โครงการพัฒนาหมู่บ้านสมบูรณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาหมู่บ้านสมบูรณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาหมู่บ้านสมบูรณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
หน่วยงานหลัก สาขาระบบสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
หน่วยงานร่วม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อชุมชน บ้านสมบูรณ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวอุมาพร ไชยสูง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ ๑๔๕ หมู่ ๑ ถนนสุรินทร์ - ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๐๐๐
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 085-0192011 peekhem@hotmail.com
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สุรินทร์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
แนวคิดชุมชนเข้มแข็ง เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นความยั่งยืนด้านการพัฒนาในระดับชุมชนและท้องถิ่น โดยยึดเป้าหมายสำคัญ คือ การหนุนเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพหรือขีดความสามารถ ในการจัดการปัญหาความเดือดร้อนด้วยตนเองเป็นหลัก ซึ่งส่งผลในระดับชุมชนท้องถิ่นต่างตระหนัก และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการแก้ปัญหาร่วมกันของชาวบ้าน มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ 1) ภูมิปัญญาและความรู้ที่สืบสานและประยุกต์ให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก 2) องค์กรชุมชนและกลุ่มผู้นำที่มีคุณธรรมและภูมิปัญญารวมถึงการจัดตั้งกลุ่มและจัดระเบียบชุมชน และ 3) เวทีการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการบุกรุกจากภายนอก
จากการลงพื้นที่ทำงานของทีมนักวิจัยอย่างต่อเนื่องในการดำเนินโครงการ “พัฒนาหมู่บ้านสมบูรณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” ในปีที่ 1 และ 2 ภายใต้โครงการหมู่บ้านราชมงคลอีสาน พบว่า สภาพปัญหาของชาวบ้านสมบูรณ์ หมู่ 3 ต.กุดหวาย อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ มีสาเหตุมาจากชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างประสบปัญหา ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้คุณภาพ ราคาตกต่ำ การใช้สารเคมี การบุกรุกที่สาธารณะ มีรายได้น้อย ขาดอาชีพเสริม รวมไปถึงขาดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การท่องเที่ยวโดยชุมชน การทำเกษตรแบบอินทรีย์ ปศุสัตว์ การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้จาการเกษตรและปศุสัตว์ และการบริหารจัดการ โดยเรื่องราวที่เกิดขึ้นส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน จึงเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางและรูปแบบการแก้ไขปัญหาของตนและชุมชน โดยมีจุดเริ่มต้นจากผู้นำชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ด้วยพันธกิจสำคัญในการบริการวิชาการแก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่น ให้ชุมชนเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาและวิธีการที่นำไปสู่การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนมีความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ นั้นคือ การสำรวจสภาพปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การทำจัดทำแผนพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยการศึกษาบริบทชุมชนใน 4 ด้าน ประกอบด้วย กายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จัดทำแผนที่มือ แผนที่ชุมชน เชื่อมโยงข้อมูลอย่างมีระบบโดยใช้เวทีประชาคมเป็นเครื่องมือในทวนสอบและคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้วิเคราะห์ตนเอง โดยมีทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ชวนคิด ชวนคุยด้วยกระบวนการเหนี่ยวนำ ให้องค์ความรู้ตามความต้องการของชุมชน ประเมินและติดตามผลแบบเสริมพลัง การพูดคุยกับแกนนำ ซึ่งการจัดเวทีประชาคมชาวบ้านต่างได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งการพูดคุยด้วยเหตุและผลบนพื้นฐานความเป็นจริง การศึกษางานนอกพื้นที่ รวมถึงมีวิทยากรมาอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่องจนกระทั้งนำสู่การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนเพื่อนำชุมชนสู่การพึ่งพาตนเองและกันเองอย่างเข้มแข็ง

การค้นหาต้นทุนทางสังคมของชุมชน เพื่อนำมาสร้างกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาให้ชาวบ้านหลุดพ้นจากปัญหาเป็นแนวทางที่ชุมชนเลือกบริหารจัดการตนเองอย่างมีส่วนร่วมตามแผนพัฒนาชุมชน ที่ได้จัดทำขึ้นในปีที่ 1 และปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องในปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดทำแผนพัฒนาประจำปี
กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน
กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาเกษตรอินทรีย์
กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาอาชีพ
กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมการใช้แรงงานจากควายเพื่อการพึ่งพาตนเอง
กิจกรรมที่ 6 การติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานและสรุปโครงการ
ความมุ่งมั่น ตั้งใจและความพร้อมเพียงที่จะร่วมคิด ร่วมทำและร่วมรับผิดชอบ ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วม เพื่อพลิกฟื้นให้ชุมชนบ้านสมบูรณ์สามารถยืนหยัดดำรงอยู่ได้และเป็นหมู่บ้านที่ศักยภาพ หนุนเสริมให้ชุมชนสามารถจัดการตนเอง นำสู่การพึ่งตนเองและกันเองได้ทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาหมู่บ้านสมบูรณ์สู่การพึ่งพาตนเองและกันเองอย่างเข้มแข็ง
2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ภายใต้ศักยภาพ ความพร้อมและตามความต้องการชุมชน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • บ้านสมบูรณ์
  • แบบมีส่วนร่วม
  • อย่างยั่งยืน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย nantawan_6726 nantawan_6726 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 19:14 น.