โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (หมู่บ้านราชมงคลอีสาน) ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม 60 หมู่บ้าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา: โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระ

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (หมู่บ้านราชมงคลอีสาน) ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม 60 หมู่บ้าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา: โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (หมู่บ้านราชมงคลอีสาน) ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม 60 หมู่บ้าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา: โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
หน่วยงานหลัก สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
หน่วยงานร่วม 145 หมู่ 1 ถนนสุรินทร์ - ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000
ชื่อชุมชน บ้านศาลา
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรลัดา เจือจันทร์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ ๑๔๕ หมู่ ๑ ถนนสุรินทร์ - ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๐๐๐
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 088-1091924 onladda@hotmail.com
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
สุรินทร์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
จากนโยบายสาคัญเร่งด่วนของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนในชุมชน ร่วมกันบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ การลดต้นทุนและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และสร้างโอกาสการพัฒนาหรือเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากให้กับชุมชน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านและชุมชนแบบมีส่วนร่วม ๖๐ หมู่บ้าน เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโครงการความร่วมมือร่วมใจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เพื่อสร้างวิถีแห่งอาชีพการเกษตร โดยมีอาจารย์และนักศึกษา
ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในพื้นที่เป็นกลไกหนึ่งเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน โดยยึดหลักแห่งทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดาริ เพื่อก้าวสู่วิถีแห่งความพออยู่พอกิน อันสามารถนาไปสู่การมีวิถีชีวิตยั่งยืนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการดารงชีพ การดารงวิถีวัฒนธรรมประเพณีที่จะนาไปสู่ความพอมีพอกินยืนอยู่ได้ด้วยลาแข้งของตนเอง มีความสุขอย่างยั่งยืนเป็นสะพานเชื่อมไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้สังคมตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงระดับประเทศ จากแนวคิดดังกล่าวซึ่งมีความสอดคล้องกับ พันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานที่มุ่งเน้นสร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การผลิต การบริการและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ รวมทั้งมุ่งบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม และทานุบารุงศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพราะมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านดังกล่าว เนื่องจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ มีการเปิดสอนคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีหลากหลายสาขา อาจารย์ในแต่ละสาขามีความเชี่ยวชาญเฉาะด้านได้แก่ สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอและการออกแบบ สาขาสัตวศาสตร์ สาขาประมง สาขาอุตสาหกรรมเกษตรสาขาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาคอมพิวเตอร์ และคณะเทคโนโลยีการจัดการ ได้แก่ สาขาการจัดการสาขาการบัญชี สาขาการท่องเที่ยว สาขาการตลาด สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกันของแต่ละศาสตร์ ดังนั้นเพื่อเป็นการสานต่อนโยบายดังกล่าว จึงได้จัดให้มีโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านศาลาขึ้นบ้านศาลา หมู่ที่ 16 ตาบลท่าสว่าง อาเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอาเภอเมืองสุรินทร์ ระยะห่างจากอาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 20 กิโลเมตรจากการศึกษาบริบทชุมชนของบ้านศาลา พบว่า บ้านศาลามีจานวนครัวเรือนตามเลขที่บ้านทั้งสิ้น 140 ครัวเรือน แต่ที่อยู่อาศัยจริงมีจานวน 105 ครัวเรือน มีประชากรจานวน 520 คน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาหลัก นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาอีสานและภาษาส่วยของคู่สมรสที่ย้ายเข้ามาอยู่กับครอบครัวแต่เป็นส่วนน้อย อาชีพหลักของชุมชน คือ อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทานา อาชีพรองของชุมชนคือ ทาไร่ ทาสวน ปลูกถั่ว ข้าวโพด แตงโม ทอผ้า และเลี้ยงสัตว์ และเกือบทุกบ้านมีการเลี้ยงวัวไว้ประมาณ3-5 ตัว เพื่อจาหน่าย ลักษณะทางสัญจรไปมาภายในหมู่บ้าน พบว่ามีบางส่วนเป็นถนนดิน และบางส่วนเป็นถนนคอนกรีต มีการสร้างถนนคอนกรีตเพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมา และในปีนี้มีการสร้างถนนลาดยางจากบริเวณแยกบ้านอาม็องเข้ามาถึงด้านหน้าซุ้มทางเข้าหมู่บ้านลักษณะทั่วไปและสภาพบ้านศาลา จากปัญหาของชุมชนที่พบคือ ในฤดูฝนมักเกิดน้าท่วมส่วนในฤดูแล้งจะเกิดการขาดแคลนน้าสาหรับทาการเกษตร เนื่องจากน้าในลาน้าชีมีปริมาณน้อย และไม่สามารถนาน้าจากลาน้าชีขึ้นมาใช้ได้ ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนของหมู่บ้านที่ติดลาน้าชี เนื่องจากลาน้าชี มีระดับความลึกจากระดับพื้นผิวดินมาก และบางส่วนของพื้นที่มีแขนงของลาน้าชี แต่ก็ประสบปัญหาขาดแคลนน้าในฤดูแล้งเช่นกัน พบว่าร้อยละ 99 ของการประกอบอาชีพทางการเกษตรต้องอาศัยน้าฝนเพียงอย่างเดียว รวมทั้งปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่เน้นการใช้ประโยชน์จากดินและมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้ต้นทุนทางการเกษตรสูง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนบ้านศาลาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ชาวบ้านส่วนใหญ่ทานาเคมีมาเป็นเวลานาน เมื่อมีโครงการหมู่บ้านราชมงคลอีสานเข้าไปให้ความรู้ในด้านต่างๆ รวมทั้งชี้ให้เห็นข้อดีและข้อเสียของการทานาเคมี ชาวบ้านจึงมีความต้องการที่จะเปลี่ยนวิถีการดาเนินชีวิต จากวิธีทาการเกษตรแบบใช้สารเคมีมาเป็นการทา
การเกษตรแบบอินทรีย์ ชุมชนบ้านศาลามีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง มีผู้สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือต้องการองค์ความรู้ที่จะทาให้ลดค่าใช้จ่ายในการดารงชีวิต สามารถสร้างปัจจัยการผลิตด้วยตนเองและสามารถพึ่งตนเองได้ ทาให้ชุมชนบ้านศาลาเป็นชุมชนที่มุ่งสู่ความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ต้องการทาอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มมาจุนเจือครอบครัว จากการดาเนินการมาจนครบระยะเวลา ๕ ปี พบว่า ชุมชนมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น สังเกตจากการร่วมแรงร่วมใจกันในการทากิจกรรมต่างๆ และยังพบว่า ชุมชนบ้านศาลาสามารถรวมกลุ่มกัน เพื่อดาเนินกิจกรรมตามอาชีพ จานวน 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไหมบ้านศาลา โดยทาการยื่นขอจดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 รหัสทะเบียน 7-32-01-05/1-0014 มีจานวนสมาชิกทั้งสิ้น 26 ราย
2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดสารคุ้มหนองศาลา โดยทาการยื่นขอจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 รหัสทะเบียน ๗-32-01-05/1-0025 มีจานวนสมาชิกทั้งสิ้น 7 ราย
3. กลุ่มผู้ผลิตข้าวในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2562 ของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์มีจานวนสมาชิก 14 ราย พื้นที่ทานารวม 133 ไร่
4. เข้ารวมกลุ่มกับเครือข่ายวิสาหกิจชมชนนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ โดยมีการเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “เกษตรอินทรีย์สู่วิถีการผลิตที่ยั่งยืน ปี 2562 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2562 โดยมีนายวิไล พรหมมา เป็น
ประธานกรรมการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ดังกล่าว

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านศาลา เพื่อการมุ่งสู่การพึ่งพาตนเองตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อส่งเสริมการทำอาชีพเสริมให้กับชุมชนบ้านศาลา

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • 60 พรรษา
  • บ้านศาลา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย nantawan_6726 nantawan_6726 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 18:55 น.