การใช้เทคโนโลยีการอบแห้งในการพัฒนากระบวนการแปรรูปปลาเพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบการเกษตรและอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การใช้เทคโนโลยีการอบแห้งในการพัฒนากระบวนการแปรรูปปลาเพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบการเกษตรและอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การใช้เทคโนโลยีการอบแห้งในการพัฒนากระบวนการแปรรูปปลาเพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบการเกษตรและอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม คณะวิศวกรรมศาสตร์และศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อชุมชน บ้านสะอาดนาทม ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธิวา แก้วมาตย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชวิศร ปูคะภาค
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0869546466, 0834565335
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 โดยยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาที่ยั่งยืน” และ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”โดยการส่งเสริมให้แต่ละชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า ซึ่งเป็นแนวทางประการหนึ่ง ที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นแต่ยังขาดเทคโนโลยีการอบแห้งที่เหมาะสม และกระบวนการผลิตอาหารสะอาดที่ถูกสุขอนามัย รวมถึงการขาดเครือข่ายและกลไกเพื่อสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม ดังนั้นจึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบการเกษตรและอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิธีการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบบูรณาการครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์และส่งเสริมกระบวนการผลิตอาหารที่ได้มาตรฐานสุขอนามัย ตลอดจนการส่งเสริมให้ บ้านสะอาดนาทม ตำบลลำคลอง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพในการเลี้ยงปลาและจับสัตว์น้ำนำมาจำหน่าย ได้เป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถบูรณาการเข้ากับกิจกรรมท่องเที่ยว ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน การอนุรักษ์พลังงาน และการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนต่อไปตามนโยบายแผนพัฒนา เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ ศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและวัฒนธรรม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณความต้องการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนที่สะอาดและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นพลังงานหมุนเวียนเช่นเดียวกับพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล ฯลฯ ซึ่งพลังงานเหล่านี้มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมการอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร มีการใช้พลังงานค่อนข้างสูง การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาพัฒนาเครื่องอบแห้งเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือนจึงจัดเป็นการช่วยพัฒนาประเทศอีกทางหนึ่ง เมื่อพิจารณาสถานภาพของประเทศไทยพบว่ามีศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์สูง เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรจึงมีแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปี ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูงมีความเข้มรังสีอาทิตย์เฉลี่ย ประมาณ 18.2 MJ/m2-day การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการให้ความร้อนกับวัสดุเพื่อลดความชื้นสามารถแบ่งตามวิธีการรับรังสีอาทิตย์ได้ 3 แบบ คือ รับรังสีอาทิตย์โดยตรง, โดยอ้อมและแบบผสม โดยที่ความสามารถของการอบแห้งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ รวมถึงความเร็วลมที่นำพาความร้อน อุณหภูมิของอากาศภายในตู้อบแห้งตอนกลางวันจะอยู่ในช่วง 40-70 องศาเซลเซียส ประสิทธิภาพการอบแห้งสูงกว่าวิธีตากแดดแบบดั้งเดิม มีจุดเด่นในเรื่องการใช้งานง่าย มีค่าใช้จ่ายน้อย ประหยัดพลังงาน
ในการพัฒนากระบวนเทคโนโลยีการอบแห้ง โดยใช้ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้ จึงได้ทำการพัฒนาเครื่องอบแห้งที่สามารถเพิ่มอุณหภูมิความร้อนและขับไล่ความชื้นอากาศที่ผ่านเข้ามาอบแห้งภายในห้องอบที่สามารถใช้งานได้ แม้ในวันที่มีแสงแดดน้อยและสามารถป้องกันฝุ่นละอองและแมลงได้ ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีการพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นหลายแบบก็ตาม จึงได้มีการศึกษาและพัฒนากระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการศึกษาการอบแห้งในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ร่วมถึงการพัฒนาระบบเครื่องอบแห้งที่ได้มีการศึกษามาก่อนหน้านี้ เพื่อพัฒนาให้เกิดการใช้พลังงานในการอบแห้งให้คุ้มค่ามากที่สุด เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ได้มีลักษณะ และรูปแบบที่แตกต่างกันตามลักษณะการใช้งาน การอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์อาศัยหลักการระบายอากาศร้อนภายในเครื่องอบแห้งมีการพาความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่าและมีการใช้พัดลมระบายอากาศเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการระบายความชื้นออกจากเครื่องอบแห้ง โดยอาศัยหลักการของความแตกต่างระหว่างความหนาแน่นของอากาศภายในกับภายนอกของเครื่องอบแห้งสำหรับการระบายความชื้นของอากาศภายในเครื่องอบแห้ง เพื่อหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อเทียบกับการตากแดดตามธรรมชาติ ทั้งนี้ขึ้นกับการจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเหมาะสมตามลักษณะการใช้งานเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน (S. Soponronnarit et al., 1992) ได้ทำการทดสอบแบบจำลองการอบแห้งผลไม้ด้วยแสงอาทิตย์ (R.H.B. Excell et al., 1979) การทดสอบเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกต้นทุนต่ำด้วยแสงอาทิตย์ (S. Joshi et al., 1997) การลดความชื้นหัวหอมโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (A. Kolb et al., 1999) การศึกษาทดลองตะแกรงโลหะในการทำแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์เพื่อทำอากาศร้อน (S. Puban, 2007) การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผ่นดูดรังสีเพื่อทำตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นเรียบ (S. Puban et al., 2012) การศึกษาตัวเก็บรังสีอาทิตย์ติดแผ่นครีบเพื่อทำอากาศร้อนในการอบแห้ง (Mohanraj et al., 2008) การศึกษาการออกแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เพื่ออบแห้งเนื้อมะพร้าวภายใต้สภาพภูมิอากาศของอินเดีย พบว่า ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ มีค่าประมาณ 24% โดยสามารถลดความชื้นประมาณ 51.8% เหลือ 7.8-9.7% wet-basis ภายในเวลา 82 ชั่วโมง (Gülsah et al., 2011) ได้ทำการศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้งเมล็ดองุ่นในเครื่องอบแห้งแสงอาทิตย์โดยใช้แคลเซียมคลอไรด์เฮกซะไฮเดรตเป็นวัสดุเปลี่ยนเฟส ทำหน้าที่กักเก็บพลังงานความร้อนไว้ขณะที่มีแสงแดด และเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน อุณหภูมิจะลดลง วัสดุเปลี่ยนเฟสจะคายความร้อนให้แก่ระบบ ดังนั้นหลังจากพระอาทิตย์ตกดินกระบวนการอบแห้งก็ยังสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้พลังงานที่เก็บสะสมไว้วัสดุเปลี่ยนเฟส (Teeradeth Yaibok et al., 2010) ได้ทำการศึกษาการอบแห้งปลาด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานร่วมแสงอาทิตย์-ไฟฟ้า เพื่อต้องการพัฒนากระบวนการผลิตปลาแห้งอนามัย จากการทดลองอบแห้งปลา 2 ชนิดคือ ปลาช่อนและปลาดุก โดยให้อุณหภูมิในห้องอบแห้ง 40, 50 และ 60 oC พบว่าการอบแห้งปลาช่อนแบบใช้พลังงานร่วมแสงอาทิตย์-ไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 60 oC มีประสิทธิภาพในการอบแห้ง 5.54% ใช้ระยะเวลาในการอบแห้ง 6 ชั่วโมง (Samruay Puban et al., 2015) ได้ศึกษาการอบแห้งปลาหมึกกะตอยและเปรียบเทียบการตากแดดกลางแจ้งกับการตากในตู้อบที่มีอากาศร้อนจากตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นราบไหลผ่าน พบว่าหลังการตากแดดกลางแจ้งกับการตากในตู้อบที่มีอากาศร้อนจากตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นราบ ผลิตภัณฑ์มีความชื้นเหลือ 170% และ 70% มาตรฐานแห้ง มีอัตราการลดความชื้นต่อชั่วโมง 23.4% และ 35.1% มีค่าประสิทธิภาพการอบแห้งเฉลี่ย 31.0%
การเลือกระบบการอบแห้งหรือชนิดของเครื่องอบแห้งให้เหมาะสมกับวัสดุหรือความต้องการในการอบแห้ง เพื่อตอบสนองเงื่อนไขในการผลิตไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขในเชิงกำลังการผลิต ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนและผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการอบแห้งรวมทั้งข้อมูลของเครื่องอบแห้งชนิดต่างๆ เพื่อให้การเลือกชนิดเครื่องอบแห้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และจะต้องพิจารณาให้รอบคอบเนื่องจากการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งเป็นระบบที่มีราคาแพงและอายุการใช้งานยาวนาน การตัดสินใจเลือกชนิดเครื่องอบแห้งหรือระบบการอบแห้งซึ่งที่ผิดพลาดอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งในด้านของเวลา ค่าใช้จ่าย และศักยภาพในการแข่งขัน อย่างไรก็ตามการเลือกใช้เครื่องอบแห้งในระดับวิสาหกิจชุมชนควรเป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน สะดวกแก่การใช้งาน ค่าลงทุนในการสร้างเครื่องไม่สูงเกินความสามารถ แต่มีประสิทธิภาพในการอบแห้ง การใช้พลังงาน และได้คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ดี
การนำเทคโนโลยีการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการแก้ปัญหาการตากแห้งผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มเกษตรเช่น การอบแห้งปลา แผ่นยางธรรมชาติ พริก ข้าว รังไหม กล้วย ตะไคร้ ต้นกก เป็นต้น
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ในการพัฒนาศักยภาพผลผลิตทางการเกษตรเพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบการเกษตรและอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพและเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนต้นแบบนวัตกรรมเกษตรและอาหาร

วัตถุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัยสู่ชุมชนและท้องถิ่น
2. เพื่อยกระดับและพัฒนาสินค้าทางการเกษตร
3. เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อโอกาสในการประกอบอาชีพ
4. เพื่อเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตโดยการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน
5. เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สาธิตและเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ขยายผลสำหรับหาจุดคุ้มทุนของโครงการ

ประโยชน์ที่จะได้รับ
1.ด้านวิชาการ นวัตกรรมเครื่องอบแห้งต้นแบบผลผลิตทางการเกษตรภายในชุมชนต้นแบบนวัตกรรมเกษตรและอาหาร
2. ด้านสังคม และชุมชน เกิดชุมชนต้นแบบนวัตกรรมเกษตรและอาหาร ประชาชน เกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการชุมชนเป้าหมาย ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตช่วยยกระดับและพัฒนาสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน เกิดเครือข่ายการให้บริการวิชาการองค์ความรู้และกระบวนการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานสถานศึกษา เอกชน และชุมชน โดยการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ต่อยอดต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้านกับชุมชนเครือข่ายอื่นๆ ให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและภูมิภาคตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ด้านเศรษฐกิจ สามารถเพิ่มรายได้สำหรับการแปรรูปตากแห้งปลา และเพิ่มมูลค่าปริมาณการตากแห้งผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพและเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนต้นแบบนวัตกรรมเกษตรและอาหาร

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • เทคโนโลยีการอบแห้ง พลังงานแสงอาทิตย์ แปรรูปปลา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย chawisorn chawisorn เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 17:31 น.