การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานร่วม มูลนิธิปิดทองหลังพระ, ทสจ.กาฬสินธ์, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10, เทศบาลตำบลร่องคำ, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ชื่อชุมชน เทศบาลตำบลร่องคำ
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. 123/2017 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0896794554, jnarin@kku.ac.th
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 380,600.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตำบลร่องคำ มีพื้นที่ 21.27 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมอาณาเขตตำบลร่องคำทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ตัวเทศบาลอยู่ห่างจากอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ 38 กิโลเมตร มีประชากรทั้งหมด 6,110 คน เป็นชาย 3,022 คน เป็นหญิง 3,088 คน จำนวนครัวเรื่อง 1,547 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 60 เป็นเกษตรกร และรับจ้างร้อยละ 12.60 เทศบาลตำบลร่องคำ ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลร่องคำ ทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วยชุมชน หมู่ที่ 1 , 2 ,3 , 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ,11 ,12 และ 13
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
จากการสำรวจปริมาณขยะในพื้นที่เทศบาลตำบลร่องคำ พบว่าปริมาณขยะที่เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยน 3.5 ตัน/วัน และมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขยะมูลฝอย คือ ของเหลือทิ้งจากการใช้สอยของมนุษย์ซึ่งเกิดจากการอุปโภค บริโภคและกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ในชีวิตประจำวัน ประเภทของขยะมูลฝอยสามารถแบ่งตามลักษระทางกายภาพขยะได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียก หรือขยะย่อยสลายได้ 2) ขยะรีไซเคิล 3) ขยะทั่วไป และ 4) ขยะพิษหรือขยะอันตราย ในเขตเทศบาลที่อยู่ใน เขตชนบท ขยะมูลฝอย ส่วนใหญ่ จะเป็นลักษณะขยะที่ย่อยสลายได้ คือ เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร หญ้า ใบไม้ ซากพืช ซากสัตว์ เป็นต้น ขยะเปียกนี้ ถ้าตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงเกิดเหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน มีผลต่อปัญหาคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม ขยะอินทรีย์นี้สามารถจัดการได้ง่าย และสามารถนำมาหมักทำปุ้ยได้ โดยการจัดการขยะอินทรีย์นี้สามารถ กระทำได้ในระดับชุมชน และระดับครัวเรือน ในเขตเทศบาล โดยไม่ต้องใช้บริการการจัดเก็บขยะจากทางเทศบาลเข้าไปจัดการ
สิ่งที่เป็นปัญหาในการจัดการคือ ครัวเรือน ไม่คัดแยกขยะเปียกหรือ ขยะอินทรีย์ ออกจากขยะประเภทอื่น ๆ และทิ้งรวมกัน ให้เทศบาลดำเนินการจัดเก็บ โดยเหตุผลส่วนใหญ่ที่ครัวเรือนปฏิเสธ ในการคัดแยกขยะอินทรีย์ออกมา ก็เพราะว่า ไม่มีสถานที่ทิ้งขยะอินทรีย์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว องค์ความรู้ในการจัดทำถังขยะอินทรีย์อย่างง่ายเพื่อใช้ในครัวเรือน สามารถทำได้ ซึ่งถ้าทำให้บ้านทุกหลังมี ถังขยะอินทรีย์ ก็จะนำมาสู่การคัดแยกขยะอินทรีย์ได้ อย่างไรก็ตามทีผ่านมาในหลาย ๆ อปท. ร่วมถึง ภาคส่วนต่าง ๆ อธิ สมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้มีโครงการส่งเสริมการลดขยะอินทรีย์โดยของความร่วมมือให้ทุกครัวเรือน ช่วยดำเนินการจัดทำ มาใช้ในครัวเรือนขอนตน หรือ อปท./หน่วยงาน บางแห่ง มีการจัดหา ถังขยะเปียก แล้วเอาไปมอบให้ครัวเรือน แต่ไม่ได้มีการติดตั้งให้หรือสร้างการยอมรับใช้อย่างจริงจัง ทำให้ที่ผ่านมาไม่ได้เกิดการคัดแยกขยะเปียก อย่างได้ผล ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของแนวคิดโครงการอาสาประขารัฐ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะนักศึกษานำที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการ
1). สำรวจว่าแต่ละครัวเรือนมีการจัดทำถังขยะอินทรีย์ และมีการใช้หรือไม่
2.จัดหา/จัดทำถังขยะเปียก (ในรูปแบบและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มี)
3. นักศึกษาดำเนินการติดตั้งถังขยะเปียกให้ครัวเรือง
4. นักศึกษาช่วยรณรงค์ สร้างการคัดแยกขยะอินทรีย์ในชุมขนให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 14:32 น.