การพัฒนาหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรแบบมีส่วนร่วมตามแนวพระราชดำริ

การพัฒนาหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรแบบมีส่วนร่วมตามแนวพระราชดำริ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรแบบมีส่วนร่วมตามแนวพระราชดำริ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
หน่วยงานหลัก ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
หน่วยงานร่วม 1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลแสงเจริญ ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร 2) โรงพยาบาลวานรนิวาส จ.สกลนคร 3) ไร่น้ำหนึ่ง ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร 4) สหกรณ์สมุนไพรสกลนคร 5) บริษัทประชารัฐรักสามัคคี สกลนคร (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด 6) องค์การบริหารส่วนตำบลอินทร์แปลง
ชื่อชุมชน ตำบลอินทร์แปลง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุจิกาญจน์ ศิริวาลย์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 59/5 หมู่ 1 ถนน วปรอ ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร 47000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1) ดร.นงค์ลักษณ์ เหลาพรม ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
2) ดร.สุทธิเดช ปรีชารัมย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
3) นางสาวพัชรินทร์ นันทพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
4) นางสาวอาภรณ์ ศรีมาตร นักวิทยาศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร
5) นายธนะสรรค์ ศิริวาลย์ ผู้จัดการบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สกลนคร
การติดต่อ 062-5415558, 042-725033
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 400,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร วานรนิวาส อินทร์แปลง ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านอินทร์แปลง ต.อินทร์แปลง ตั้งอยู่บนอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เดิมทีบริเวณโรงเรียนบ้านอินทร์แปลงปัจจุบัน มีเจดีย์ตั้งอยู่ และไม่ไกลนักมีบ้านว่างหลังหนึ่ง โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นชนกลุ่มใดที่มาตั้งรกรากอยู่ก่อน และได้สร้างสิ่งเหล่านี้ไว้ ชาวบ้านที่ได้อพยพเข้ามาอยู่ก่อนเข้าใจว่าพระอินทร์ เป็นผู้สร้าง จึงตั้งขื่อหมู่บ้านว่า "อินทร์แปลง" แปลว่า พระอินทร์ ได้เนรมิต หรือสร้างไว้ให้
พื้นที่
ตำบลอินทร์แปลง แยกตัวออกมาจาก ต.คูสะคาม มีพื้นที่ติดกับเขต อ.บ้านม่วง เป็นตำบลที่ห่างไกลจากตัวอำเภอวานรนิวาส ประมาณ 30 กม.
เขตพื้นที่ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลคูสะคาม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลกุดเรือคำ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำนา
อาชีพเสริม รับจ้าง ทำหัตถกรรม
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
พื้นที่ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร เหมาะแก่การเกษตรกรรมและหากส่งเสริมให้มุ่งเน้นและส่งเสริมการปลูกสมุนไพร สร้างความตระหนักเพื่อลด ละ เลิก การใช้สารเคมี เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำเกษตรแบบเดิมนำไปสู่เกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งเป็นการส่งเสริมและสร้างมาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพรในพื้นที่ (ต้นน้ำ) การแปรรรูปวัตถุดิบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (กลางน้ำ) และสร้างช่องทางในการจัดจำหน่าย (ปลายน้ำ)ต่อไป นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีในด้านต่างๆ ได้แก่ รายได้ดี สุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี คุณธรรมดี อย่างยั่งยืน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ประชาชนโดยส่วนใหญ่ในพื้นที่ ต.อิทร์แปลง อ.วานรนิวาส จังหวัดสกลนครมีอาชีพเกษตรกรรม มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืชควบคู่กันไปด้วย เมื่อลงพื้นที่สอบถามข้อมูลเบื้องต้น พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ใช้สารเคมี ให้เหตุผลว่า หาซื้อง่าย ไม่ต้องใช้แรงงานมาก ให้ผลเร็ว มองประโยชน์ระยะสั้นมากกว่า โดยให้ความสำคัญน้อยมากเกี่ยวกับความปลอดภัยจากสารเคมีที่จะส่งต่อไปยังผู้บริโภคและตัวเกษตรกรเอง ดังนั้นจึงมีแนวความคิดว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักเพื่อลด ละ เลิก การใช้สารเคมี เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำเกษตรแบบเดิมนำไปสู่เกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นและส่งเสริมการปลูกสมุนไพรซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทสมุนไพรแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2564) ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย “เพื่อความมั่นคงทางสุขภาพและความยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย” โดยคนในชมชุมมีส่วนร่วมในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวตามหลักเกษตรอินทรีย์และเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ 1) ด้านสุขภาพ : เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก 2) ด้านนิเวศวิทยา: เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฐจักรแห่งธรรมชาติ การผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฐจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น 3) ด้านความเป็นธรรม: เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต 4) ด้านการดูแลเอาใจใส่: การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี 4 ด้าน ได้แก่ 1) รายได้ดี: เกษตรกรเป็นเกษตรกรเชิงประณีต ปลอดสารพิษ และเข้าถึงแหล่งจัดจำหน่าย สร้างรายได้ลดรายจ่ายและอยู่อย่างพอเพียง 2) สุขภาพดี: เกษตรกรตระหนักในการดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยงจากการรับสารเคมี อันก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานสถาณการโรค (สำนักงานสาธารณสุข) พบว่าประชาชนมีอัตราความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) สูง ซึ่งมีผลโดยตรงจากการทำงานของตับและไต จากการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่ต้นน้ำของอาหาร 3) สิ่งแวดล้อมดี: สภาพของดินและน้ำในพื้นที่ เหมาะแก่การอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต 4) คุณธรรมดี: เกษตรกรต้นน้ำ คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตและใส่ใจผู้บริโภค อย่างยั่งยืน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รูปแบบ(Model)การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบการมีส่วนร่วม มีองค์ประกอบ คือ 1. รายได้ดี 2.สุขภาพดี 3.สิ่งแวดล้อมดี 4.คุณธรรมดี มีกระบวนการดังนี้
1. สร้างความตระหนักรู้ถึงพิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรที่มีต่อร่างกาย ด้วยการตรวจหาค่าคลอรีนเอสเตอเรส และทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยการตรวจสารตกค้างในดินและน้ำในพื้นที่
2. ให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ แบบ ห่วงโซ่อุปทาน
3. สร้างกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็ง
4. โรงเรือนแบบใช้น้ำน้อย

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้สร้างปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ครอบคลุมหลายๆ เรื่อง ได้แก่ การจัดการดิน การจัดการน้ำ การเกษตรแปรรูป พลังงานทางเลือก สิ่งแวดล้อมชุมชน การปลูกป่า ปลูกต้นไม้ ปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น ทรงชี้แนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่ปวงชนชาวไทยตลอดพระชนชีพ มุ่งให้พสกนิกรได้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน มั่นคง และปลอดภัย ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามกระแสโลกาภิวัฒน์ เป็นแนวทางการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ โดยยึดแนวทางการพัฒนาที่มีคนหรือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะเป็นตัวการที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
เกษตรอินทรีย์ คือการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดินความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมี เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดความพอเพียงระดับชุมชนและสอดคล้องกับความพอเพียงตามหลักแห่งศาสตร์พระราชา ซึ่งสามารถสร้างความเข้มแข็งต่อชุมชนและประเทศต่อไปได้
การบูรณาการเกษตรอินทรีย์กับวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการนำนักศึกษาหลากหลายสาขาลงพื้นที่แล้วใช้รูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านแบบมีส่วนร่วมของชุมชน หาวิธีแก้ไขปัญหาเรื่องรายได้ เรื่องสุขภาพ เพื่อก่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีการพัฒนาที่ยั่งยืน และก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) อีกทั้งสามารถรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวม เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยใช้รูปแบบ(Model)การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบการมีส่วนร่วม มีองค์ประกอบ คือ 1. รายได้ดี 2.สุขภาพดี 3.สิ่งแวดล้อมดี 4.คุณธรรมดี มีกระบวนการดังนี้
1. สร้างความตระหนักรู้ถึงพิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรที่มีต่อร่างกาย ด้วยการตรวจหาค่าคลอรีนเอสเตอเรส และทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยการตรวจสารตกค้างในดินและน้ำในพื้นที่
2. ให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ แบบ ห่วงโซ่อุปทาน
3. สร้างกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • เกษตรอินทรีย์ เศรษฐกิจพอเพียง สมุนไพร การตลาด

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo ลงพื้นที่ร่วมหารือแนวทางการดำเนินการโครงการ ร่วมกับบริษัทประชารัฐรักสามัคคี ประชาชนและเกษตรกร ตำบลอินทร์แปลง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครลงพื้นที่ร่วมหารือแนวทางการดำเนินการโครงการ ร่วมกับบริษัทประชารัฐรักสามัคคี ประชาชนและเกษตรกร ตำบลอินทร์แปลง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
  • photo ลงพื้นที่ร่วมหารือแนวทางการดำเนินการโครงการ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน บ้านโพธิ์ทอง ตำบลอินทร์แปลง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครลงพื้นที่ร่วมหารือแนวทางการดำเนินการโครงการ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน บ้านโพธิ์ทอง ตำบลอินทร์แปลง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
  • photo ตรวจเลือดเกษตรกรเพื่อหาปริมาณของเอมไซน์คลอรีนเอสเตอเรส ณ ศาลาประชาคม ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนครตรวจเลือดเกษตรกรเพื่อหาปริมาณของเอมไซน์คลอรีนเอสเตอเรส ณ ศาลาประชาคม ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
  • photo ชาวบ้านทำแบบทดสอบ “ตัวฉันบ้านฉันเป็นอย่างไร” ณ ศาลาประชาคม ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนครชาวบ้านทำแบบทดสอบ “ตัวฉันบ้านฉันเป็นอย่างไร” ณ ศาลาประชาคม ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
  • photo ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับกรรมการผู้จัดการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสกลนคร(วิสาหกิจเพื่อชุมชน)กำจัด ณ ศาลาประชาคม ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนครประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับกรรมการผู้จัดการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสกลนคร(วิสาหกิจเพื่อชุมชน)กำจัด ณ ศาลาประชาคม ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
  • photo ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ ณ ศาลาประชาคม ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนครประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ ณ ศาลาประชาคม ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
  • photo อบรมการแปรรูปวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ที่ได้จากชุมชนอบรมการแปรรูปวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ที่ได้จากชุมชน
  • photo อบรม พัฒนาช่องทางการตลาดสมุนไพรอบรม พัฒนาช่องทางการตลาดสมุนไพร
  • photo เก็บตัวอย่างดินและน้ำแปลงปลูกพืชเกษตรกรเก็บตัวอย่างดินและน้ำแปลงปลูกพืชเกษตรกร
  • photo ผลิตภัณฑ์โครงการ (หญ้าหวานอบแห้ง)ผลิตภัณฑ์โครงการ (หญ้าหวานอบแห้ง)
  • photo ผลิตภัณฑ์โครงการ (ลูกประคบสมุนไพร)ผลิตภัณฑ์โครงการ (ลูกประคบสมุนไพร)

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย rujikarn rujikarn เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 14:43 น.