โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ เขต 10 อุบลราชธานี กองทุนสุขภาพตำบลพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ21 มิถุนายน 2564
21
มิถุนายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทบทวนแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ
  2. นำเสนอผลการดำเนินงานจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกกองทุนสุขภาพตำบล
  3. การจัดทำแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบลภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  4. กระบวนการสรุปบทเรียนการดำเนินงานกระบวนการพัฒนาโครงการกองทุนสุขภาพตำบล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อเสนอแนะต่อการบริหารโครงการศึกษาวิจัย
  5. สรุปผลการสรุปบทเรียนและแนวทางการพัฒนาแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10 อุบลราชธานี
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปข้อมูลการติดตามการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการคุณภาพ ปี 2563 ดังนี้  1) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอดงลวง จ.มุกดาหาร 21 แผนงาน 11 โครงการที่พัฒนา 12 โครงการที่ติดตาม 2) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอหนองสูง จ.มุกดาหาร 19 แผนงาน 17 โครงการที่พัฒนา 22 โครงการที่ติดตาม 3) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอคำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร 71 แผนงาน 24 โครงการที่พัฒนา 23 โครงการที่ติดตาม 4) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ 31 แผนงาน 17 โครงการที่พัฒนา 14 โครงการที่ติดตาม 5) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 37 แผนงาน 19 โครงการที่พัฒนา 19 โครงการที่ติดตาม 6) กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 3 แผนงาน 6 โครงการที่พัฒนา 4 โครงการที่ติดตาม
  2. สรุปการบูรณาการขับเคลื่อนประเด็น พชอ.กันทรลักษ์กับกองทุนสุขภาพตำบล 2 แผนงาน ได้แก่ แผนงานอาหารและโภชนาการ และ แผนงานเผชิญพิบัติภัยและโรคระบาด (ไข้เลือดออก)
  3. สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
    3.1 ข้อดี เป็นโปรแกรมที่ดี มีข้อมูลที่ชัดเจน มีข้อมูลสถานการณ์ปัญหา มีตัวอย่างโครงการ อีกทั้งถ้ากรอกข้อมูลการดำเนินงานโครงการได้ สามารถปริ้นออกมาเป็นรายงานได้ แต่ยังไม่เกิดการใช้งานจริงเท่าที่ควร เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการใช้งาน และขั้นตอนการบริหารจัดการกองทุน/โครงการ 3.2 ข้อด้อย ไม่ได้นำไปใช้จริง ไม่ได้เขียนโครงการผ่านโปรแกรม  เนื่องจากมีเวลาจำกัด และผู้รับโครงการยังเข้าไม่ถึง ใช้งานโปรแกรมยังไม่ได้ เจ้าหน้าที่กองทุนยังใช้งานโปรแกรมได้ไม่ดี  ดังนั้นการเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ขอทุน ในการใช้งานโปรแกรมก็ยังไม่สามารถทำได้ดี  ระบบการเสนอโครงการไม่จำเป็นต้องผ่านโปรแกรม  ดังนั้นจึงไม่ต้องทำผ่านโปรแกรม กระบวนการไม่สอดคล้องกับโปรแกรม  ดังนั้นปัจจุบันโปรแกรมจึงเป็นภาระให้กับเจ้าหน้าที่ การเสนอโครงการต้องมีการอนุมัติ แต่โปรแกรมยังไม่มีกระบวนการอนุมัติ ข้อมูลนำเข้าในแผนงานยาก และมีรายละเอียดเยอะ เจ้าหน้าที่กองทุนไม่มีข้อมูลมากรอก เนื่องจากไม่รู้ข้อมูลจากผู้รับผิดชอบโครงการ ไม่เข้าใจตัวเลขสถานการณ์ในกองทุน เช่น ตัวเลขบวก – ลบ จำนวนประชาชน
    3.3 ข้อเสนอแนะ กระบวนการบริหารจัดการกองทุน กับโปรแกรมต้องสอดคล้องกัน ควรจะมี สปสช. ตำบล หรือ สปสช.อำเภอ เพื่อให้ขับเคลื่อนงานกองทุนอย่างต่อเนื่อง  เนื่องจากคณะทำงานกองทุนตำบลไม่เรียกประชุมตามระยะเวลา ควรทำฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาให้เข้าใจง่ายขึ้น ไม่ซับซ้อน ควรออกแบบโปรแกรมให้ง่าย เช่น ทำแพลตฟอร์มคล้ายหรือใช้งานง่ายเหมือนตู้เติมเงิน เพื่อให้ชุมชน กลุ่มชุมชนใช้งานโปรแกรมนี้ได้ คนที่ที่ของบประมาณกองทุน ควรได้รับการอบรมการใช้งาน ไม่เฉพาะเจ้าหน้าที่กองทุนเท่านั้น /ปัจจุบันเจ้าหน้าที่กองทุนเองยังไม่สามารถใช้โปรแกรมนี้ได้อย่างคล่องแคล่ว  ดังนั้นหากต้องใช้โปรแกรมในการดำเนินงาน จำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่กองทุนเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ขอทุน ในการใช้งานโปรแกรม หากจะมีการบังคับใช้โปรแกรมทุกพื้นที่ต้องมีระยะเวลากำหนดให้ชัดเจน ว่าแต่ละช่วงต้องทำอย่างไรบ้าง