การบูรณาการความมั่นคงทางอาหารตลอดห่วงโซ่สงขลา-พัทลุง
ประชุมภาคีเครือข่ายบูรณาการขับเคลื่อนงานระบบอาหารในจังหวัดพัทลุง (เตรียมเวที โชว์ แชร์ เชื่อม แผนงานอาหาร)15 กรกฎาคม 2567
15
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
เพื่อบูรณาการเครือข่ายอาหารในจังหวัดพัทลุง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
- 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
- 09.00 – 09.15 น. ชี้แจงเป้าหมายและวัตถุประสงค์การจัดประชุม กรอบการวิเคราะห์ระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- 09.15 – 09.30 น. การขับเคลื่อนงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ โดย ผู้แทนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- 09.30 – 10.30 น. สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและทิศทางการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบาย
ระบบอาหารภาคใต้ และแนวทางการขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารของจังหวัดพัทลุง
โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 – 12.00 น. Mapping ต้นทุน ศักยภาพการเคลื่อนงานระบบอาหาร ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกัน และ ออกแบบกลไก การขับเคลื่อนงานระบบอาหารจังหวัดพัทลุง โดย นายไพฑูรย์ ทองสม นักวิชาการอิสระ 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 – 15.00 น. กำหนดประเด็นการขับเคลื่อน เป้าหมาย ตัวชี้วัด แนวทางและกลไกการดำเนินงาน
15.00 – 15.30 น. สรุปประเด็น และการเตรียมเวทีโชว์ แชร์ เชื่อม
โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และผู้แทนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
- แนวทางการขับเคลื่อนเส้นทางอาหารปลอดภัยจังหวัดพัทลุง พื้นที่ต้นแบบ การจัดการอาหาร ทะเลสาบ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ “บ้านช่องฟืน” ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน และพื้นที่ต้นแหร
- กลไก / ระบบสนับสนุน (การสร้างคน การวิเคราะห์ความท้าทายทั้งเก่าและใหม่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างคน / นวัตกรรม ระบบอาหารสร้างสรรค์ ชุมชน การออกแบบ การสื่อสาร)
- วิธีการการขับเคลื่อน 1) Mapping ข้อมูล (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายนน้ำ), คน สร้าง Model 2) เส้นทางอาหารเก็บที่ไหน (ฐานข้อมูล) เน้นในเกษตรกรคัดเชิงระบบ ระยะทาง มีปัจจัยอื่น ๆ เก็บข้อมูล 3) ตลาดเชิงระบบ สื่อสาร การจัดการ (ถ้าผู้บริโภค++) , เชื่อมโยง ผู้ค้ารายย่อย สร้างกลไก 4) สร้าง Dream team เป็นการจัดการเชิงระบบ 5) บูรณาการอาหารปลอดภัยจังหวัดพัทลุง เกษตรอินทรีย์ 8 อำเภอ 31 ราย 6) ยกระดับตัวเครือข่าย, Blue baseline
- กำหนดตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
ประกอบด้วย
- เครือข่ายอาหารจังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย นักวิชาการ ภารรัฐ อบจ.พัทลุง ท้องถิ่น พอช. และเครือข่ายภาคประชาชนขับเคลื่อนงานอาหารที่ได้รับงบจาก สสส.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
project version 4.4.01 release 2022-02-13. ช่วยเหลือ