การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกบ ปลา และเห็ด ของชุมชนบ้านสะพานหิน ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์สู่ตลาดออนไลน์

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกบ ปลา และเห็ด ของชุมชนบ้านสะพานหิน ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์สู่ตลาดออนไลน์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกบ ปลา และเห็ด ของชุมชนบ้านสะพานหิน ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์สู่ตลาดออนไลน์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
หน่วยงานหลัก คณะครุศาสตร์
หน่วยงานร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ชื่อชุมชน ชุมชนบ้านสะพานหิน ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.ประดิษฐ์ วงศ์สุวรรณ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 319 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หมู่ 8 ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0981964434
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

1.ความเป็นมา
ชุมชนบ้านสะพานหิน จัดตั้งเมื่อปี 2512 โดยชาวบ้านอพยพมาจากบ้านทุ่งมน หมู่ที่ 7 ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อความสะดวกในการประกอบอาชีพ จึงย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้หัวไร่ปลายนา ซึ่งมีผู้ก่อสร้างคือ นายเคน อรรถประจง นายนิคม โพธิ์รัตน์โส, นายซ้อน วรสาร, นายคำมน แสนราช, นายคำ ตาสาโรจน์, นายสุ อรรถป ระจง, นายเส็ง โพธิ์รัตน์โส, นายเพ็ง ใจเมตตา ได้เลือกทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำและบริเวณบ้านมีหินที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนยาวตลอดแนวคล้ายขัว (สะพาน) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า? ขัวหิน? จึงตั้งชื่อบ้านตามลักษณะของหินว่า ? บ้านสะพานหิน? โดยได้เลือกนายเคน อรรถประจง เป็นผู้ใหญ่บ้าน มีจำนวนครัวเรือน 32 ครัวเรือน ต่อมาอำเภอคำม่วง ได้แบ่งเขตการปกครองเพิ่มอีก 1 ตำบล คือตำบลนาบอน บ้านสะพานหินจึงแยกมาอยู่ในเขตการปกครองของตำบลนาบอน ปัจจุบันบ้านสะพานหินมีครัวเรือน 115 ครัวเรือน มีนายถวัลย์ สาระวัน เป็นผู้ใหญ่บ้านจำนวนครัวเรือนรวมทั้งสิ้น ๑๒๐ ครัวเรือน จานวนประชากรรวมทั้งสิ้น ๔๔๙ คน แยกเป็น ชาย ๒๔๓ คน หญิง ๒๐๖ คน การประกอบอาชีพ และการมีรายได้ อาชีพหลัก คือ ทำนา อาชีพรอง คือ ทำไร่ ทำสวน (อ้อย ยูคาลิปตัส และยางพารา) อาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ (เลี้ยงปลา-กบในบ่อซีเมนต์และบ่อพลาสติก) การทอผ้า การแปรรูปกะลามะพร้าว งานหัตถกรรมประดิษฐ์ และการปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น
ประชากรมีรายได้เฉลี่ย ๔๗,๔๖๔.๑๔ บาทต่อคนต่อปี
บ้านสะพานหินนับถือศาสนาพุทธ มีวัตประจำหมู่บ้าน คือ วัดเทพรังสีศิลาราม ซึ่งเป็นศูนย์กลางการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยถือปฎิบัติตามเพณีสิบสองเดือน (ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่) อย่างเคร่งครัด มีการดารงชีวิตแบบระบบเครือญาติ มีความสมัครสมานสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน เอื้ออาทรต่อกัน ถือว่าเป็นทุนทางสังคมที่ได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านสะพานหินเป็นหมู่บ้านที่ดารงชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน และมีการใช้ภูมิปัญญาของชุมชนในดารงไว้ซึ่งประเพณีและวิถีถิ่น มีการจัดเก็บและบันทึกภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ที่หอศิลป์ในโรงเรียนสะพานหิน เพื่อให้เด็กเยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้ และมีปราชญ์ชาวบ้าน ด้านต่างๆ เช่น
๑. พระสมพร กิตติสาโร วัดเทรังสีศิลาราม เป็นปราชญ์ด้านการปั้นมังกรจากขี้เลื้อย
๒. นายบุญเพ็ง ผ่านโพธิ์คา บ้านเลขที่ ๓ เป็นปราชญ์ด้านหมอยาพื้นบ้าน (ยาสมุนไพร)
๓. นางเพลินจิตร สาระวัน บ้านเลขที่ ๗๕ เป็นปราชญ์ด้านการแปรรูปอาหาร /ขนม
๔. นางวิเศษ เทศารินทร์ บ้านเลขที่ ๑๘ เป็นปราชญ์ด้านทอผ้าลายน้าไหล
๕. นายประวัติ องคะศาสตร์ บ้านเลขที่ ๕๑ เป็นปราชญ์ด้านงานจักสาน
๖. นายสมาน องคะศาสตร์ บ้านเลขที่ ๓๓ เป็นปราชญ์ด้านการทาโซฟา โต๊ะ ตู้
๗.นายถวัลย์ สาระวัน บ้านเลขที่ ๗๕ เป็นปราชญ์ด้านช่างไม้
๘.นางฉลวย โสภีพันธ์ บ้านเลขที่ ๑๑๓ เป็นปราชญ์ด้านการพืชสมุนไพร
๙. นางอำนวย คิสาลัง บ้านเลขที่ ๙๘ เป็นปราชญ์ด้านการเพาะพันธุ์กบ
ชุมขนบ้านสะพานหิน เป็นหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีศูนย์เรียนรู้และฐานการเรียนรู้ภายในหมู่บ้าน ๖ ฐานการเรียนรู้ และมีครัวเรือนรับรองสาหรับรองรับคณะผู้มาศึกษาดูงานและเรียนรู้กิจกรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียง จานวน ๓๐ ครัวเรือน โดยในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๕๓ – ๒๕๕๔ มีคณะศึกษาดูงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพักค้างในหมู่บ้านกว่า ๖๐ คณะ
๑. ฐานบุคคลต้นแบบ นางฉลวย โสภีพันธุ์ (พี่แอ็ด) บุคคลต้นแบบที่นาวิถีเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจาวันแบบเต็มตัว เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองและครอบครัวที่เข้มแข็ง มีกิจกรรมเรียนรู้ที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น การปลูกพืชผักสวนครัวบริเวณบ้านเพื่อลดรายจ่าย การเพาะพันธุ์พืชสมุนไพรและใช้บาบัดโรคประจาตัว การทาบ่อก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อลดค่าใช้จ่าย การใช้จักรยานปั่นน้าแทนการใช้ไฟฟ้า การเผาถ่านด้วยเตาอิวาเต๊ะ และน้าส้มควันไม้ การเลี้ยงกบ ฯลฯ และอีกหลากหลายกิจกรรม ซึ่งทั้งหมดพาให้ครอบครัวก้าวข้ามเส้นความยากจนมาแล้ว
๒. ฐานเรียนรู้การเลี้ยงกบ-ปลา มีจุดเรียนรู้หลายจุด แต่ที่เด่นที่สุด คือ บ่อเลี้ยงกบ-ปลา ของนางอานวย คิสาลัง บุคคลต้นแบบอีกคนที่เลือกลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ด้วยการเลี้ยงพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์กบ เพื่อเพาะลูกกบไว้จาหน่าย โดยเลี้ยงไว้ตลอดทั้งปี ช่วงกบเว้นการว่างไข่ ก็จะนาปลาดุกมาเพาะเลี้ยงเสริม ซึ่งถือว่าใช้บ่อเลี้ยงได้คุ้มมาก
๓. ฐานบ่อก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ในบ้านสะพานหินมีบ่อก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ จานวน ๓ จุด คือ บ้านนางฉลวย โสภีพันธุ์ ครัวเรือนต้นแบบ บ่อก๊าซโรงเรียนบ้านสะพานหิน ได้จัดทำไว้สาหรับประกอบอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน และฐานเรียนรู้ของ นายราตรี นาราช (พ่อนาย)
๔. ฐานเรียนรู้การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (หอศิลป์) เป็นแหล่งรวบรวมอุปกรณ์เครื่องใช้ และเครื่องมือการเกษตรสมัยเก่า โดยชาวบ้านร่วมกับโรงเรียนสะพานหิน ได้ร่วมกันเก็บรวบรวมมาจัดแสดงไว้ที่โรงเรียนเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน และผู้สนใจ
๕. ฐานเรียนรู้การประหยัดพลังงาน เป็นฐานการเรียนรู้เพื่อการประหยัดพลังงาน และใช้เศษวัตถุที่ไม่มีประโยชน์นามาเพิ่มมูลค่า นอกจากจะประหยัด ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แล้ว ยังช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น การผลิตถ่านอัดแท่ง การใช้ขี้เลื้อยเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม โดยมีวิทยากรตัวน้อยบรรยายสรุปอย่างน่าฟัง นอกจากนี้ยังมีฐานพลังงานทางเลือก คือ กังหันลม และแผงโซล่าเซลล์
๖. ฐานแปลงผักรวมและการจัดการน้า เป็นฐานที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร (หนองสาธารณะ) ที่มีอยู่ในหมู่บ้านชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยการจัดสรรที่ดินให้ทุกครอบครัวได้มีการจับจองเพื่อปลูกผักสวนครัวในบริเวณรอบหนองสาธารณะ เพื่อบริโภคในครัวเรือน และใช้ประโยชน์ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีการบริหารจัดการน้ำ โดยจัดทาท่อส่งน้าจากหนองน้ามาพักในท่อบริเวณแปลงผัก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวบ้าน
จุดเด่นของชุมขนบ้านสะพานหินเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการดารงวิถีชีวิตแบบพอเพียง มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีนักจัดการความรู้ชุมชน และวิทยากรชุมชน ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ มีระบบการบริหารจัดการหมู่บ้านที่เข้มแข็ง ด้วยการกระจายอานาจลงสู่ระดับคุ้ม กระบวนการจัดทาแผนชุมชน ความเข้มแข็งของภาคประชาชน มีต้นทุนทางสังคมสูงในด้านความสามัคคี การบริหารจัดการทุนในชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชน ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข” จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๕๐ เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ กรมการพัฒนาชุมชน ปี ๒๕๕๒ หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด ระดับภาค ของกระทรวงสาธารณสุข ประจาปี ๒๕๕๔ จุดด้อยของหมู่บ้าน (ข้อมูล จปฐ. ปี ๕๔) ไม่มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน กลุ่มอาชีพไม่ได้ดำเนินกิจกรรมของกลุ่มต่อเนื่อง และไม่มีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน ถ้าหากได้รับการสนับสนุนและพัฒนาด้านการผลิตสินค้า OTOP จะสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้

2. ขั้นดำเนินการ
2.1 ทำความเข้าใจกับชุมชนบ้านสะพานหิน และศึกษาบริบทชุมชน ตลอดจนวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของชุมชนบ้านสะพานหิน
1-31 มกราคม 2563
(จำนวน 1 วัน)
2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการการน้อมนำศาสตร์พระชาสู่การปฏิบัติจริง และร่วมกิจกรรมกับบุคลากรและคณะทำงานสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 1-31 มกราคม 2563
(จำนวน 3 วัน)
2.3 อบรมเชิงปฏิบัติการการทำผลิตภัณฑ์จากปลา เช่น ปลาส้ม ปลาทอดกระเทียม ฯลฯ 15-31 มกราคม 2563
(จำนวน 2 วัน)
2.4 อบรมเชิงปฏิบัติการการทำผลิตภัณฑ์จากกบ เช่น ป่นกบ กบทอดกระเทียม ฯลฯ 1-15 กุมภาพันธ์ 2563
(จำนวน 2 วัน)
2.5 อบรมเชิงปฏิบัติการการทำผลิตภัณฑ์จากเห็ด เช่น ป่นเห็ด ฯลฯ 15-28 กุมภาพันธ์ 2563
(จำนวน 2 วัน)
2.6 อบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างโรงเรือนเห็ดด้วยดิน 1-15
มีนาคม 2563
(จำนวน 3 วัน)
2.7 อบรมเชิงปฏิบัติการการบรรจุหีบห่อ และแนวทางการตลาดในโลกออนไลน์ 15-31 มีนาคม 2563
(จำนวน 2 วัน)
2.8 อบรมเชิงปฏิบัติการการวางแนวทางการตลาดในโลกออนไลน์ 1-30 เมษายน 2563
(จำนวน 3 วัน)

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกบ ปลา และเห็ด
  • ตลาดออนไลน์

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย s.wongsuwan s.wongsuwan เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 08:13 น.