โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

เวทีติดตามและประเมินผลกองทุนสุขภาพตำบลในระบบ ครั้งที่ 3 กองทุน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร2 มีนาคม 2564
2
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงวัตถุ เป้าหมาย และความเป็นมาของการประชุมติดตามและพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง
  2. รายงานการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบ ปี 2563
  3. การสนับสนุนและดำเนินการโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง
  4. ทิศทางการพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยงปี 2564
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบ ปี 2563
      - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กู่จาน : ปี 2563 งบกองทุน 200,500 บาท (อบต.สมทบ 100,000 บาท) (ยอดยกมาจากปี 2562 ประมาณ 100,000 บาท)
    ปี 2563 สนับสนุนงบ รวม 17 โครงการ(ไม่มีเงินค้างท่อ) ขั้นตอน 1.ประชุมเสนอแผนในไตรมาส 1 (กันยายน 2562) 2.หน่วยรับทุนเสนอโครงการ(ต้นเดือนตุลาคม 2562) 3.คณะกรรมการประชุมพิจารณาอนุมัติ/กำหนดช่วงเวลาดำเนินโครงการ (ปลายเดือนตุลาคม 2562) 4.คณะกรรมการมีการพิจารณาปรับลดงบประมาณ เพื่อกันไว้สำหรับนำไปใช้ในการป้องกันโควิด ศพด.หนองกบ (เด็กลอยน้ำเป็นเล่นน้ำได้) เป็นพื้นที่รับน้ำ (มีปัญหาน้ำท่วม)
    ติดลำน้ำเซ มีหนองน้ำสาธารณะ มีอ่างเก็บน้ำ และสระน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม เด็กลอยน้ำเป็นเล่นน้ำได้งบ 20,000 บาท รพ.สต. 10 โครงการ(คัดกรองผู้สูงอายุ, LTC,แพทย์แผนไทย,โรคเรื้อรัง) ชุมชนน่าบ้าน น่ามอง งบ 70,000 บาท ทำความสะอาดลอกท่อระบายน้ำ/ดำเนินการเดือนละ 2 ครั้ง ประกวดระดับคุ้ม (หมู่บ้าน) ประกวดระดับตำบลมีคณะกรรมการตัดสิน (ชนะเลิศในระดับตำบล 3 ปีซ้อน) ตัดแว่นผู้สูงอายุ งบ 100,000 บาท   - กองทุนสุขภาพตำบล ทต.ดงแคนใหญ่ : ปี 2563 งบกองทุน 1) สปสช.สมทบ 277,695บาท 2)อบต.สมทบ 150,000บาท (ยอดยกมาจากปี 2562 ประมาณ 88,000 บาท) ปี 2563 สนับสนุนงบ รวม 31 โครงการ (ยอดคงเหลือยกไปปี 2564 ประมาณ 20,000 บาท) สนับสนุนงบ/โครงการ: ปี 2563 แบ่งงบประมาณตามสัดส่วนกลุ่มเป้าหมาย (%)/กำหนดเพดานงบไว้อย่างชัดเจน กลุ่ม 1 หน่วยงานอื่นๆ เช่น รพ.สต. 30% กลุ่ม 2 ชุมชน 25 % กลุ่ม 3 ผู้สูงอายุ/ผู้พิการ/เด็กเล็ก 30% กลุ่ม 4 บริหารกองทุน 15% กลุ่ม 5 ป้องกันภัยพิบัติ +ไข้เลือดออก ขั้นตอน 1.คณะกรรมการกองทุน เชิญประชุม (หน่วยงานต่างๆ)วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของตำบล จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพและมีการจัดลำดับความเร่งด่วนในการช่วยเหลือแบ่งตามกลุ่มอายุ (ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยเรื้อรัง-ผู้พิการทางร่างกาย/การเคลื่อนไหว-ผู้พิการทางการมองเห็น-ผู้พิการทางจิต/พฤติกรรม) 2. คณะกรรมการแบ่งการพิจารณาอนุมัติงบกองทุนแบ่งเป็น 2 รอบ(ตามความพร้อม) โครงการเด่นของกองทุน โครงการขยะทองคำ (คัดแยกขยะต้นทาง) ให้ความรู้+มีการสาธิตอัดถุงพลาสติกขาย จัดตั้งกองทุน*วัตถุประสงค์เพื่อรับซื้อถุงพลาสติกเท่านั้น (เพื่อจัดการขยะที่คัดแยกแล้วนำไปขายไม่ได้) งบของกองทุนขยะ แบ่งใช้ในการบริหารจัดการ (ค่าน้ำมันรถขนขยะพลาสติกไปขาย) *ปัญหา คือ ราคาพลาสติก เคยสูงถึง 18 บาทต่อกิโลกรัม –ปัจจุบันราคาตกเหลือเพียง 4 บาทเท่านั้น โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุปี 2563/จะต่อยอดในปี 2564 กิจกรรม 1 ครั้งต่อเดือน *รวม 12 ครั้งต่อปี (ออกกำลังกาย/อาหาร/อารมณ์) *สถานที่โรงเรียนชุมชนหนองแคนใหญ่ (เริ่มดำเนินการในปี 2560 เป็นต้นมา) มีครูพี่เลี้ยง 20 คน (อสม.+CG) งบจากกองทุนสุขภาพตำบล 50,000 บาทต่อปี กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ประชาสัมพันธ์ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 มาพัฒนาหลักสูตร (สุขภาพ 5 มิติ) ผลลัพธ์ 1) ผู้สูงอายุเกิดความเข้าใจ “ไม่หลง ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” 2) ลดจำนวนผู้สูงอายุที่พึ่งตนเองไม่ได้ปวดเมื่อยตามร่างกาย/ข้อเสื่อม 3) ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
  2. มีการจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการ รายงานผลการดำเนินงาน เป็นโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการเด็กเล็กลอยน้ำเป็นเล่นน้ำได้ ของกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กู่จาน
    (2) โครงการคัดแยกขยะต้นทาง ของกองทุนสุขภาพตำบล ทต.ดงแแคนใหญ่ (3) โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ของกองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาแก
  3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ช่วยเลขาฯ กองทุน และผู้รับขอการสนับสนุนงบประมาณกองทุน (รพ.สต.) มีความเข้าใจและสามารถที่จะได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการ รายงานผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลโครงการ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และได้จัดทำแผนงานในปี 2564 และพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง