โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

เวทีติดตามและประเมินผลกองทุนสุขภาพตำบลในระบบ ครั้งที่ 1 กองทุน อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร24 กุมภาพันธ์ 2564
24
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงวัตถุ เป้าหมาย และความเป็นมาของการประชุมติดตามและพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง
  2. รายงานการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบ ปี 2563
  3. การสนับสนุนและดำเนินการโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง
  4. ทิศทางการพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยงปี 2564
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปผลการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลตำบลต้นแบบ ปี 2563
      - กองทุนสุขภาพตำบล ทต.หนองสูงเหนือ : ในปี 2563 เทศบาลตำบลหนองสูงเหนือมีงบประมาณรวมงบสมทบ 357,000 บาท สถานการณ์ปัญหาในตำบล เด็กทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม วัยรุ่นติดยาเสพติด มีชมรมผู้สูงอายุ2 ตำบล แต่ยังไม่มีโรงเรียนผู้สูงอายุ ปัจจุบันกำลังผลักดันให้เกิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม คือ ปัญหาขยะ การเสนอโครงการ มีขั้นตอน คือ การจัดทำประชาคมหาสถานการณ์ปัญหา และความต้องการ เขียนโครงการเสนอตามสถานการณ์ปัญหา และความต้องการกลั่นกรองโครงการที่เสนอขอ 2 ขั้นตอน คือ กลั่นกรองคณะกรรมชุดแรก และกลั่นกรองคณะกรรมการชุดใหญ่ ประเด็นโครงการที่อนุมัติงบประมาณ มีรายละเอียดดังนี้ควบคุมโรคไข้เลือดออก จัดอบรม ออกกำลังกาย แต่ส่วนใหญ่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสุขภาพคนพิการ ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก (พ่อแม่ไม่ได้อยู่กับลูก ) เด็กหลังคลอด เด็กอายุ 0-5 ปี จัดทีม MCFC เพื่อช่วยปู่ย่าตายายเลี้ยงเด็ก
    • กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองสูงใต้ : ปี 2563 อบต. หนองสูงใต้ ได้รับงบประมาณ 149,580 บาท อบต. สมบท 60,000 บาท ขั้นตอนการดำเนินการ 1. เปิดรับข้อเสนอโครงการ ม.ค. โดยการทำหนังสือให้หน่วยงาน เสนอโครงการเพื่อมาขอรับทุน 2. คณะกรรมการพิจารณาโครงการและงบประมาณ 3. ให้การสนับสนุนงบประมาณตามระยะเวลาที่เสนอในโครงการ สถานการณ์ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของกองทุน ผู้ขอรับทุนไม่เข้าระเบียบการใช้เงินของกองทุน เช่น ระเบียบเรื่องการจัดซื้อวัสดุ งบประมาณที่ได้มาไม่สามารถซื้อวัสดุ หรือสิ่งของไปซื้อเป็นรางวัลให้กับนักเรียน งบประมาณต้องไปจัดอบรมให้ความรู้ (กระบวนการคือ จัดอบรม และมีกิจกรรมให้เด็กทำ และซื้อสิ่งของให้เป็นรางวัลเด็ก) ทั้งนี้คณะทำงานโครงการมองว่า การซื้อวัสดุ หรือสิ่งของรางวัลดังกล่าว ไม่ใช่สิ่งที่ผิด เป็นการดำเนินการที่หลากหลาย ซึ่งงบประมาณควรใช้ได้ การกำหนดงบประมาณให้แต่ละหน่วยงานมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจาก ผู้เขียนโครงการรู้ชัดเจน ทำให้สามารถออกแบบโครงการได้ตรงกับงบประมาณที่กำหนดให้
    • กองทุนสุขภาพตำบล ทต.ภูวง : ได้รับงบประมาณ 100,000 บาท สมทบ 100,000 บาท การเปิดรับโครงการ คือ เทศบาลทำหนังสือแจ้งให้กับแต่ละส่วนรับทราบ พร้อมแนบแบบฟอร์มการเขียนโครงการ การเขียนโครงการของแต่ละหน่วยมีทั้งเขียนเอง ขอคำแนะนำจากเทศบาล และบางหน่วยมีพี่เลี้ยง (รพ.สต.) แนะนำในการเขียน ที่ผ่านมามีการเสนอขอ และอนุมัติครบ 100 เปอร์เซ็นต์
  2. มีโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยงของกองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ (1)โครงการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคตำบลหนองสูง แผนงานโรคเรื้อรัง ของกองทุนสุขภาพตำบล ทต.หนองสูงเหนือ (2) โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ชุมชนบ้านแวง แผนงานยาเสพติด ของกองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองสูงใต้ (3) โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา แผนงานยาเสพติด ของกองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองสูงใต้ (4) โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคและโรคไม่ติดต่อ รพ.สต.บ้านบุ่ง แผนงานโรคเรื้อรัง ของกองทุนสุขภาพตำบล ทต.ภูวง
  3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ช่วยเลขาฯ กองทุน และผู้รับขอการสนับสนุนงบประมาณกองทุน (รพ.สต.) ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการ รายงานผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลโครงการ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และได้จัดทำแผนงานในปี 2564 และพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง