การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลา ชุมชนบ้านนาเชือกเหนือ หมู่ 2 ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ สู่การตลาดออนไลน์

การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลา ชุมชนบ้านนาเชือกเหนือ หมู่ 2 ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ สู่การตลาดออนไลน์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลา ชุมชนบ้านนาเชือกเหนือ หมู่ 2 ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ สู่การตลาดออนไลน์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
หน่วยงานหลัก คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
หน่วยงานร่วม 319 ม.ราชภัฏศรีสะเกษ ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์เดชณรงค์ วนสันเทียะ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0956053751
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ในวันที่19 พฤษภาคม 2560 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวใน รายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน"ว่าในโอกาสเปิดภาคการศึกษาใหม่ ประจำปี 2560 ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน ที่ได้ทรงมอบพระบรมราโชบายด้านการศึกษาผ่านองคมนตรี ใจความตอนหนึ่งว่า “...ให้แนะนำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้ทำงานให้เข้าเป้าในการยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ตน...” แสดงให้เห็นชัดเจนว่าตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรให้กับบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้น ทรงสนพระทัยระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอันเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ โดยทอดพระเนตรเห็นถึงศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาเป็นอย่างดี และทรงเข้าพระทัยอย่างลึกซึ้ง ถึงแก่นแท้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งผลิตครูที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งความรู้วิชาการและเป็นปราชญ์แห่งการพัฒนาท้องถิ่น ที่จะสามารถเข้าถึงต้นตอแห่งปัญหา ของพสกนิกรของพระองค์ในแต่ละท้องที่ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนมีความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎได้มีการปรับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎ “ใหม่” ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 ถึง 2579 ซึ่งได้น้อมนำพระบรมราโชบายดังกล่าว มาเป็นยุทธศาสตร์หลัก มุ่งให้มหาวิทยาลัยราชภัฎ ทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศสามารถเป็น “แกนนำ” ในการพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนผลิตและพัฒนาครู และยกระดับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เป็นอย่างดี ที่ผ่านมา พบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งได้ดำเนินการให้เห็นผลแล้ว และบางแห่งก็กำลังเพิ่งเริ่ม ส่วนบางแห่งที่ยังไม่เคยดำเนินการ ก็ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันสร้างผลสัมฤทธิ์ให้เป็นรูปธรรมสำหรับการพัฒนาท้องถิ่น และการพัฒนาประเทศตามลำดับ (อ้างจาก https://www.posttoday.com/social/edu/495638)
มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษก็ได้น้อมนำพระบรมราโชบายดังกล่าวมาโดยตลอด โดยได้ดำเนินการกับชุมชนหลายชุมชนในจังหวัด โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษได้ส่งเสริมโรงเรียน และชุมชนในจังหวัด ไม่ว่ากิจกรรมด้านวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ ชุมชนบ้านนาเชือกเหนือ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชุมชนหนึ่งที่ศักยภาพ และมีผู้บริหารชุมชนที่มีความสามารถ หากมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษมีความประสงค์จะพัฒนาชุมชนดังกล่าวให้เป็นชุมชนต้นแบบ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ชุมชนอื่น นิสิตนักศึกษา และนักเรียนย่อมไม่ยาก ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อ มหาวิทยาลัยแล้ว ยังสามารถน้อมนำพระบรมราโชบายในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นได้ด้วย หรือจะต่อยอดเป็นแหล่งเรียนรู้ในอนาคตได้ และเป็นการส่งเสริมให้เป็นฐานรากให้ประเทศในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ในอนาคตด้วย

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ตลาดออนไลน์
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลา
  • ส่งเสริม

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย s.wongsuwan s.wongsuwan เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 16:23 น.