โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแผนและข้อเสนอโครงการกองทุนฯ พื้นที่ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี15 มีนาคม 2564
15
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงวัตถุ เป้าหมาย และความเป็นมาของการประชุมติดตามและพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง
  2. รายงานการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบ ปี 2563
  3. การสนับสนุนและดำเนินการโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง
  4. ทิศทางการพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยงปี 2564
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปผลการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล ปี 2563
        1.เวทีประชาคมผู้นำชุมชน+อสม. ช่วงเดือนตุลาคม (ดำเนินการพร้อมเวทีประชาคมทำแผนของเทศบาล)     2.บุคลากรร่วมกันพิจารณาเลือกประเด็นปัญหา/ความต้องการจากชุมชนที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของหน่วยงานต้นสังกัด นโยบายผู้บริหารเทศบาล (มีคำสั่งเทศบาลเมืองเพื่อมอบหมายภาระงานให้บุคลากรแต่ละบุคคล/คำสั่งรายปี)เพื่อนำมาเขียนข้อเสนอโครงการ ทั้งนี้บุคลากรแต่ละคนสามารถประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากภายนอกได้ตามศักยภาพโดยไม่จำกัดแหล่งงบประมาณว่าต้องเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองเท่านั้น
        3. บุคลากรที่รับผิดชอบในแต่ละประเด็น เขียนและส่งข้อเสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุน โดยส่งตามความเร่งด่วนและความพร้อมของกลุ่มเป้าหมาย(ไม่ได้ส่งโครงการพร้อมกันในครั้งเดียว) รอบที่ 1 ส่งข้อเสนอโครงการประมาณก่อนเดือนตุลาคมทั้งนี้คณะกรรมการกองทุน จะมีการประชุมอนุมัติโครงการเป็นรายไตรมาสโดยผู้รับผิดชอบโครงการ(บุคลากรของศูนย์สุขภาพชุมชน)จะทำหน้าที่นำเสนอโครงการต่อคณะกรมการกองทุน ซึ่งโครงการเชิงการพัฒนา/เรื่องประเด็นปัญหาสังคม จำเป็นต้องเตรียมข้อมูลและนำเสนอให้เห็นความจำเป็น/ประโยชน์ของโครงการให้ชัดเจน เช่น ปี 2559 โครงการท้องไม่พร้อมโครงการที่ดูแลผู้ป่วยเรื้องรัง ควบคุมโรค (โรคระบาด/โรคติดต่อ)ชมรมผู้สูงอายุ ประกวดชุมชน มีการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนทุกปี เช่น โครงการดูแลสุขภาพช่องปาก (รณรงค์ฟันสะอาด) ในทุกกลุ่มอายุ/แยกรายโครงการ *ดำเนินงานในภาพรวมของเทศบาล โดยแบ่งบทบาทของแต่ละศูนย์ในการรับผิดชอบ เช่น ศูนย์สุขภาพที่ 2 ดูแลกลุ่มเด็กเล็ก เป็นต้น (ความคาดหวัง คือ อยากให้กิจกรรมมีความต่อเนื่อง)     4. การอนุมัติให้ดำเนินการ คณะกรรมการกองทุนสามารถอนุมัติให้ดำเนินการได้ทันที
        5. กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองวาริน ไม่มีการกำหนดวงเงิน หรือแบ่งโควต้างบประมาณ *แต่จะพิจารณาข้อเสนอโครงการตามความจำเป็น+ความรุนแรงของปัญหา     6. หลังสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการต้องส่งเอกสารรายงานผลการดำเนินงาน+รายงานการเงิน (ภายใน 15 วัน) *แนวทาง คือ ผู้รับผิดชอบโครงการต้องทำกิจกรรมให้แล้วเสร็จก่อนและนำส่งรายงาน จึงจะสามารถเบิกงบประมาณจากกองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองได้     7. กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองวาริน มีเวทีสรุปบทเรียนงานกองทุนสุขภาพประจำปี (คณะกรรมการกองทุน+บุคลากรกองสาธารณสุข)
  2. โครงการคุณภาพจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการลูกรักฟันดีที่ตัวเรา ปี 2563 แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว (2) โครงการฟันสะอาดเงือกแข็งแรง ปี 2563 แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว (3) โครงการป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด (4) โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
  3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ช่วยเลขาฯ กองทุน และผู้รับขอการสนับสนุนงบประมาณกองทุน (รพ.สต.) มีความเข้าใจและสามารถที่จะได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการ รายงานผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลโครงการ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และได้จัดทำแผนงานในปี 2564 และพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง