โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

ประชุมติดตามและพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง กองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบ อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร23 กุมภาพันธ์ 2564
23
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงวัตถุ เป้าหมาย และความเป็นมาของการประชุมติดตามและพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง
  2. รายงานการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบ กองทุน อ.ดงหลวง ปี 2563
  3. การสนับสนุนและดำเนินการโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง
  4. ทิศทางการพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยงปี 2564
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบ
      - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองบัว : ปี 2563 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองบัว มีโครงการหลักๆ คือ โครงการป้องกันไข้เลือดออก และป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 โครงการเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สุขภาพแม่และเด็ก และผู้สูงอายุ โครงการที่ทำคือ เรื่องเด็ก การดูแลสุขภาพปาก และฟัน ผู้สูงอายุ ดูแลผ่าน อสม. การดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมระหว่างครูและผู้ปกครอง (ผู้ปกครอง 50% ครู 50%) การบริหารจัดการครอบครัว ดำเนินการโดย อสม. รับผิดชอบดูแลหลังคาเรือน ตามหน่วยที่รับผิดชอบ ทำความสะอาด เก็บสิ่งปฏิกูล (ปัจจุบันไม่มีรถขนขยะ) ปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุน คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องยังไม่กล้าดำเนินงานกองทุน เนื่องจากกลัวการตรวจสอบจาก สตง. และต้องการให้เลขานุการกองทุนฯ ทำหน้าที่ดำเนินการเป็นหลัก
      - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พังแดง : ได้รับงบประมาณดำเนินงานปีละ 3 แสน โครงการที่อนุมัติเมื่อปีที่ 2563 ได้แก่ โครงการสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปริมาณหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นมากกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ งบประมาณที่ตั้งไว้มีอย่างจำกัด โครงการโรงเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สู่สุขภาพฟันที่ดี บรรลุวัตถุประสงค์ เงื่อนไข เป็นโครงการต่อเนื่อง งบประมาณจำกัด ต้องเดินทางไกลไปในแต่ละโรงเรียน โรงเรียนบางแห่งขาดแก้วน้ำในการแปลงฟัน ควรมีการขยายเวลาในการทำงาน และเพิ่มงบประมาณ โครงการห่วงใยผู้ป่วยสุขภาพเรื้อรัง ดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ปัจจัยเงื่อนไข ควรจัดทำโครงการให้มีความรู้ สร้างความตระหนักการเปลี่ยนพฤติกรรม โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย ปัญหาในการดำเนินงาน คือ การระบาดของไวรัฐโคโรนา ส่งผลให้การดำเนินการล่าช้า และไม่มีการอบสมุนไพร โครงการ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัฐโคโรน่า 2019 ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ โครงการ ป้องกันควบคุมไข้เลือดออก ปัญหา คือ ความร่วมมือของชุมชนมีน้อย ความตระหนักต่อพิษภัยมีน้อย โครงการ ป้องกันควบคุมไข้เลือดออก โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ปัญหา ประชาชนในพื้นที่บางกลุ่มขาดความร่วมมือ ไม่สนใจ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
  2. โครงการคุณภาพและมีแผนปัจจัยเสี่ยงของกองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19 ของกองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองบัว (2) โครงการห่วงใยสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังตำบลพังแดง รพ.สต.พังแดง ปีงบประมาณ 2563 แผนงานโรคเรื้อรัง ของกองทุนสุขภาพตำบล อบต.พังแดง และ (3) โครงการป้องกันและคบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลดงหลวง 2563 แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด ของกองทุนสุขภาพตำบล ทต.ดงหลวง
  3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ช่วยเลขาฯ กองทุน และผู้รับขอการสนับสนุนงบประมาณกองทุน (รพ.สต.) ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการ รายงานผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลโครงการ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และได้จัดทำแผนงานในปี 2564 และพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง