การบูรณาการความมั่นคงทางอาหารตลอดห่วงโซ่สงขลา-พัทลุง

ประชุมภาคีเครือข่ายบูรณาการขับเคลื่อนงานระบอาหารในจังหวัดสงขลา12 กรกฎาคม 2567
12
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Sutthisapan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมภาคีเครือข่ายจังหวัดสงขลา จัดทำข้อมูลสถานการณ์อาหารในจังหวัดสงขลา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
  • Mapping ต้นทุน ศักยภาพการเคลื่อนงานระบบอาหาร ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกัน
  • ชี้แจงการจัดเวทีโชว์ แชร์ เชื่อม และกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงานของจังหวัดสงขลา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สถานการณ์และต้นทุนการขับเคลื่อนงานความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดสงขลา มีเครือข่ายขับเคลื่อนอยู่จำนวน 9 องค์กร ได้แก่

- อบจ.สงขลา ทำวิจัยเพิ่มความสามารถของชุมชนในการพึ่งตนเอง เพื่อพัฒนาขับเคลื่อนชุมชนให้มีความมั่นคงทางอาหาร ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร - เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ ได้ทำประเด็นชุมชนสีเขียวเป็นนวัตกรรมในการดูแลสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชีวิต - เทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา ดำเนินนโยบายความมั่นคงทางอาหาร ตามวิสัยทัศน์ของเทศบาล
- สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา เสนอประเด็น “ข้าวอินทรีย์” และทำเรื่องการตลาด เอาเรื่องข้าวเป็นจุดเด่น โดยการพลิกฟื้นนาร้าง ในพื้นที่ที่หายไป - สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา รับผิดชอบนโยบายและแผนงาน เสนอช่องทางงบประมาณพัฒนาจังหวัด - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา รับผิดชอบเรื่องอาหารปลอดภัยและโภชนาการเป็นหลักขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด ดูแลเรื่องการรับรองมาตรฐานปลอดภัย ดูแลสถานที่ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยใน 6 ร. (โรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอาหาร เรือนจำ รีสอร์ต โรงงาน) - โครงการความรอบรู้ด้านอาหาร โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ ทำโครงการส่งเสริมเรื่องการบริโภคทำให้คนเข้าถึงอาหารปลอดภัย และเรื่องการกินอาหารเป็นยาเพื่อลดโรค NCD ในโรงเรียนบ้านน้ำเค็ม ส่งเสริมให้ครูผู้ปกครองจัดการอาหารให้มีโภชนาการดีต่อเด็ก
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา ทำเรื่อง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยอัตลักษณ์ของอาหารเน้นในเรื่องของอาหารและภูมิปัญญา - ครัวใบโหนด การดำเนินงานในระดับพื้นที่ เริ่มจากทำเรื่องออมทรัพย์ ตอนหลังมาทำครัวใบโหนดเรื่องอาหารปลอดภัย และทำนโยบายอาหารปลอดภัยในโรงเรียน
2. กลไกการทำงานร่วม คือ ทำงานร่วมกันใน 4 ภาคส่วน คือ ภาครัฐท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ขับเคลื่อนงานตามภารกิจ และสนับสนุนกระบวนการพื้นที่กลาง ข้อมูลวิชาการ การจัดการความรู้ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 29 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เจ้าหน้าที่สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.ม.อ.)
  • แกนนำเครือข่ายที่ทำงานอาหารในจังหวัดสงขลา
  • เจ้าหน้า สสส.สำนักภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ และสำนัก 5
  • เครือข่าย สสส.สำนัก 5
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่