โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 4

ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในการจัดทำแผนงาน/โครงการของกองทุนฯ20 กุมภาพันธ์ 2563
20
กุมภาพันธ์ 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-บทบาทของ พชอ.กับการหนุนเสริมและบูรณาการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ -บรรยาย “สถานการณ์ปัญหาปัจจัยเสี่ยงสุขภาพและโรคเรื้อรังในชุมชน” -บรรยาย “การใช้โปรแกรมออนไลน์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเขียนโครงการที่ดี”

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประกอบไปด้วย 19 กองทุนฯ ดังนี้ 1. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.กุ่มหัก 2. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.คชสิทธิ์ 3. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โคกตูม-โพนทอง 4. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โคกแย้ 5. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บัวลอย 6. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองแขม 7. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองไข่น้ำ 8. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองจรเข้ 9. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองจิก 10. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองนาก 11. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองปลาหมอ 12. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองปลิง 13. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองโรง 14. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ห้วยขมิ้น 15. กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ห้วยทราย 16. กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลหนองแค 17. กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลหินกอง 18. กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลคชสิทธิ์ 19. กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลไผ่ต่ำ ปัญหาสุขภาพ
1. ปัญหาสภาพอากาศมลภาวะ อากาศน้ำ และเขตอุตสาหกรรม
2. สภาพทางเศรษฐกิจ
3. โรคอุบัติใหม่
4. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ
5. พฤติกรรมการบริโภค หวาน เค็ม ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และไม่สวมหมวกกันน็อค ฯลฯ สิ่งดีๆ
1. ประชาชนมีสุขภาพดีและมีความสุข
2. มีงบประมาณที่เพียงพอ
3. สามารถแก้ไขปัญหาในชุมชนและดูแลคนในชุมชน
4. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เช่น โรงเรียน รพ.สต. เป็นต้น
ความคาดหวัง
1. ชุมชนมีความเข้มแข็ง
2. มีนวัตกรรมใหม่ๆในกองทุนฯ
3. มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ และทุกภาคส่วนมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
4. มีการผลักดันบุคลากรให้มีความรู้การจัดการกองทุนฯ
5. มีการประชาสัมพันธ์กองทุนในเชิงรุก 6. มีความร่วมมือที่เป็นรูปประธรรมของหน่วยงานที่เขียนโครงการมาของประมาณ
7. หน่วยงานตรวจชี้แนะ หาวิธีแก้ไขในข้อผิดพลาดในสำนักงาน
ปัญหา
1. ไม่กล้าทำ เนื่องจากสำนักงานถูกตรวจสอบและมีระเบียบที่ไม่ชัดเจน
2. คณะกรรมการไม่รู้หน้าที่และไม่ตระหนัก
3. มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่บ่อย ทำให้ อบต.กับ รพ.สต. งานไม่เดิน
4. อบต กับ รพ.สต. ขัดแย้งกันในหน่วยงาน ไม่ร่วมมือกัน และไม่ชัดเจน
5. เงินค้างจ่าย
6. ไม่สนใจในการเขียนโครงการแต่อยากได้เงิน
7. กองทุนเปลี่ยนระเบียบบ่อย
วิธีการบริหารกลุ่มงาน
1. ประชุมคณะกรรมการอย่างต่อเนื่อง
2. คณะกรรมการขาดความเข้าใจและความรู้
3. ดึงทุกภาคส่วนมาร่วมมือ เรียนรู้ ปฏิบัติตามระเบียบ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. มีงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
5. อบรม
6. มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและสม่ําเสมอ
7. ลดขั้นตอนการใช้งบประมาณ
8. มีทีมติดตาม
แนวทางแก้ไข
1. ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
2. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเชิงรุกอย่างต่อเนื่องให้มากขึ้น
3. ขอความร่วมมือปฏิบัติ
4. ให้ความรู้สร้างความเข้าใจกับประชาชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลงมือปฏิบัติ
5. มีอุปกรณ์ให้ประชาชนออกกำลังกาย