ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

ประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม3 มีนาคม 2567
3
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Ariya Mosu
circle
วัตถุประสงค์

1.พัฒนาศักยภาพคนให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ ในการใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วม 2. สร้างเครือข่ายการพัฒนา นโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วมทั้งในระดับหน่วยงาน และผู้บริหาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 4 มีนาคม 2567 การอบรม 4 หัวข้อจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญดังนี้ - นโยบายสาธารณะ และนวัตกรรมนโยบาย : นายสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ สนง.สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในประเทศไทย : ผศ.ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมกรณีศึกษา SEA จังหวัดสงขลาและปัตตานี : ดร. สินาด ตรีวรรณไชย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในต่างประเทศ : นพ. ภูษิต ประคองสาย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย

วันที่ 5 มีนาคม 2567 การอบรมเชิงปฏิบัติการโดยมีวิทยากรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่มาเสนอดังนี้
- นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก : นำเสนอเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องการเข้าร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจทางนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญในการสร้างนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น - ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ : นำเสนอเกี่ยวกับกระบวนการกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจในนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนานโยบายที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน - นายกรณ์เชษฐ์ สิทธิพันธ์ : เล่าถึงประสบการณ์ในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติที่ระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นการนำเสนอที่มีความเป็นประสบการณ์และน่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในระดับชุมชน - นายกิตติภพ สุทธิสว่าง : นำเสนอเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของนโยบายที่ได้นำมาปฏิบัติให้เห็นว่ามีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างไร

วันที่ 6 มีนาคม 2567 การอบรมจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ - กระบวนการออกแบบนวัตกรรมนโยบาย : Thailand Policy Lab (TPLab) - ความรู้และความสำคัญของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และตัวอย่างการขับเคลื่อน : นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ - ฝึกวิเคราะห์ Social Determinants of Health (SDH) โดยใช้ Card game on 'What makes him fat?" : นายบัณฑิต มั่นคง และนายจักรรินทร์ สีมา - การฝึกทักษะและจัดกระบวนการกลุ่มย่อยหัวข้อ Stakeholder analysis, Shared Vision setting : นายบัณฑิต มั่นคง และนายจักรรินทร์ สีมา - สรุปภาพรวมหัวใจสำคัญของการทำนโยบายสาธารณะ : นายจารึก ไชยรักษ์

วันที่ 7 มีนาคม 25667
- ลงพื้นที่ศึกษาดูงานธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ และ SEA อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
วันที่ 8 มีนาคม 2567
-นำเสนอผลการศึกษาดูงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กระบวนการของวันที่ 1 การได้ความรู้จากการอบรม 4 หัวข้อจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
  2. กระบวนการของวันที่ 2 ทำให้เกิดการอภิปรายและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีความสำคัญในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในประเทศไทย โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับการเข้าร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจทางนโยบายสาธารณะที่มีผลต่อสุขภาพของชุมชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยที่เข้าร่วมในการประชุมนี้มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น การก่อตัวของนโยบายสาธารณะ การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบายสาธารณะ การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ การติดตามและประเมินผลนโยบายสาธารณะ รวมถึงความต่อเนื่อง การทดแทนและการสิ้นสุดนโยบายสาธารณะ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษาจริง ซึ่งมาจากสถานที่ที่แตกต่างกัน เช่น ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ และ SEA อำเภอจะนะ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความรู้ในการจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นในประเทศไทย
  3. กระบวนการของวันที่ 3 ทำให้การจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม เน้นการสร้างการเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของประชากร โดยมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมในกระบวนการนโยบายที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาและดำเนินนโยบายอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด เป้าหมายคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความเข้าใจและการยอมรับต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญของสังคม และการพัฒนานโยบายที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมและมีผลสัมฤทธิ์ในการส่งเสริมสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้และเครื่องมือในการออกแบบนโยบาย การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการนโยบาย และการกำหนดวิสัยที่ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถมีส่วนร่วมและมีผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรในทุกๆ ระดับ
  4. กระบวนการของวันที่ 4 ลงเรียนรู้กระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่บ้านสวนกง จะนะ พื้นที่ที่เป็นแหล่งอาหารทะเลอันอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ที่ชาวบ้านออกมาต่อสู้ปกป้องทรัพยากรให้คงอยู่อย่างยั่งยืนชั่วรุ่นหลาน การต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในบ้านสวนกง ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน ท่าเทียบเรือ langbrige ฯลฯ แต่ด้วยความเข้มแข็งของชุมชนที่ยืนหยัดอย่างมั่นคงว่าเลจะนะ ต้องเป็นแหล่งอาหารเลี้ยงคนในจะนะได้ตลอดไป
  5. กระบวนการลงพื้นที่ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจแก่นแท้ของการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะได้มากยิ่งขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

1.ผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และภาคเอกชน 2. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และภาคเอกชน 3.ภาคประชาสังคม 4.สื่อ 5.นักวิชาการ นักศึกษา อาจารย์

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่