลือจากกระบวนการหมักยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อเพื่อเป็นสารบำรุงดินที่ให้ธาตุไนโตรเจนและพัฒนาเป็นปุ๋ยเพื่อใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย
การกำจัดมูลฝอยอินทรีย์นั้นพบว่าหนอนแมลงมีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายเศษอาหาร (Food Scrapes) ขยะเปียกจากชุมขน (Municipal Garbage) มูลสัตว์ (Manure) รวมทั้งเศษไม้ที่เน่าเปือยผุพัง (Rotting Plant Materials) ได้แก่หนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly) หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า Hermatial illucens ตัวเต็มวัยมีความยาวประมาณ 4–6 มิลลิเมตร พบได้ทั่วไปในสภาพภูมิอากาศเขตร้อนและเขตอบอุ่น เป็นแมลงที่ไม่นำโรคและไม่เป็นศัตรูพืช สามารถควบคุมแมลงวันบ้าน (Musca domestica) ได้ (Cickova, Newton, and Kozanek, 2015) นอกจากนี้ทางทีมวิจัยได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการย่อยสลายขยะอินทรีย์โดยหนอนแมลงวันลายพบว่าสามารถย่อยขยะอินทรีย์ได้ 80-90% และจากการศึกษาพบว่าหนอนแมลงวันลายมีโปรตีน 42% ไขมัน 35% พลังงาน 2,900 กิโลแคลอรี (กุลชาติและทัศนีย์, 2554) และมีราคาขายในตลาดโลกกิโลกรัมละ 1,000-1,200 บาท
ดังนั้นแนวคิดการจัดตั้งศูนย์พัฒนาการจัดการขยะอินทรีย์ชุมชน โดยการใช้หนอนแมลงวันลายในการย่อยขยะอินทรีย์ ซึ่งผลิตภัณฑ์จากหนอนแมลงวันลาย สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และอาหารสัตว์โปรตีนสูงได้ ตลอดจนมีการผลิตก๊าซชีวภาพอัดถังโดยการเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นพลังงานเพื่อประชนชนในชุมชน เป็นโครงการที่มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ฝึกฝนทักษะ สร้างงานเพื่อชุมชน เพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ต้นทาง และลดปัญหาการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนที่มีสัดส่วนสูงถึง 40-50% ขององค์ประกอบขยะทั้งหมด ซึ่งเป็นช่องทางที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพสูงในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Solid Waste Management: CBM) ทุกคนในชุมชนได้รับผลประโยชน์ กำไร หรือรายได้ที่เกิดขึ้น มีการบริหารจัดการโดยสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • หนอนแมลงวันลาย ขยะอินทรีย์ชุมชน การจัดการขยะที่ต้นทาง

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo ระบบ BSFระบบ BSF
  • photo อบรม BSFอบรม BSF
  • photo ระบบก๊าซชีวภาพระบบก๊าซชีวภาพ
  • photo คู่มือการเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลายคู่มือการเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย
  • photo นำเสนอรายละเอียดโครงการนำเสนอรายละเอียดโครงการ
  • photo นำเสนอผลการดำเนินโครงการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ
  • photo ถอดบทเรียนโครงการถอดบทเรียนโครงการ
  • photo จัดนิทรรศการจัดนิทรรศการ
  • photo บ่อกำจัดขยะอินทรีย์บ่อกำจัดขยะอินทรีย์
  • photo อาหารโปรตีนสูงอาหารโปรตีนสูง
  • photo อาหารสัตว์โปรตีนสูงอาหารสัตว์โปรตีนสูง
  • photo สื่อ ปชส.สื่อ ปชส.

วีดิโอ

  • หนอนแมลงวันลายอาหารไก่ แหล่งโปรตีนสูง
  • การเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลายระดับครัวเรือน และกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย ผศ.ดร.ศมณพร สุทธิบาก ผศ.ดร.ศมณพร สุทธิบาก เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 15:57 น.